Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mission To The Moon
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
5 คำถามที่ควรถามบริษัทก่อนตัดสินใจเข้าทำงาน
เราทุกคนเข้าใจตรงกันว่า “การสัมภาษณ์งาน” เป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่บริษัทจะได้ทำความรู้จักกับผู้สมัคร ว่าพวกเขาเป็นคนอย่างไร มีประสบการณ์การทำงานมากน้อยแค่ไหน มีศักยภาพสำหรับตำแหน่งที่สมัครหรือเปล่า ไปจนถึงเรื่องนิสัยใจคอว่าจะเข้ากับทีมได้ไหม
แต่สิ่งที่หลายคนมักจะมองข้าม คือ การสัมภาษณ์ก็เป็นหนึ่งในโอกาสที่ “พนักงาน” จะได้เป็นฝ่ายทำความรู้จักบริษัท ก่อนจะตัดสินใจเข้าทำงานด้วย
ในฐานะแคนดิเดต เราอาจใช้เวลานึกถึงความรับผิดชอบของตำแหน่งที่สมัครเสียเยอะ อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงไม่แพ้กัน คือ “วัฒนธรรมการทำงาน” เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ในการทำงานของเราในบริษัทนั้นๆ เลย
แม้เราจะโอเคกับตำแหน่งที่ทำแค่ไหน ถ้าวัฒนธรรมการทำงานไม่เหมาะกับเรา สุดท้ายเราก็อาจไม่มีความสุขและเลือกที่จะลาออกได้ (เช่น เราชอบเข้า-ออกงานตรงเวลา แต่บริษัทดันชอบทำงานแบบยืดหยุ่น) งานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาร่วมกับผู้จัดการกว่า 1,000 ตำแหน่งในออสเตรเลียพบว่า วัฒนธรรมการทำงานที่ดีนั้นสำคัญมาก ต่อการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของพนักงาน
ดังนั้น… ไม่ใช่งานที่เลือกเราอย่างเดียว เราก็ต้องเป็นฝ่ายเลือกงานด้วย!
ในบทความนี้เราจะมาดูคำถาม 5 ข้อ พร้อมคำถาม Follow-up อีกมากมาย ที่เว็บไซต์ Harvard Business Review แนะนำว่าพนักงานควรเป็นฝ่ายถามก่อนตัดสินใจเข้าทำงาน จะมีอะไรกันบ้าง เรามาดูกัน
1. #ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานเป็นแบบไหน
เราอยู่กันแบบครอบครัว แบบทีมฟุตบอล หรือแบบเพื่อนร่วมงานเฉยๆ เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้เสียก่อน
1
คำถามนี้จะช่วยให้เราพอเห็นภาพได้ว่า พนักงานที่ทำงานด้วยกันนั้นเชื่อมั่นในทีม และ เชื่อมั่นในกันและกันแค่ไหน ไปจนถึงว่า หัวหน้ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับลูกน้อง คอยส่งเสริมให้เรียนรู้หรือเพียงแต่สั่งการอย่างเดียว
1
การสำรวจของ HBR พบว่า ‘ความไม่เชื่อมั่น’ เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่บอกว่าวัฒนธรรมการทำงานของบริษัทนั้นไม่ดีนัก เพราะในทีมที่ไม่มีความเชื่อมั่น (Trust) จะเห็นได้ว่า คนในทีมไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่กล้าเสี่ยง หวงข้อมูล ไม่แชร์ให้คนอื่นๆ ในทีม ไม่กล้าที่จะออกนอกกรอบ เพราะกลัวความผิดพลาด และไม่ได้มองความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้
1
โดยทีมที่เป็นเช่นนี้มักมีความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากลำดับขั้นชัดเจน (Hierchy) หรือมีการทำงานแบบตัวใครตัวมัน (Silo)
คำถามอื่นๆ ที่ถามต่อได้ (Follow-up Questions)
[ ] มีวิธีการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างคนในทีมอย่างไร
[ ] พนักงานมีอิสระในการจัดการงานที่ได้รับมอบหมายมากน้อยแค่ไหน
[ ] เวลาพนักงานทำผิดพลาด บริษัทหรือหัวหน้ารับมืออย่างไร และส่วนใหญ่พนักงานรับมือแบบไหน
[ ] พนักงานสะดวกใจต่อการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นๆ ในทีมหรือเปล่า
2. #พนักงานมีวิธีการให้feedbackกันและกันอย่างไร
กว่าครึ่งของผู้จัดการในการสำรวจบอกว่า “ความคิดลบๆ” และ “การแสดงออกลบๆ” ทั้งจากหัวหน้าทีมและคนในทีมเอง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมในการทำงานแย่
ดังนั้นเวลาที่มีคนทำตัวเป็นพิษ (Toxic) หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานจะมีการรับมืออย่างไร? ให้ฟีดแบ็กตรงไปตรงมาหรือหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า?
แน่นอนว่าทุกๆ ที่มีปัญหา แม้แต่ในบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรดีสุดๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญไม่ใช่การมองหาบริษัทที่ไม่มีปัญหา แต่มองหาบริษัทที่รับมือกับความขัดแย้งได้ดีต่างหาก
คำถามอื่นๆ ที่ถามต่อได้ (Follow-up Questions)
[ ] มีการให้ฟีดแบ็กบ่อยแค่ไหน เป็นประจำทุกเดือน ทุกไตรมาส หรือปีละครั้ง
[ ] เคยต้องให้ฟีดแบ็กเรื่องยากๆ ไหม ทำอย่างไร และอีกฝ่ายมีการตอบรับอย่างไร
[ ] พนักงานเคยยกประเด็นที่พูดยากและอ่อนไหวมาปรึกษา หรือชวนพูดคุยไหม
[ ] มีการเช็กอินหรืออัปเดตความคืบหน้ากันบ่อยไหม
3. #มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้นำระดับอาวุโสบ้างไหม
การสื่อสารจากผู้บริหารนั้นช่วยพนักงานได้อย่างไร? ในฐานะพนักงาน งานวันต่อวันของเราเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ในภาพใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปเราอาจรู้สึกหลงทางได้ แต่การได้ฟังความคิดจากคนที่มองภาพรวมอย่างผู้บริหารระดับสูง จะช่วยให้พนักงานเข้าใจถึงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และทิศทางของบริษัทได้ชัดเจนมากขึ้น
1
หลายคนไม่มีปัญหาแม้ไม่รู้ว่า ‘เรากำลังทำอะไรอยู่’ แค่ทำหน้าที่ของตัวเองที่ดีที่สุดก็พอ แต่หลายคนก็ชอบมีเป้าหมายในการทำงานและต้องการทิศทางที่ชัดเจน หากเราเป็นหนึ่งในนั้น อาจต้องมองหาบริษัทที่หัวหน้าเป็นผู้นำ สื่อสารอย่างทั่วถึง และเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานจริงๆ
4) #มีวิธีวัดความสำเร็จอย่างไร
ก่อนเข้าทำงาน ทำความเข้าใจก่อนว่าบริษัทมีการตั้งเป้าหมายและมีการวัดผลอย่างไร เพราะเมื่อเราเข้าไปเป็นพนักงานใหม่ เราต้องเข้าใจว่าหน้าที่และความรับผิดชอบของเรา จะไปตอบโจทย์เกณฑ์ในการวัดเหล่านี้ได้อย่างไร
คำถามอื่นๆ ที่ถามต่อได้ (Follow-up Questions)
[ ] หัวหน้ามีความคาดหวังว่าตำแหน่งที่เราจะทำนี้ จะต้องบรรลุเป้าหมายใดบ้าง
[ ] มีการแบ่งงานกันอย่างไร (ในกรณีที่ตำแหน่งเรามีเพื่อนร่วมงานหลายคน)
[ ] มีภาพว่าทีมของเราจะมีการเติบโตทางหน้าที่การงาน (Career Growth) เป็นอย่างไรบ้าง
5) #ทีมได้เรียนรู้อะไรบ้างในโปรเจกต์ล่าสุดที่ทำ
คุ้นๆ ไหมกับคำถาม ‘ในสถานการณ์แบบนี้… คุณจะทำอย่างไร’
ในการสัมภาษณ์ แคนดิเดตมักจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์สมมุติเป็นประจำ เพราะการตอบสนองของเราแสดงออกถึงหลายอย่าง เป็นต้นว่า เรามีแนวคิด (Mindset) อย่างไร เราให้คุณค่าเรื่องใด ไปจนถึงประสิทธิภาพในการตัดสินใจของเรา
แล้วถ้าหากเราอยากเรียนรู้ฝ่ายบริษัทบ้างล่ะ
2
หากคำตอบที่เราได้ก่อนหน้านี้ยังคลุมเครือ และเรายังไม่เห็นภาพชัดเจนนักว่าบริษัทนี้ทำงานอย่างไร ลองขอให้แชร์โปรเจกต์ล่าสุดของทีมที่ทำไปและสิ่งที่ทีมได้เรียนรู้ดู
เช่น ‘แคมเปญล่าสุดน่าสนใจมาก ทางทีมมีอุปสรรคอะไรในการทำงานไหม และข้ามผ่านมันมาได้อย่างไร’ อะไรทำนองนี้เป็นต้น
2
หรือคำถามถึงสถานการณ์ล่าสุด เช่น ‘ในสถานการณ์เงินเฟ้อเช่นนี้ บริษัทมีมาตรการอะไรบ้างไหม’ หรือ ‘บริษัทมีวิธีการรับมืออย่างไรตอนเกิดโควิด-19’ ก็เป็นคำถามที่ถูกสนับสนุนให้ถามตั้งแต่ช่วงโควิด เพราะแคนดิเดตต้องรับรู้ด้วยว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด บริษัทมีการตอบสนองอย่างไร และเราในฐานะพนักงาน มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหนในบริษัทนี้
ในการสัมภาษณ์งานครั้งที่ผ่านๆ มาเราอาจเป็นฝ่ายถูกถามตลอด
หลายครั้งพอเซ็นสัญญาและทำงานไปแล้ว เราถึงทราบว่าบริษัทนี้ไม่ใช่อย่างที่เราคิดไว้
เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ ในการสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป ลองถามกลับบ้างก็ไม่เสียหายนะ เราจะได้เห็นภาพมากขึ้นว่าจะเจอกับอะไร ก่อนจะตกลงเซ็นสัญญา
อย่าลืมว่า… ไม่ใช่งานที่เลือกเราอย่างเดียว เราก็ต้องเป็นฝ่ายเลือกงานด้วย!
อ้างอิง
https://bit.ly/39Fys0S
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
missiontothemoon
ไลฟ์สไตล์
24 บันทึก
25
18
24
25
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย