Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2022 เวลา 07:33 • ไลฟ์สไตล์
ส่องโลกของกัญชา (Cannabis) - ฉบับมือใหม่
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงเริ่มคุ้นเคยหรือรู้จักพืชสมุนไพรอย่าง “กัญชา” กันมากขึ้นบ้างแล้ว
(หลายคนคงได้ลองลิ้มรสชาติที่ผสมไปกับอาหาร ทั้งรู้ตัวบ้างและไม่ทันรู้ตัวบ้างเนอะ)
ชื่อเรียกกัญชา ในภาษาอังกฤษ 🇺🇸🇬🇧 เราก็คงจะคุ้นเคยกับคำว่า “Weed” ซึ่งเป็นคำสแลงหรือชื่อเล่น โดย คำว่า Weed ก็แปลตรงตัวเป็นคำที่ใช้เรียกวัชพืชที่อยู่ในป่าและอยู่ทนทายาทได้ทุกสภาพอากาศ 🍃🌧☀️
(ว่ากันว่า เมื่อก่อนที่เขาเรียกชื่อเล่นกัญชาว่า Weed เขาเคยนิยมเรียกกัญชาว่า “Pot” เป็นคำล้อมาจาก “Potiguaya“ ในภาษาสเปน 🇪🇸 )
แต่อย่างที่เพื่อน ๆ น่าจะทราบกันอยู่แล้วว่า ชื่อเรียกภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการของ “กัญชา” ก็คือ "Cannabis" ซึ่งมาจากชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชสกุลกัญชาว่า Cannabis Sativa (ต้นสายพันธุ์ของกัญชา-กัญชง)
ส่วนคำว่า "กัญชา" ในภาษาไทย 🇹🇭 ก็เป็นคำเรียกที่มาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งชาวอินเดียก็เรียกพืชสมุนไพรตัวนี้ว่า “Ganja” (เข้าใจว่าเป็นชื่อเรียกในภาษาฮินดี 🇮🇳)
ยังมีอีกมากมายหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะเป็นชื่อเรียกรหัสลับต่าง ๆ (เพราะหลายประเทศยังคงผิดกฎหมายหรือบางส่วนยังเป็นยาเสพติด) เช่น Mary Jane, Dope, Chronic, Grass, Hash ซึ่งบางอันก็ รหัสลับที่เหมือนไม่ลับเท่าไร ฮ่า ๆ 😅
ก่อนที่จะไปไกลในหน้าแรก
งั้นวันนี้ พวกเราขอพาเพื่อน ๆ ไปส่องโลกของกัญชา (Cannabis) ในแบบฉบับมือใหม่สไตล์ InfoStory กันอย่างเช่นเคย 😊☺️👋🏻
เรื่องราวจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ?
ไปรับชมกันเลยดีกว่า !
ปล. เรื่องราวในโพสนี้จะยาวนิดนึงนะครับ แต่หวังว่าเพื่อน ๆ ผู้อ่านใน Blockdit ทุกท่านจะได้รับสาระสบายสมองกันไปเช่นเคยคร้าบบ
ภาพที่ 1
ภาพที่ 2 The Anatomy of Cannabis กายวิภาคกัญชา
ในภาพที่ 2 อินโฟกราฟิกนี้ เพื่อน ๆ ก็จะได้เห็นกายวิภาคของกัญชากันพอสังเขป
แต่ว่าพวกเราอาจจะไม่ลงลึกไปมากกว่านี้
1
(เพราะกลัวว่ามันค่อนข้างจะวิชาการไปม๊ากกพอสมควร ไปตามอ่านมาเรื่อย ๆ ก็เพลินดี ทำให้รู้ว่า เอ้อ ! การจะปลูกต้นกัญชาให้เติบโตได้ดี มันไม่ง่ายเลยนะ ถึงแม้ว่าเจ้าพืชมันจะทนทานมากก็ตามที ซึ่งอาจจะเหมาะกับเพื่อน ๆ ที่กำลังเล็งว่าจะปลูกอย่างจริงจัง)
งั้นมาดูกันทีเรื่องราวต้นกำเนิดและการค้นพบของพืชกัญชากันเบา ๆ ดีกว่า 👩🏫
ถ้าพูดถึงต้นกำเนิดของพืชกัญชาเนี่ย
ก็คงไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจน แต่ว่ากันว่าเป็นหนึ่งในพืชโบราณของโลก ที่มีอายุเกือบ 26,900 ปีก่อนคริสตกาล (อยู่ทนทายาทมาก ๆ) 📜
แต่ถ้ามาพูดถึงเรื่องการนำมาใช้งาน เค้าก็มีบันทึกเอาไว้ว่า กัญชาถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อประมาณ 4,700 ปีที่แล้ว โดยจักรพรรดิเสินหนง (Shen Nung's) แห่งประเทศจีน 🇨🇳
จักรพรรดิเสินหนง (Shen Nung's) แห่งประเทศจีน
แรกเริ่มเดิมทีเป็นการนำมาใช้ในด้านการแพทย์จีนแผนโบราณ เพื่อรักษาโรคข้อต่ออักเสบ ไข้มาลาเรีย และโรคไข้รูมาติก 🏥💊
ด้วยความที่พืชกัญชา-กัญชง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่อบอุ่น จึงทำให้มีการค้นพบการปลูกพืชกัญชาในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
🇮🇳 🇨🇳 ซึ่งทั้งอินเดียและจีน ต่างก็นำเส้นใยจากกัญชา-กัญชง มาประยุกต์ใช้ในการผลิตเครื่องนุ่งห่ม (คือในสมัยต่อมาเนี่ย จีน ก็มีการแบนการใช้กัญชา เพราะถือว่าเป็นสารเสพติด เขาเลยนำเส้นใยมาใช้ประโยชน์แทน)
แทบจะทั้งประเทศเลยในอินเดียที่ปลูกกัญชา
ในเวลาต่อมา กัญชา-กัญชง ก็ค่อย ๆ แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป ว่ากันว่าชาวโรมัน (อิตาลี) เป็นชาติแรกของชาวยุโรปที่เริ่มต้นใช้งานกัญชา 🇮🇹
(แต่เราแอบไปอ่านมา ฝรั่งเค้าก็มีเถียง ๆ กันอยู่นะ มีคนมาอ้างว่าชาวโรมันไม่ได้เป็นคนเริ่มใช้ก่อนหรอก เพราะมีการอ้างหลักฐานค้นพบเชือกโบราณจากเส้นใยของต้นกัญชาที่ค้นพบจากสาธารณรัฐเช็กเมื่อปี ค.ศ.1997 โดยอาจมีอายุมากกว่า 3,000 ปี)
มาที่ทางฝั่งชาวอียิปต์ก็ไม่น้อยหน้า 🇪🇬
เพราะในช่วงเวลาประมาณ 3,000 ปีที่ผ่านมา นักอียิปต์วิทยาได้บอกถึงเรื่องราวของกัญชา ว่าเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ 🌟 โดยชาวไอยคุปต์ เรียกกัญชาว่า “เชมเชมตู” (Shemshemtu)
ซึ่งจะเชื่อมโยงลักษณะของ “ใบกัญชา” ที่มี 7 แฉก ว่าเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่อยู่บนศีรษะของเทพี “เซเชท” (Seshat) ซึ่งเป็นเทพีแห่งการจดบันทึกและความรู้
🙆♀️ แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ใครคือชนชาติแรกที่คิดวิธีการเสพกัญชาด้วยวิธีการสูบ ?
คำตอบก็คือ ชาวอิหร่าน !
แต่จะเรียกว่าชาวอิหร่านตรง ๆ เลย ก็อาจจะไม่ได้ คือ ต้องเรียกว่าชาวไซเธียน
โดยอ้างอิงจากบันทึกของ “เฮโรโดตัส (Herodotus)” นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก
เขาบันทึกไว้ว่า กลุ่มชาวไซเธียน (อิหร่าน) เป็นกลุ่มคนเร่ร่อนในอดีต ปกครองอยู่บริเวณที่ราบกว้างพอนทิก ได้นำเมล็ดของต้นกัญชา โยนลงไปบนหินที่กำลังร้อนแดง จนควันจากเมล็ดกัญชาที่บดขยำ เริ่มฟุ้งออกมา
ชาวไซเธียนก็จะค่อย ๆ สูดดม พร้อมซุกตัวลงเข้าไปใต้เสื่อ ด้วยใบหน้าและอารมณ์แห่งความสุขกับไอควันจากเมล็ดกัญชา
ซึ่งนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรมการเสพความสุขอย่างง่ายของชาวยุโรปกันเลยทีเดียว
💡 แล้วประเทศไทยละ ?
