20 มิ.ย. 2022 เวลา 02:00 • การตลาด
บทเรียนที่ได้จากความมั้นใจ
สวัสดีเพื่อน ๆ ที่ติดตามเพจ little brain นายสมองกลวง วันนี้ผมได้ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เปิดโลกทัศน์ในการตัดสินใจการวางแผนในการทำงานหลาย ๆ อย่างมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
หนังสือเล่มนี้คือ “ฉลาดทางจิต” เขียนโดยคุณดังตฤต เขียนมาตั้งแต่ปี 2557 ถึงแม้ว่าจะเขียนมาหลายปีมากแล้ว แต่เนื้อหาด้านในเล่มยังคงทันยุคทันสมัยกับปัจจุบันอยู่
ผมขออนุญาตยกเนื้อหาบางส่วนในหนังสือเล่มนี้มาคุยมาเล่าให้เพื่อน ๆ ได้ฟังกัน ถ้าเพื่อน ๆ สนใจเนื้อหาทั้งหมดตอนนี้ยังคงหาซื้อกันได้ในแพลตฟอร์มออนไลน์ทั่วไป
เรามาเข้าเนื้อหาหนึ่งที่ผมสนใจมากในหนังสือเล่มนี้กัน ซึ่งผมเองก็เพิ่งได้รู้เพราะอ่านจากหนังสือเล่มนี้ และมีหลาย ๆ เรื่องที่ผมเองก็เคยพลาดไป แต่เมื่อมาได้อ่านก็ทำให้เข้าใจชีวิตได้มากขึ้น
ในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ใครไวกว่า ใครกล้าเสี่ยงมากกว่า ใครเห็นโอกาสก่อน มักจะทำให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจมาก
การปรับตัวช้าหรือการทระนงในความคิดของตัวเองมากเกินไป อาจทำให้เราก้าวไม่มันคู่แข่ง และอาจทำให้เรากลายเป็นรั้งท้ายในธุรกิจนั้น ๆ ไปเลยก็เป็นไปได้ ในโลกแห่งความจริงแล้วไม่มีใครที่จะล่วงรู้ทุกอย่างบนโลกใบนี้ เราทุกคนถึงจำเป็นมากที่จะต้องมีผู้ช่วย ผู้เชียวชาญด้านต่าง ๆ ให้เราได้ปรึกษา
จะมีใครคาดว่า สตีฟ จ๊อบส์ บิดาแห่งด้านเทคโนโลยี ผู้คิดค้นและเปลี่ยนแปลงโลกการสื่อสารไปตลอดกาล ก็มีข้อผิดพลาดเล็ก ๆ จนทำให้คู่แข่งสามารถมาเป็นคู่แข่งได้อย่างสู่สี
สตีฟ จ๊อบส์ เคยลั่นวาทำไว้ว่า ลูกค้าไม่รู้ตัวหรอกว่าต้องการอะไร จนกว่าจะมีใครสักคนเอาสิ่งที่ต้องการไปให้เขาถึงมือ
สติฟ จ๊อบส์ ไม่เคยทดลองตลาด และไม่เคยรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าทั่วโลกว่า หน้าจอสมาร์ตโฟนควรมีขนาดเท่าไร เขาเชื่อมั่นมาตลอดว่าขนาดของสมาร์ตโฟนควรเล็กพอที่จะกำได้ด้วยมือข้างเดียว ซึ่งนั่นทำให้ไอโฟนไม่เคยมีขนาดเกินสี่นิ้ว ตราบที่สติฟ จ๊อบส์ มีชีวิตอยู่ (เนื้อหาบทความจากหนังสือฉลาดทางความคิด หน้าสี่สิบแปด)
หลังจาก สติฟ จ๊อบส์ เสียชีวิตในปี คริสศักราช สองพันสิบสี่ ไอโฟนผลิตสมาร์ตโฟนขนาด สี่จุดเจ็ดนิ้ว และ ห้าจุดห้านิ้ว ปรากฏว่ายอดจองในยี่สิบสี่ชั่วโมงเกินสี่ล้านเครื่อง ซึ่งมากกว่ายอดจองมากกว่าหลายเท่าจากจอเล็ก
กรณีนี้สะท้อนว่า การปรับไอเดียไม่ควรเกิดขึ้นจากคน คนเดียวให้แน่แค่ไหนก็ไม่มีทางรู้จริงว่ากลุ่มลูกค้าต้องการอะไร ถึงแม้เราจะเป็นคนสร้างความต้องการให้กลุ่มลุกค้าแล้วก็ตาม แต่ความต้องการของลูกค้านั้นก็ไม่มีที่สิ้นสุด
ลูกค้าเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดทิศทางของการตลาดที่แท้จริง
การทำงานสมควรมีที่ปรึกษาและผู้เชียวชาญแต่ละแขนงช่วยกันคิด เพื่อน ๆ จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ แบรนด์เกิดขึ้นและดับไปเพราะว่าการปรับตัวทางการตลาดไม่ทัน วิสัยทัศน์ก้าวไม่ทันกับเทคโนโลยี และปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ “ฉลาดทางจิต” เพื่อน ๆ ที่สนใจเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ ยังสามารถหาซื้อได้ตามแพลตฟรอมออนไลน์ทั่วไป
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในคอมเม้มด้านล่าง หากมีข้อมูลบางส่วนผิดพลาด กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้
โฆษณา