Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LEFT-FEM
•
ติดตาม
18 มิ.ย. 2022 เวลา 07:52 • การเมือง
กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลคืออะไร และทำไมมันถึงควรถูกยกเลิก
กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล/กรรมสิทธิ์เอกชน (Private Property) หลายคนมักเข้าใจว่า มันคือพวกของใช้ส่วนตัว ทรัพย์สินทั่วไป แต่ความจริงแล้ว คำนี้มีความหมายแตกต่างออกไปจากทรัพย์สินส่วนบุคคล(Personal Property) อย่างสิ่นเชิง
Private Property กับ Personal Property นั้นหากแปลโดยทั่วไปแล้ว ก็คงมีความหมายเหมือนกัน แต่การจะศึกษาสังคมนิยมนั้นเราจะต้องแยกความหมายของ 2 คำนี้ให้ออก
Private Property กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือปัจจัยการผลิตนั้น คือสิ่งที่อยู่ในรูปแบบโรงงาน บริษัท เครื่องจักร ที่ดินที่ให้ผู้อื่นเช่า ค่าเช่า การถือหุ้นในบริษัท เป็นต้น คุณสมบัติพิเศษของมันคือสร้างรายได้ให้กับผู้เป็นเจ้าของ โดยที่ผู้เป็นเจ้าของแค่อยู่เฉย หรือไม่ต้องทำอะไรเลย
1
Personal Property คือ ทรัพย์สินทั่วไปที่คนใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ ปากกา ชุด แปรงสีฟัน โทรศัพท์ บ้าน
อย่างไรก็ตาม ก็มีของบางชนิดที่เป็นได้ทั้ง Private Property และ Personal Property
ดังนั้น การที่ชาวฝ่ายซ้ายป่าวประกาศว่าจะต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์เอกชนนั้นก็ไม่ใช่การแสดงเจตจำนงที่จะยึดทรัพย์สินของทุกอย่าง (กางเกงใน แปรงสีฟัน เสื้อ โทรศัพท์) มาเป็นของส่วนรวมอย่างที่คนบางกลุ่มกล่าวอ้าง
ความแตกต่างระหว่าง Personal Property และ Private Property
ทำไมเราถึงควรทำลายกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล
ลัทธิคอมมิวนิสต์ และอนาธิปไตย(สายสังคม) นั้นประกาศมาเสมอว่าต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่นั่นไม่ใช่หมายถึงจะต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ของทุกคนในสังคม แต่จะยกเลิกเพียงกรรมสิทธิ์ของชนชั้นนายทุน(ทุกคน)
"ระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของชนชั้นนายทุนเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนที่สุดของการผลิตและการถือครองกรรมสิทธิ์ในสินค้าซึ่งตั้งอยู่บนความขัดแย้งทางชนชั้น นั่นคือการขูดรีดที่คนส่วนน้อยกระทำต่อคนส่วนใหญ่" (นายทุน นายจ้างขูดรีดแรงงาน ลูกจ้าง)
"[ นายทุน ] การเป็นนายทุนคนหนึ่งนั้นหมายความว่า ในการผลิตนั้นเขาคือภาคเอกชนที่มีฐานะทางสังคม ทุนเป็นผลิตผลของส่วนรวมที่ต้องผ่านการใช้แรงงานของสมาชิกทั้งหมดของสังคมเท่านั้นจึงจะถูกนำมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นตัวทุนเองจึงไม่ใช่พลังของนายทุนเอกชน แต่เป็นพลังขับเคลื่อนอย่างหนึ่งของสังคมทั้งสังคม"
"การเปลี่ยนทุนให้เป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสมาชิกทั้งหมดในสังคม จึงไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนทรัพย์สินเอกชนให้เป็นทรัพย์สินของสังคม แต่เปลี่ยนแค่การถือครองทรัพย์สินเท่านั้น แล้วในที่สุดความเป็นชนชั้นก็จะหมดไป"
"แรงงานรับจ้าง ราคาเฉลี่ยของแรงงานรับจ้างคือ "ค่าแรงขั้นต่ำที่สุด" ซึ่งก็คือ ค่าครองชีพที่เพียงพอกับกรรมาชีพคนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ฉะนั้นการที่กรรมาชีพรับจ้างเป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง แค่เพียงพอสำหรับประทังชีวิตไปวันๆ เพื่อทำการผลิตต่อไปเท่านั้น"
"เราไม่ได้เสนอให้ยกเลิกผลตอบแทนจากการทำงานที่ได้จากผลิตผลของแรงงาน เพราะผลตอบแทนชนิดนี้จะไม่เหลือส่วนเกินมากพอที่จะทำให้คนส่วนน้อยเอาเปรียบแรงงานของคนส่วนใหญ่อย่างที่เป็นอยู่"
"แต่เราเสนอให้ทำลายความเลวร้ายของการถือกรรมสิทธิ์แบบนี้ เพราะมันทำให้ชนชั้นกรรมาชีพมีสภาพชีวิตเป็นแค่เครื่องมือสะสมทุน พวกเขาต้องทนมีชีวิตอยู่เพื่อสร้างทุนให้เพิ่มมากขึ้น และเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ตราบเท่าที่ “ผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง” ต้องการให้เขามีชีวิตอยู่เท่านั้นเอง"
"ในสังคมทุนนิยม แรงงานที่มีชีวิตเป็นเพียงปัจจัยอย่างหนึ่ง ในการสะสมทุน ซึ่งต่างจากสังคมคอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิงตรงที่แรงงานที่สะสมขึ้นแล้วจะเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมชีพ"
กล่าวคือ บริษัทของนายทุนรวย หรือก้าวหน้าได้นั้น เป็นผลมาจากการทำงานของทุกคนในบริษัท หรือคนในสังคม เพราะแต่ละคนก็มีหน้าที่เป็นของตัวเอง แต่นายทุนนั้นกลับนำผลผลิตรายได้ที่ได้นั้นไปเป็นทรัพย์สินของตัวเองจนหมด หรือพูดง่าย ๆ คือนายทุนต่างขูดรีดรายได้จากลูกจ้างไปเป็นของตัวเองจนแทบเกือบหมด ด้วยการอ้างในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของในปัจจัยการผลิต หรือบริษัท
1
รายได้ หรือค่าแรงที่คนทำงาน ลูกจ้างแต่ละคน ได้ในแต่ละวันนั้น เป็นเพียงค่าแรงที่ต่ำที่สุดที่ได้จากการทำงาน เพื่อให้เพียงพอประทังชีพสำหรับวันต่อวันเท่านั้น (และบางทีมันก็ไม่เพียงพอเสียด้วย)
1
ในสังคมทุนนิยมนั้น คนทำงานหรือลูกจ้างทุกคนนั้น เป็นเพียงเครื่องมือสะสมความมั่งคั่งของนายทุนเท่านั้น (ลูกจ้างทำงาน แต่นายทุนรวย) นายทุนจะกดหัว และกดค่าแรงเราต่อไปตามที่เขาต้องการ เพราะหากว่าเราลุกขึ้นมาเรียกร้องเมื่อใด พวกเขาก็จะเสียผลประโยชน์ไปมากเท่านั้น
สังคมทุนนิยมนั้นไม่เพียงมีผลกระทบเพียงแค่ด้านเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบต่อประชาธิปไตยด้วย การมีอยู่ของนายทุนนั้นมาพร้อมกับอภิสิทธิ์และแนวคิดแบบอุปถัมภ์ที่มองว่า นายจ้าง นายทุน = นายเหนือหัว นายจ้างทำตัวเป็นนายมีอำนาจ คุมการตัดสินใจทุกอย่าง และกดหัวลูกจ้าง ไม่ให้มีปากเสียงหรืออำนาจใด ๆ ทุนนิยมจึงเป็นเผด็จการในตัวมันเอง เพราะมันรักษาอำนาจนายจ้างไว้เหนือลูกจ้าง อำนาจที่จะกดหัว และขูดรีด
1
และคนทำงาน หรือคนที่ไม่ใช่นายทุนบางคนก็รับแนวคิดแบบอุปถัมภ์แบบนี้มาใช้กดหัวคนทำงานด้วยกัน ด้วยการบอกว่า เป็นลูกจ้าง อย่าเรียกร้อง อย่าเหลิง ชูคอกับนายจ้าง กรอบคิดแบบนี้เป็นการตอกฝาโลงตัวเอง เพราะเป็นการรักษาและขยายความเหลื่อมล้ำให้คงอยู่ เป็นการรักษาการจ้างงานและค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งนำไปสู่ การรวยแบบกระจุก และจนกระจาย
ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย การยื่นข้อเรียกร้องเจรจาต่อรองของคนทำงานจะต้องเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ละเมิดไม่ได้ และการจะสร้างสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องทำมากกว่าการล้มรัฐบาลเผด็จการ แต่ต้องล้มระบบทุนนิยมด้วย
1
ดังนั้น การที่จะยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของชนชั้นนายทุน เพื่อนำทรัพย์สินกลับคืนสู่สังคมนั้น ไม่ใช่การยึดทรัพย์สินที่นายทุนสร้างขึ้นเอง แต่เป็นการคืนทรัพย์สินที่คนในสังคมควรได้แต่แรก กลับคืนสู่เจ้าของจริงนั่นคือส่วนรวมในสังคม
และเมื่อปราศจากการขูดรีดในสังคมนั้น ชนชั้นนายทุนก็จะหมดอิทธิพลและหายไป ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่มีความเท่าเทียมและประชาธิปไตยในด้านสังคมและการเมืองมากยิ่งขึ้น และจะเป็นยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทำงานไปในตัว
แม้ว่าชาวคอมมิวนิสต์ ชาวอนาธิปไตยจะป่าวประกาศว่าจะต้องยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล หรือการจะปฏิวัติกรรมาชีพยึดกิจการเพื่อสร้างประชาธิปไตยในที่ทำงานนั้น ก็อาจไม่ได้จะต้องไปยึดกิจการขนาดเล็ก เช่น กิจการที่ทำคนเดียว หรือไม่มีลูกจ้าง ร้านขายของชำ หรือร้านขายลูกชิ้น เพราะกลุ่มคนเหล่านั้นแม้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลบางอย่าง แต่ก็ทำไปเพื่อประทังชีพ ไม่ใช่สะสมทุน อีกทั้งพวกเขายังได้รับผลกระทบจากทุนนิยมเช่นกัน
หมายเหตุ : กิจการใดที่เป็นการนำปัจจัย 4 มาทำกำไรหรือสะสมทุน ก็ควรถูกปฏิรูปมาเป็นของส่วนกลาง(แบบสันติ) เพราะหลักการของสังคมนิยม คือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า ยา ที่อยู่อาศัย ควรต้องเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นสวัสดิการ หรือไม่ถูกทำให้เป็นสินค้านั่นเอง
1
แต่นั่นไม่ได้หมายถึงคนค้าขายต่าง ๆ จะไม่มีรายได้ หรือขายของฟรี พวกเขาเองก็ควรจะได้รับค่าตอบแทนจากสังคม หรือสวัสดิการจากสังคมด้วย
สังคม
การเมือง
เศรษฐกิจ
2 บันทึก
4
7
2
4
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย