19 มิ.ย. 2022 เวลา 10:22 • ข่าว
⦿ ลาทีปลั๊กขาแบน! ถึงคราวบังคับใช้ปลั๊กขากลมจริงจังในไทย แล้วทำไมคนไทยต้องเปลี่ยน?
• เรียกว่าอัปเดตอีกครั้งกับ ‘สายไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วง’ เนื่องจากตอนนี้ มอก. 166-2549 เริ่มบังคับใช้แล้วแบบจริงจัง เพราะเรื่องของปลั๊กไฟสายไฟเป็นสินค้าควบคุมต้องใช้อย่างระมัดระวังและถูกต้องตามกฏหมาย หลังจากที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ได้ออกกฏหมายใหม่เต้ารับและปลั๊กไฟต้องได้มาตรฐาน มอก. 166-2549 มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา โดยห้ามผลิตและจัดจำหน่ายสายไฟและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก. 166-2549 ซึ่งส่งผลต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ อย่างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขตามกฏหมายฉบับนี้
⦿ สาเหตุในการเปลี่ยนมาใช้ มอก. 166-2549
• สาเหตุที่ต้องปรับจากแบบขาแบบมาเป็นแบบขากลมทั้งหมดนั้นมีเหตุผลอยู่คือ เพื่อให้ปลั๊กไฟมีรูเสียบและรับที่สมดุลกัน ไม่แน่น ไม่หลวมเกินไป และต้องมีฉนวนกันไฟฟ้าที่โคนขาของปลั๊ก, พลาสติกที่หุ้มปลั๊กและเต้ารับ ซึ่งสมัยก่อนเต้ารับจะเป็นแบบ 2 ขา หลาย ๆ คนที่ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเลยใช้วิธีการหักปลั๊กที่เป็นขากราวน์ออกเพื่อให้สามารถใช้งานต่อได้
และสมัยก่อนประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานของหัวปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าว่าเป็นแบบใด แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในประเทศไทยนั้นจะมาจากทั้ง ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งทั้งสองเป็นปลั๊กแบบ “หัวแบน” ทั้งหมด แต่ประเทศไทยใช้มาตรฐานไฟฟ้าตามบ้านเป็นแบบยุโรป 220V จึงเหมาะกับแบบหัวกลม (Round Pin) มากกว่า เหตุนี้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงออกกฏหมายบังคับใช้และทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเต้ารับและตัวปลั๊ก
1
• ขาปลั๊กแบนจะเห็นว่าใช้กันอยู่ไม่กี่ประเทศ ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นในประเทศที่ใช้ไฟ 110V คือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, แคนาดา และไต้หวัน
• ส่วนใครที่มีเต้ารับและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กแบบขาแบนที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก. 166-2549 ยังสามารถใช้งานได้อยู่ ข้อห้ามนี้คือห้ามขายของใหม่ เพื่อลดจำนวนปลั้กขาแบนในบ้าน หรือขายอยู่ก็ต้องยืนยันให้ได้ว่าเป็นของที่นำเข้าหรือผลิตก่อนเดือน 11 ปี พ.ศ. 2563 แต่ถ้าซื้อใหม่ตอนนี้ก็ต้องแบบถูกต้องจาก สมอ. ที่ได้มาตรฐาน มอก. 166-2549 เท่านั้น
2
⦿ ย้อนรอยเต้ารับไฮบริดที่เสียบได้ทั้งแบบแบนและกลม
• เพราะว่าประเทศไทยตั้งแต่อดีตนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากหลายประเทศ ทั้ง
จากอเมริกา-ญี่ปุ่น-ไต้หวันที่เป็นขาแบน และจากยุโรปที่เป็นขากลม ทำให้ต้องมีการออกแบบเต้ารับพิเศษขึ้นมาที่รองรับได้ทั้งขาแบนและขากลม ซึ่งผู้ผลิตรายแรกที่ทำได้คือ Panasonic จนเป็นที่นิยมมาถึงปัจจุบัน
1
• แต่จุดอ่อนของเต้ารับแบบลูกผสมนี้คือไม่สามารถเสียบแน่นเท่าเต้ารับที่ทำมาเพื่อขาแบบนั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งหลังจากใช้งานผ่านไปสักพักจะเกิดอาการหลวมได้ง่ายกว่าปลั้กแบบเฉพาะทาง
1
‣ เรียบเรียง ทีมแอดมิน แบไต๋
‣ อ้างอิง https://bit.ly/3mYC4xX
‣ อ่านข่าวอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/beartaiBRIEFWEB
#beartaiBRIEF #ปลั๊กขาแบน #ปลั๊กขากลม #ปลั๊กไฟ
โฆษณา