21 มิ.ย. 2022 เวลา 00:09 • การศึกษา
พวกเราเคยมีคำถามกันมั๊ยว่า "ทำไมเราเล่นบนเวทีได้ไม่ดีเหมือนกับตอนอยู่ในห้องซ้อม" "ทำไมเราเล่นบนเวทีแล้วนึกโน้ตบางตัวไม่ออก" "เราซ้อมไม่พอรึเปล่า" (ซึ่งจริงๆ วางแผนซ้อมมาเป็นอย่างดีแล้ว)
เชื่อว่าคนทุกคนนั้นเคยผ่านจุดที่กลัวและไม่กล้าที่จะแสดงออกบางสิ่งบางอย่างกันมาแล้วทั้งนั้น เช่นในวัยเด็กเราไม่กล้าที่จะเล่นกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ๆ หรือไม่กล้าที่จะพูดรายงานหน้าชั้นเรียน การเล่นดนตรีก็เช่นกัน ทุกครั้งเวลาที่นักดนตรีแสดงบนเวทีต่างๆ มักมีอาการที่เรียกว่า "ตื่นเวที" (Stage Fright) อยู่บ่อยครั้ง
คำถามที่หลายคนมีอยู่ในใจนั้นอาจจะเป็น "อาการตื่นเวทีคืออะไร" "ทำไมเราต้องตื่นเต้นด้วย" "เราจะมีวิธีรับมือกับอาการเหล่านั้นยังไง"
รู้จักกับอาการตื่นเวที
อาการตื่นเวที นั้นอาจเกิดจากความกังวล (anxiety) ทั้งสิ้น เช่น "กังวลว่าจะเล่นออกมาได้ไม่ดี" "คนฟังจะชอบเพลงที่เราเล่นมั๊ย" "คนสำคัญของเราจะมาฟังเพลงที่เราเล่นมั๊ย" เป็นต้น
อาการตื่นเวทีนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะว่ามันเป็นในกลไกการปกป้องตัวเองตามธรรมชาติของมนุษย์ ช่วงหนึ่งจากบทความ "what every musician ought to know about stage fright" by Dr. Noa Kageyama กล่าวว่า "การกังวลคือขั้นตอนทางความคิดที่ซับซ้อนด้านการประเมินเหตุการณ์ ที่จะแตกต่างกันของแต่ล่ะบุคคล เมื่อคิดถึงเหตุการณ์ที่แปลกหรือไม่คุ้นเคย โดยธรรมชาติทำให้บุคคลนั้นรู้สึกไม่ปลอดภัยและเกิดความวุ่นวายใจ"
อาจมีอีกคำถามนึงเกี่ยวกับอาการตื่นเวทีคือ "เราจะทำยังไงให้หายกังวล" ข่าวร้ายคือ "ไม่" แม้นักดนตรีระดับมืออาชีพก็ยังเจอกับอาการนี้ด้วย เพียงแต่นักดนตรีมืออาชีพมีเครื่องมือที่ช่วยควบคุมระดับความตื่นเต้นได้มากกว่า จนอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ไม่เป็นปัญหากับการแสดงของพวกเขาเลย
วิธีการแก้อาการตื่นเวที
วิธีการแก้อาการตื่นเวทีนั้นมีอยู่หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในวัยเด็กเราอาจเคยได้ยินครูพูดเรื่องรายงานหน้าชั้นว่า "เวลาเรารายงานหน้าชั้นแล้วเกิดตื่นเต้นขึ้นมา ให้คิดว่าเพื่อนๆ ในห้องเป็นก้อนหิน" "ซ้อมเยอะๆ ขึ้นไปบนเวทีจะได้เล่นไม่แป็ก" เป็นต้น หรือ หลายๆ คนอาจมีวิธีอื่นๆ เช่น การดื่มชาช่วยลดอาการตื่นเต้น การเล่นโยคะหรือฝึกสมาธิ หรือ กระทั่งการทานกล้วยเพื่อควบคุมความดันเลือด เป็นต้น
แต่ละวิธีนั้นมีความแปลก และน่าสนใจแค่ใหน มาติดตามในตอนต่อไป
Writer: PTNoteGuitar
โฆษณา