Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกษตรใส่สูท
•
ติดตาม
19 มิ.ย. 2022 เวลา 02:29 • การเกษตร
ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) เชื้อราดีกำจัดโรคพืช
ช่วงฤดูกาลนี้เป็นช่วงฤดูที่มีน้ำ มีฝนเยอะมาก นำมาสู่ความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่อย่างไรก็ตามสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงๆนั้น จะเอื้ออำนวยให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุของพืชหลายชนิดเติบโตตามไปด้วย
1
เกษตรใส่สูท จะพาทุกคนให้รู้จักกับเชื้อราที่เป็นปฏิปักษ์กับเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช นั่นก็คือ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) นั่นเองครับ
ไตรโคเดอร์มา คืออะไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการควบคุม ทำลายเชื้อราก่อโรคในพืชได้หลายชนิด จึงถือเป็นเชื้อราดี และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำเกษตรอินทรีย์ ไตรโคเดอร์มาพบได้ในพื้นที่ธรรมชาติ ที่ปลอดการใช้สารเคมี เชื้อไตรโคเดอร์มา มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและมีรายงานการใช้ทั่วโลกนั้น มีไม่กี่สายพันธุ์
1
เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีหลายสายพันธุ์ซึ่งตามรายงานที่มีอยู่ขณะนี้มากกว่า 30 สายพันธุ์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชได้ดี บางสายพันธุ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดี ในขณะที่ไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชได้ดี
ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้งานทั้งในและต่างประเทศมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เช่น Trichoderma Hazianum , Trichoderma viride, Trichoderma virens และ Trichoderma polysporum แต่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ ฮาเซียนั่ม เป็นสายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ไตรโคเดอร์มา มีคุณลักษณะพิเศษโดยขบวนการ สร้างการเจริญเติบโตของพวกมัน สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคพืชได้หลายชนิด โดยในขั้นตอนขยายพันธุ์ สร้างการเจริญเติบโต มีกลไกสำคัญที่ทำให้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช ได้ ดังต่อไปนี้
เครดิตภาพ : https://trichodermas.com/about-trichoderma/
➡แข่งขันแย่งชิงพื้นที่และสารอาหาร (Competition)
เนื่องจากความสามารถในการเจริญเติบได้อย่างรวดเร็ว จึงเข้ายึดพื้นที่อยู่อาศัยและแย่งอาหารจากเชื้อราก่อโรค โดยแข่งขันในการดูดซับสารอาหาร สารอินทรีย์ต่างๆเพื่อใช้ในการสร้างการเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ ซึ่งการแข่งขันในด้านการแย่งชิงอาหาร เป็นกลไกหลักที่ทำให้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชไม่ให้มีปริมาณมาก จนก่อให้เกิดการระบาดของโรคพืชได้
เครดิตภาพ : https://trichodermas.com/about-trichoderma/
➡ทำตัวเป็นปรสิตต่อเชื้อราก่อโรคในพืช (Parasitism)
การทำตัวเป็นปรสิตของไตรโคเดอร์มา ส่งผลให้ผนังเซลล์ของเชื้อราก่อโรคถูกทำลาย น้ำเลี้ยงและสารต่างๆในเชื้อราก่อโรคถูกเชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้เป็นอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโต การเป็นปรสิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จึงขัดขวางการเจริญของเชื้อราก่อโรคโดยตรง
เครดิตภาพ : https://trichodermas.com/about-trichoderma/
➡ผลิตสารปฏิชีวนะ ( Antibosis)
ในการเจริญขยายพันธุ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะสร้างและปลดปล่อยสารพิษ หรือสารปฏิชีวนะออกมานอกเซลล์ ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งและทำลายเชื้อราก่อโรคพืชที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ทำให้เชื้อราก่อโรคลดปริมาณลง ช่วยลดการเกิดโรคพืช
เครดิตภาพ : https://trichodermas.com/about-trichoderma/
➡ชักนำให้พืชเกิดความต้านทาน (Induced resistance)
กลไกการต่อต้านการเกิดโรคของพืช สามารถสร้างขึ้นด้วยตัวของพืชเอง และเกิดขึ้นได้ในพืชทุกชนิด และเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถกระตุ้นให้พืชสร้างกลไกเหล่านี้ได้มากขึ้น ช่วยพืชเกิดความต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุก่อโรคพืชได้
2
2
ข้อจำกัดในการใช้ไตรโคเดอร์มา
●
สภาพแวดล้อมต้องมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชื้นแฉะ
●
ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันมีอากาศร้อน แสงแดดจัดทำให้เชื้อตาย
●
ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในช่วง 7 วันก่อนหรือหลังการหว่านเชื้อที่ผสมแล้วลงดิน
●
ควรมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ
●
ไตรโคเดอร์มา เป็นจุลินทรีย์ชั้นสูงที่ป้องกันโรคในพืชที่เกิดจากรา ไม่สามารถป้องกันแมลงศัตรูพืชได้
รูปแบบของเชื้อ ไตรโคเดอร์มา ที่ใช้ในปัจจุบัน
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ที่เราเห็นและนิยมใช้จะมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์มาในรูป ผงสปอร์แห้ง , เชื้อสด , และเชื้อชนิดน้ำ
1
วิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา
★
ใช้คลุกเมล็ด เพิ่มอัตราการงอกและป้องกันโรคที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ โดยใส่เชื้อลงในถุงพลาสติก อัตรา10 กรัม (หรือ1ช้อนแกง) ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เติมน้้า 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว จากนั้นจึงใส่เมล็ดลงในถุงแล้วคลุกให้เข้ากัน (ป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์)
★
รองก้นหลุม ให้โรยเชื้อราไตรโคเดอร์มาลงในหลุม โดยคลุกเคล้าเชื้อสดกับดินในหลุมก่อนน้ากล้าพืชลงปลูกหลุมปลูกเล็กใช้เชื้อสดอัตรา 5 ช้อนแกง หลุมปลูกใหญ่ใช้เชื้อสดอัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)
★
ผสมกับวัสดุปลูก กรณีเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะช้า ให้น้าเชื้อสด 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 ส่วน (โดยน้้าหนัก) แล้วนำส่วนผสมนี้มา 1 ส่วน เพื่อผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วน(โดยปริมาตร) จึงน้าไปเพาะเมล็ด
★
การหว่านลงดิน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม รำ 4 กิโลกรัม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน น้าไปหว่านโคนต้น อัตรา 30-60 กรัม(3-6 ช้อนแกง)ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม ใช้อัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)ต่อตารางเมตร
★
การฉีดพ่น วิธีนี้สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ โดยฉีดพ่นลงดินบริเวณรากพืชและส่วนบนของต้นพืชเนื่องจากต้องใช้เชื้อสดผสมกับน้้า ก่อนน้าไปใช้ต้องกรองเอาเฉพาะน้้าเชื้ออกมา เพื่อป้องกันการอุดตันหัวฉีดกรณีฉีดพ่นลงดินใช้อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้้า 200 ลิตร พ่นส่วนบนของพืช ใช้อัตรา 2 กิโลกรัม ผสมน้้า 200 ลิตร
★
วิธีอื่น ๆ เช่น กรณีการใช้ในนาข้าว อาจใช้วิธีปล่อยไปกับระบบน้้าไหล/ การใช้ในยางพาราโดยการทาแผลหรือทาหน้ายาง / ในไม้ผลที่ตัดแต่งกิ่ง ใช้ทาแผลเพื่อป้องกันก้าจัดเชื้อรา เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
https://trichodermas.com/about-trichoderma/
สามารถศึกษาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=n3MN7EjyZe4
youtube.com
ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์กับโรคพืช
00:00 เริ่มต้นคลิป03:48 กลไกลการทำงานของ ไตรโคเดอร์มา07:25 ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา12:11 การใช้งาน ๐ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม ; Trichoderma asper...
เรียนรู้เพิ่มเติม
เกษตรใส่สูท เชิญชวนทุกท่านฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจ กันด้วยนะครับ เพื่อไม่ให้พลาดบทความดีๆที่ ผมได้เรียบเรียงมา ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/60e83a692b58db0c7e5e94c2
ไตรโคเดอร์มา
เกษตร
เกษตรอินทรีย์
4 บันทึก
20
32
21
4
20
32
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย