19 มิ.ย. 2022 เวลา 18:24 • การศึกษา
The economist news in brief: เงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจเลวร้ายกว่าที่คิด
การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ส่งผลให้การเปรียบเทียบเงินเฟ้อผิดเพี้ยน
กว่าหลายทศวรรษที่การประเมิณมูลค่าที่อยู่อาศัยนั้นอ้างอิงจากต้นทุนที่เกิดขึ้น ดังนั้น ไม่ใช่แค่เพียงราคาบ้านเท่านั้นที่นับเป็นต้นทุน อัตราจำนอง ภาษี และค่าบำรุงรักษาจะถูกรวมเข้ากันเผื่อประเมิณมูลค่าที่อยู่อาศัยด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้ตัวเลขที่ออกมานั้นสูงเกินจริง
สำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLS) ได้ใช้วิธีการคำนวณมูลค่าที่อยู่อาศัยใหม่ โดยประมาณการจากรายได้รับหากปล่อยเช่าบ้าน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Owner's equivalent rent
และจากการคำนวณใหม่ พบว่า อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจริงนั้นต่ำกว่าและผันผวนน้อยกว่าตัวเลขที่ทางการประกาศไว้ กล่าวคือ
- อัตราเงินเฟ้อสูงสุดในเดือนมีนาคม ปี 1980 ณ 14.8% จะกลายเป็นเหลือ 11.4%
- อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงสุดในเดือนมิถุนายน ปี 1980 จาก 11.4% เหลือ 9.1%
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม ณ 8.6% นั้นถือว่าใกล้เคียงกับระดับสูงสุดของเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงเชื่อมั่นว่า FED จะหาทางประกาศใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อชะลอเงินเฟ้อได้โดยที่ไม่กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
Source: Inflation in America may be even worse than thought, The Economist.
โฆษณา