งั้นมาต่อที่เรื่องราวต้นกำเนิดการใช้งานกัญชา-กัญชง ในประเทศไทย กันสั้น ๆ
🇹🇭 ในประเทศไทย พบการใช้กัญชาครั้งแรกเป็นสมุนไพรรักษาโรคมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ประมาณ พ.ศ. 2199-2231) แน่นอนว่าด้วยสภาพอากาศของไทย มันค่อนข้างอำนวยต่อการปลูกกัญชา-กัญชง
ด้วยกระแสการใช้งานกัญชาเพื่อการเสพสุขของชาวยุโรป (ที่มาพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาและวัฒนธรรมตะวันตก) จึงทำให้ชาวไทยเริ่มรู้จักใช้งานกัญชา นอกเหนือไปจากทางการแพทย์
เป็นเวลานานม๊ากกกมาก ! ก่อนที่ต่อมาก็จะต้องห้ามใช้กัญชาไปในปี พ.ศ.2477 เนื่องจากความเข้าใจผิดของคนทั่วโลกที่กำหนดว่ากัญชาเป็นสิ่งเสพติด ตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ปี ค.ศ. 1961 (Single Convention on Narcotic Drugs)
ภาพที่ 3 มารู้จักสายพันธุ์กัญชา
ยาว ๆ ไปนะคร้าบ มาต่อกันที่ภาพที่ 3 กันดีกว่า !
ในภาพอินโฟกราฟิกนี้ พวกเราก็ได้หยิบเลือกสายพันธุ์ยอดนิยมของกัญชา ก็จะมี 3 สายพันธุ์หลัก
งั้นเรามาดูเรื่องราวเพิ่มเติมกันสักนิดดีกว่า !
1. Sativa
สายพันธุ์ Sativa
มีแหล่งกำลังเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร ชอบแดด อากาศร้อนชื้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ละตินอเมริกา (เม็กซิโก โคลอมเบีย) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา
โดยคำว่า Sativa เป็นภาษาละติน แปลว่า “เพาะปลูก” แค่ว่าค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน นามว่า Carolus Linnæus โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 🇸🇪👨🔬
2. Indica
สายพันธุ์ Indica
สายพันธุ์สังเกตง่าย ๆ ได้จากชื่อเลย เพราะถูกตั้งชื่อตามถิ่นกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง
ถึงแม้ว่าจะแหล่งที่ค้นพบเนี่ย จะมีอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง
แต่ว่าต้นกำเนิดของกัญชาสายพันธุ์นี้ ว่ากันว่าเดิมทีมาจากสภาพอากาศที่เย็นแต่ไม่หนาว (เหนือเส้นศูนย์สูตร) เป็นสายพันธฺ์ที่แข็งแรงทนทานต่อสภาพแวดล้อมแห้งแรง อากาศร้อนหรือหนาวเย็น
ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ทหารนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส นามว่า ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ในปี ค.ศ. 1785 (ไม่นานนักหลังจากค้นพบ Sativa) 🇫🇷🧑🔬
3. สายพันธุ์ Ruderalis
สายพันธุ์ Ruderalis
เป็นสายพันธุ์ที่มีจุดเด่นและสังเกตได้ง่ายที่สุด เพราะตัวใบจะมีแค่ 3 – 5 แฉก เท่านั้น
คำว่า ‘ruderalis’ มาจากภาษาละตินและแปลว่า ‘เศษหิน’ หรือ ‘ก้อน’
ถูกค้นพบโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) ในปี ค.ศ. 1924 🇷🇺👨🔬
โดยสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในยุโรปกลาง, ตะวันออก และรัสเซีย ขนาดของลำต้นจะมีขนาดเล็กมากมีระยะเวลาออกดอกที่สั้น (เล็กทั้งใบและลำต้นเลย เมื่อเทียบกับ 2 พันธุ์ด้านบน)
ที่มันมีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรปตะวันออก ก็เพราะว่าน้องเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น แต่ยังสามารถได้รับแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง (จะแตกต่างจาก 2 สายพันธุ์แรก ที่ชอบอากาศอุ่น)
อีกหนึ่งจุดเด่น คือ การออกดอกโดยอัตโนมัติ ไม่คำนึงถึงฤดูกาลและสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายในสองเดือนครึ่ง
🌟 อีกหนึ่งความพิเศษคือ เจ้า Ruderalis มักจะถูกนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา
แต่จริง ๆ ไม่ได้มีแค่ 3 สายพันธุ์นี้นะ แต่ยังมีสายพันธุ์ผสมอีกมากมายที่มีชื่อเสียง
ยกตัวอย่างเช่นสายพันธุ์ผสมระหว่าง Sativa กับ Indica เช่น สายพันธุ์ Blue dream, Wild Thailand, OG Kush, Gelato
หรือว่าจะเป็นกัญชาสายพันธุ์ไทย ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถจดทะเบียนรับรองพันธุ์กัญชาในไทยได้แล้ว เช่น
✔️ พันธุ์ตะนาวศรีก้านขาว / ก้านแดง
✔️ พันธุ์หางเสือ
✔️ พันธุ์หางกระรอก (Thai Stick) - ตัวนี้ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ติดอันดับ หนึ่ง ใน ห้าของสายพันธุ์ที่ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในโลกด้วยนะ !
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนขึ้นสายพันธุ์ Sativa และ Indica พวกเราขอรวบรวมภาพมาให้ด้านล่างนี้เลย
เป็นภาพที่พวกเราค้นหามาจาก Pinterest
ว่าแต่ ที่ประเทศอื่น ๆ เนี่ย เขามีเริ่มใช้กัญชาแบบสาธารณะหรือเพื่อความบันเทิงกันหรือยังนะ ?
พวกเราจะรวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อน ๆ อ่านกันสักเล็กน้อย
1. เนเธอร์แลนด์ 🇳🇱
แค่นึกถึงกัญชากับประเทศนี้ สเปซบราวนี่ ก็ลอยขึ้นมาในหัวทันที
ถึงแม้ว่าเนเธอร์แลนด์จะเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องการเปิดเสรีในการเสพกัญชาได้ทั่วไป
แต่เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า กัญชาถือว่าเป็น soft drug และอยู่ในประเภทของยาอยู่นะ (ไม่ได้เสรีแบบไทยเราตอนนี้)
โดยชาวเนเธอร์แลนด์สามารถขายกัญชาได้ตามปกติในร้านกาแฟเลย แต่ว่าจะขายในแค่เฉพาะคนในชาติ (ห้ามขายคนต่างชาติ ไม่งั้นผิดกฎหมายอาญา) แล้วก็ห้ามปลูกกัญชาเพื่อการพาณิชย์และสันทนาการอีกด้วยละ
บาร์กัญชาที่อัมสเตอร์ดัม
2. เยอรมนี 🇩🇪
เท่าที่ทราบมา คือประเทศเยอรมนี เพิ่งเริ่มนำกัญชามาใช้งานทางการแพทย์ โดยมีการจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป แล้วก็รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีกำลังมีนโยบายที่จะกำหนดให้กัญชาเป็นสินค้าเพื่อการสันทนาการ (เพื่อความเพลิดเพลิน) สำหรับประชาชนในกลุ่มที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น
รัฐในเยอรมนีที่สามารถปลูกกัญชาได้
3. จีน 🇨🇳
เห็นเข้มงวดอย่างนี้ แต่พี่จีนเองก็เริ่มมีการอนุมัติให้ปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย
เฉพาะในมณฑลยูนนานและเฮยหลงเจียง
ส่วนใหญ่จะเริ่มนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง (แต่หลายส่วนยังไม่ได้ถูกใช้งานนะ แน่นอนว่าถ้าใส่พวกอาหารนั้น ยังผิดกฎหมายอยู่)
ที่จีนก็ไม่น้อยหน้านะ แต่ว่าก็ปลูกโดยรัฐนะแหละ
4. สหราชอาณาจักร 🇬🇧
จากประสบการณ์ที่พวกเราเคยไปเรียนที่อังกฤษมา ก็รู้สึกว่ากัญชาเนี่ย มันเข้าถึงง่ายมากก (ถึงแม้ว่ามันจะผิดกฎหมาย) แต่คนก็นิยมสูบกันเต็มเลย พวกร้านชิชาก็เยอะ
แต่ว่ากันตามเรื่องราวคือ สหราชอาณาจักร เพิ่งเริ่มที่จะใช้ผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่ม CBD (ส่วนใหญ่จากกัญชง) เป็นสินค้าอาหารแห่งอนาคต Novel Foods (สินค้าอาหารกลุ่มใหม่)
มีขายพวกน้ำมันกัญชากัญชง ครีม อะไรพวกนี้ตามร้านขายยา
แต่ยังคงเข้มงวดเรื่องปริมาณสาร THC กันอยู่นะ รวมถึงยังไม่สามารถซื้อชายเพื่อเสพความบันเทิง (แต่ก็นะคนอังกฤษไม่สนแน่นอน สูบกันกลิ่นหอมทะลุบ้านกันมาเลย 555)
มีพี่ตำรวจมายืนดูด้วย
💡🥴 แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ประเทศไหนบ้างที่อนุญาตให้ใช้กัญชาแบบเสรี ? (ทั้งการแพทย์ + สันทนาการเต็มรูปแบบ)
คำตอบคือ
- อุรุกวัย 🇺🇾
- แคนาดา 🇨🇦
- แอฟริกาใต้ 🇿🇦
- จอร์เจีย 🇬🇪
Cannabis Shop ที่แคนาดา ก็ขายทุกอย่างเลยเข้าใจว่าตัวช่อดอกด้วยคร้าบ
ที่อุรุกวัยก็เป็นถุงแบบนี้กันเลย ดูดีแห่ะ
💡 เกร็ดความรู้เพิ่มเติม :
เพื่อน ๆ น่าจะพอได้ยินคำศัพท์ของชาวสายเขียวกันมาก่อนบ้างแล้ว “Bhang” หรือ “บัง” เป็นทั้งชื่อเรียกกัญชา (Ganja) 🇮🇳
คือในสมัยก่อนเนี่ย ชาวอินเดียโบราณมีการนำเอาใบกัญชาแห้ง เมล็ดและกิ่งก้านของต้นกัญชามาใช้เป็นยาที่เรียกว่า “บัง” (Bhang)
ค้นหาไปมา ก็พบว่า เจ้ายากัญชาชนิดนี้ก็ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ที่เรียกว่า “คัมภีร์อาถรรพณ์เวท” (Atharvaveda) ในฐานะ “หญ้าศักดิ์สิทธิ์” ด้วยละ (อาจคล้าย ๆ อียิปต์ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเหล่าเทพ)
อีกคำที่อ่านผ่าน ๆ แล้วใกล้เคียงกันก็คือ "Bong" หรืออ่านตรงตัวเลยก็คือ “บ้อง”
“บ้อง 🇹🇭” คำนี้เป็นคำภาษาไทยเลย ที่มาจาก "บ้องไม้ไผ่" อุปกรณ์สำหรับสูบกัญชา แล้วเพื่อน ๆ ทราบไหมว่า คำนี้กลายเป็นคำสากลที่ใช้ของสายเขียวทั่วโลก
โดย บ้อง กลายเป็นที่รู้จักของทั่วโลก ก็ว่ากันว่ามาจากทหารอเมริกันที่มารบในสงครามเวียดนามครั้งที่ 1 แล้วได้รู้จักวิธีการสูบกัญชาผ่านกระบอกไม้ไผ่จากทหารไทย
เจ้าบ้องบารากุนี้ละ ที่ถ้าเรียก Bong ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจ
ภาพที่4 มารู้จักสารต่าง ๆ ในกัญชา กันดีกว่า!
จากภาพอินโฟกราฟิกภาพสุดท้ายนี้ เพื่อน ๆ คงพอจะเห็นภาพความแตกต่างของสาร THC กับ CBD แล้วเนอะ
งั้นเราขอขยายความเพิ่มเติมอีกสักนิดละกัน
📌 [ สาร CBD หรือ Cannabidiol ]
เป็นสารที่หาพบได้เยอะในกัญชง (เยอะกว่ากัญชา) โดยจะอยู่ในบริเวณของไตรโคม (trichomes)
ไตรโคมก็คือส่วนที่เหมือนเห็ดใส ๆ ขนาดเล็กม๊ากกกกก ในช่อดอกจะเยอะมาก หรือบริเวณหน้าใบกัญชา (ไม่เยอะมาก แต่ก็มีนะ)
เจ้าสารตัวนี้ก็จะทำให้เราผ่อนคลาย ทำให้สงบ แต่ไม่ได้เมานะ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยก็อาจจะทำให้เรา อาการปากแห้ง คอแห้งได้ เป็นปกติ
📌 [ สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ]
สารตัวนี้ต่างหาก ที่ทำให้เกิดอาการเมาและเคลิบเคลิ้ม ก็จะตรงกับชื่อเล่นที่มักเรียกว่า "สารเมา" ซึ่งจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น หากใบกัญชาผ่านการปรุง ผ่านความร้อน หรืออายุของใบแก่
หาพบได้ในช่อดอกกัญชามากกว่ากัญชง
สาร THC เนี่ย ก็ค่อนข้างมีประโยชน์ทางการแพทย์ เพราะสามารถช่วย
- ผ่อนคลาย เสริมการนอนหลับ 😴💤
- บรรเทาอาการข้างเคียงของการทำคีโม รักษามะเร็ง
- บรรเทาอาการเส้นเลือดตีบ
- บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง 😖
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป เช่น ง่วงนอนมากกว่าปกติ, ปากแห้ง, คอแห้ง, วิงเวียนศีรษะ
ส่วนในเรื่องของผลข้างเคียงที่หาพบได้ยาก แต่อันตรายถึงชีวิตอาจได้รับสาร THC ที่มากเกินไป คือมันจะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดให้จับเป็นตัว จนเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้หัวใจขาดเลือดได้ (เท่าที่เข้าใจคือพบน้อยมาก ๆ แต่ก็เหมือนอารมณ์ว่าหวยออกละ ถ้าเราได้รับเกินขนาดหรือแพ้เนี่ย ก็อาจไม่ดี)
[ นอกจาก CBD แล้วเพื่อน ๆ เคยได้ยินสารที่ชื่อว่า “CBN” กันไหม ? ] 🤔💭
สำหรับเพื่อน ๆ ที่เป็นมือใหม่แบบพวกเรา ก็คงคิดว่าตัวย่อก็เยอะเหลือเกิน
แต่เพื่อน ๆ ที่เป็นนักปลูกก็คงจะคุ้นเคยกันดี
CBN ย่อมาจาก “Cannabinol”
ซึ่งไม่เหมือนกับ CBD นะ
คือเจ้า CBN มันเป็นสารที่เกิดจากการปฏิกิริยาของสาร THC ในระหว่างการเก็บรักษา พบได้มากในกัญชาแห้ง โดยสาร CBN มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน และหากมีการใช้ร่วมกับสาร THC ในปริมาณที่เหมาะสม จะส่งเสริมให้การนอนหลับดีขึ้น (ก็จะอยู่ในรูปของน้ำมันกัญชา หากเราเข้าไม่ผิดนะคร้าบ)
🤭 ระวังสับสนกับใบกระท่อมนะ !
เพื่อนบ้านสายเขียว ที่ไม่แวะพูดถึงคงไม่ได้อย่างใบกระท่อม
คือ สารที่อยู่ในใบกระท่อม เรียกว่า "สารไมทราไจนีน (Mitragynine)" เป็นสารเสพติดในกลุ่มอัลคาลอยด์ ที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยบรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ มีฤทธิ์คล้ายกับมอร์ฟีน
ที่สำคัญคือ ใบกระท่อมไม่ได้มีสาร CBD หรือ THC นะคร้าบ
https://www.disthai.com/17319139
สุดท้ายนี้ ประโยชน์ของกัญชาเนี่ยก็มีเยอะมากมาย
แต่อันตรายจากการใช้งานเกินขนาด หรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเนี่ย ก็อย่ามองข้ามนะคร้าบ
สำหรับความคิดเราเอง กัญชาก็คงไม่ต่างอะไรไปกับการดื่มแอลกอฮอล์โดยทั่วไป
เพราะเมื่อเมาเหมือนกัน ก็เกิดอุบัติเหตุหรืออาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เหมือนกัน
เพียงแค่ เราอาจจะรู้จักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กันดีมากกว่ากัญชา ที่มีสารต่าง ๆ มากมายเนอะ
ตอนนี้เราเห็นหลาย ๆ สื่อเจ้าใหญ่ ก็เริ่มเผยแพร่ข้อมูลให้พวกเราทำความรู้จักพี่กัญชากันมากขึ้นเนอะ
ทั้งนี้พวกเรา InfoStory ก็ขอให้เพื่อน ๆ สนุกกับการใช้งานกัญชาในรูปแบบที่หลากหลาย ให้ถูกวิธี มีสติ และปลอดภัยกันนะคร้าบ 🤤😊😆
หวังว่าอัลบั้มโพสนี้ของพวกเราคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อน ๆ ที่เป็นมือใหม่เริ่มทำความรู้จักกัญชาแบบพวกเรากัน 😊🙏🙏
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://www.history.com/topics/crime/history-of-marijuana
https://www.ncbidotnlmdotnih.gov/pmc/articles/PMC7605027/
https://www.sydneydotedu.au/.../history-of-cannabis.html
https://weedbong420.com
https://ngthai.com/science/33438/weed-set-menu/
https://home420-th.com
ประวัติศาสตร์
อาหาร
สุขภาพ
4 บันทึก
3
1
4
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย