21 มิ.ย. 2022 เวลา 07:33 • การศึกษา
การเตรียมระบบไฟฟ้าที่บ้านสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger
การเตรียมระบบไฟฟ้าที่บ้านสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger
ในยุคที่ราคาน้ำมันแพงแบบนี้ เทคโนโลยีรถยนต์ EV จึงได้มีการพัฒนาและเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในทุกๆวันครับ ซึ่งในอนาคตรถยนต์ EV ก็จะเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นครับ
รถยนต์ EV ก็คือ รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เรี่ยกสั้นๆว่า EV ซึ่งมาจากคำว่า Electric vehicle ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีส่วนประกอบหลักๆในการขับเคลื่อนคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสและมอเตอร์ไฟฟ้าครับ โดยรถยนต์ EV จะต้องอาศัยการชาร์จเพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ครับ
หากเพื่อนๆที่กำลังจะตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ที่ถูกใจมาใช้งาน เพื่อนๆก็ต้องหาข้อมูล Spec เกี่ยวกับการชาร์จไฟ เพื่อเตรียมระบบไฟฟ้าในบ้านให้รองรับการชาร์จอย่างเหมาะสมและมีความปลอดภัยครับ
หลักการเบื้องต้นในการตรวจสอบ
โดยหลักการเบื้องต้นในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของเพื่อนๆ ว่าเพียงพอสำหรับการชาร์จรถ EV หรือไม่ ก็คือ ให้คิดขนาดการใช้ไฟฟ้าของเครื่องชาร์จรถยนต์ EV รวมกับขนาดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ถ้ารวมกันแล้วน้อยกว่าขนาดเมนเบรกเกอร์และขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน เพื่อนๆก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์การชาร์จได้ครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆรวมการใช้ไฟฟ้าแล้วมากกว่าขนาดเมนเบรกเกอร์และขนาดมิเตอร์ กรณีนี้เพื่อนๆจะต้องขอขยายมิเตอร์หรือขอมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่เฉพาะวงจรเครื่องชาร์จ EV เท่านั้นครับ
1. ในกรณีที่มิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านของเพื่อนๆเพียงพอต่อการชาร์จไฟให้รถยนต์ EV
1.1 หากใช้งานสายชาร์จแบบพกพา
มาตรฐานก็จะกำหนดให้ติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ 1 โพล ขนาด 16A จำนวน 1 ตัวในตู้ไฟฟ้าสำหรับจ่ายไฟให้เต้ารับตัวใหม่ที่จะใช้เสียบเฉพาะสายชาร์จรถ EV เท่านั้นครับ โดยเพื่อนจะต้องเตรียมเบรกเกอร์ป้องกันไฟรั่ว 2 โพล แบบ Type B ที่มีพิกัด In = 30 mA สำหรับเบรกเกอร์กันไฟรั่ว ชนิด RCCB แบบ Type B ให้อ้างอิง มาตรฐาน มอก.2955-2562
มาตรฐานการติดตั้งสายชาร์จแบบพกพา
และเตรียมเต้ารับไฟฟ้าหรือเต้ารับสำหรับงานอุตสาหกรรม ชนิด 3 รู สำหรับเสียบสายชาร์จครับ โดยจะกำหนดให้เต้ารับไฟฟ้าจะต้องได้ มาตรฐาน มอก.166-2549 ที่สามารถทนกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 A
โดยจะเดินสายไฟจากเบรกเกอร์ที่ตู้ไฟฟ้ามายังเบรกเกอร์กันไฟรั่ว Type B และเดินสายต่อมายังเต้ารับครับ สายไฟที่ใช้จะต้องเป็นสายทองแดงที่หุ้มฉนวน ขนาดสายไม่ต่ำกว่า 2.5 ตร.มม ครับ
ตัวอย่างการเดินสายวงจร
ส่วนระบบสายดินการไฟฟ้าแนะนำให้ใช้ระบบ TT โดยจะเดินสายทองแดงหุ้มฉนวนขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม ยังแท่งหลักดิน ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 16 มม. และแท่งหลักดินมีความยาว 2.4 เมตรครับ โดยตอกแท่งหลักดินลงในดินห่างจากแท่งหลักดินของบ้านอย่างน้อย 2 เมตรครับ
ข้อกำหนดการต่อลงดิน แบบ TT
สำหรับสายชาร์จควรเป็นไปตามมาตรฐานมอก. 2911 หรือมาตรฐาน IEC 62752 ครับ ข้อควรระวังในการใช้สายชาร์จ จะไม่แนะนำให้เสียบสายชาร์จเข้ากับเต้ารับเดิมของบ้านนะครับ เนื่องจากระบบไฟฟ้าเดิมจะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับสำหรับการชาร์จรถยนต์ EV ครับ
ข้อกำหนดสายชาร์จแบบพกพา
1.2 ติดตั้งเครื่องชาร์จแบบติดผนัง Wall Charger
จะขึ้นอยู่กับรถยนต์ EV แต่ละรุ่นว่าใช้ระบบชาร์จไฟแบบ 1 เฟสหรือ 3 เฟส ครับ สำหรับเครื่องชาร์จแบบ 1 เฟส มาตรฐานก็จะให้เพิ่มเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีพิกัดตามกระแสไฟฟ้าของเครื่องชาร์จครับ และติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟรั่ว แบบ Type B และเดินสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีขนาดการทนกระแสไฟฟ้าตามพิกัดกระแสไฟฟ้าของเครื่องชาร์จครับ
มาตรฐานการติดตั้งเครื่องชาร์จ
โดยเดินสายวงจรจากตู้ไฟฟ้ามายังเบรกเกอร์กันไฟรั่ว Type B และเดินสายต่อมายัง Wall Charger ครับ
ตัวอย่างการเดินสายวงจร
ส่วนสายกราวด์จะเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตร.มม เดินสายจาก Wall Charger มาแท่งหลักดินครับ โดยแท่งหลักดินของวงจร EV ควรอยู่ห่างจากแท่งหลักดินของบ้านอย่างน้อย 2 เมตร รูปแบบการต่อลงดินเพื่อนๆก็สามารถเลือกรูปแบบการต่อลงดินได้ 2 แบบ คือ แบบ TT และแบบ TNCS ครับ
การต่อลงดิน แบบ TT
การต่อลงดิน แบบ TN-C-S
ถ้าหากเพื่อนๆจะต่อลงดินในรูปแบบ TN-C-S ก็สามารถทำได้ครับ โดยเดินสายกราวด์จากกราวด์บาร์ที่ตู้ไฟฟ้าไปยัง Wall Charger ครับ ซึ่งการเดินสายระบบนี้ค่าความต้านทานของหลักดินจะต้องมีค่าไม่เกินตารางที่ 2 ครับ สำหรับมิเตอร์ที่มากกว่า 30/100A ไม่แนะนำการต่อลงดินแบบ TN-C-S ครับ
Wall Charger ควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก 61851 หรือ มาตรฐาน IEC 61851 ครับ
มาตรฐานเครื่องชาร์จ
บ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะเป็นไฟ 1 เฟส 15(45)A ซึ่งจะไม่เพียงพอกับการติดตั้ง EV Charger เนื่องจาก EV Charger โดยทั่วไปใช้กำลังไฟสูงถึง 32A หากชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านพร้อม ๆ กัน จะทำให้กำลังไฟไม่เพียงพอมีโอกาสที่เกิดการใช้ไฟเกิน (Overload) ซึ่งจะส่งผลให้เมนเบรกเกอร์ทริปและไฟฟ้าภายในบ้านดับลงได้
ในกรณีที่ 2 นี้เพื่อนๆจะต้องขอขยายมิเตอร์หรือขอมิเตอร์ไฟฟ้าใหม่ เพื่อรองรับการชาร์จ EV ครับ
2 การขอขยายมิเตอร์สำหรับการไฟฟ้านครหลวง PEA
2.1 รูปแบบมาตรฐาน 1 มิเตอร์ 1 วงจรเมน
วิธีนี้จะเป็นการขอขยายมิเตอร์ไฟฟ้าเดิม โดยจะต้องมีการปรับปรุงสายเมนและตู้เมนไฟฟ้าใหม่ให้เหมาะสม แล้วเดินสายวงจร EV มายังเบรกเกอร์กันไฟรั่ว Type B และเดินสายต่อมายังเต้ารับไฟฟ้าสำหรับสายชาร์จหรือเครื่อง Wall Charger ครับ พร้อมเดินสายกราวด์และตอกหลักดินสำหรับ EV ใหม่ครับ
รูปแบบมาตรฐาน 1 มิเตอร์ 1 วงจรเมน (กฟน.)
ซึ่งขนาดมิเตอร์ที่แนะนำ
มิเตอร์ 1 เฟส 30(100)A
สามารถรองรับ Wall Charger ขนาด 7.4 KW จำนวน 1 ชุด
มิเตอร์ 3 เฟส 30(100)A
สามารถรองรับ Wall Chager 3 เฟส ขนาด 22 KW จำนวน 1 ตัวครับ
รูปแบบ 1 มิเตอร์ 1 วงจรเมน นี้เพื่อนๆสามารถเลือกอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ได้ ซึ่งจะทำให้อัตราการใช้ไฟในช่วงเวลากลางคืนและวันหยุดมีราคาถูกกว่าอัตราปกติครับ นอกจากนี้แนวทางที่ 1 สามารถรองรับระบบ Solar PV Rooftop และ ระบบ V2H ได้อีกด้วยครับ
2.2 รูปแบบมาตรฐาน 1 มิเตอร์ 2 วงจรเมน
แนวทางนี้สำหรับบ้านที่ปรับปรุงสายเมนไฟฟ้าได้ยาก จะเป็นการขอขยายมิเตอร์ไฟฟ้าเดิมครับ และจะเพิ่มสายเมนวงจรไฟฟ้าที่ 2 สำหรับ EV โดยเฉพาะครับ ซึ่งแนวทางนี้เพื่อนๆสามารถเลือกอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU ได้ และสามารถรองรับ Solar PV Rooftop แต่จะไม่รองรับระบบ V2H ครับ
รูปแบบมาตรฐาน 1 มิเตอร์ 2 วงจรเมน (กฟน.)
โดยการไฟฟ้าก็จะมีข้อกำหนดของแนวทางนี้เพิ่มเติมไว้ดังนี้ครับ
-พิกัดกระแสของเมนเบรกเกอร์ทั้งสองวงจรรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินพิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามขนาดมิเตอร์ครับ ยกตัวอย่างเช่น เดิมเพื่อนๆใช้มิเตอร์ขนาด 15(45)A อยู่ และเพื่อนๆขอขยายมิเตอร์เป็น ขนาด 30(100)A เมนเบรกเกอร์ในบ้าน จะต้องมีขนาด 50A และขนาดเมนเบรกเกอร์ของวงจร EV จะต้องมีขนาดเมนเบรกเกอร์ 50A ครับ พอรวมขนาดเมนเบรกเกอร์ทั้ง 2 วงจรแล้วจะไม่เกิน 100A ตามข้อกำหนดครับ
มาตรฐานการติดตั้งรูปแบบมาตรฐาน 1 มิเตอร์ 2 วงจรเมน (กฟน.)
- ข้อกำหนดข้อต่อไปที่ตู้ไฟฟ้าทั้ง 2 ตู้ จะต้องติดป้ายถาวรกำกับไว้เพื่อระบุตำแหน่งเมนเบรกเกอร์ของอีกวงจรนึงไว้ด้วยครับ
- ข้อกำหนดเพิ่มเติมอีกข้อนึงคือ ห้ามต่อสายข้ามระหว่าง 2 วงจรครับ ก็หมายความว่า ห้ามนำวงจรในบ้านมาใช้ชาร์จ EV และห้ามใช้วงจร EV ไปใช้กับไฟบ้านครับ
รูปแบบมาตรฐาน (กฟภ.)
3 . การขอมิเตอร์ลูกที่สองใหม่สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อนุญาตให้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่สอง สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะได้ โดยการเดินสายเมนที่สองจากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้งโดยตรง โดยมิเตอร์ลูกที่สองไม่จำเป็นต้องมีขนาดและประเภทเดียวกันกับมิเตอร์ไฟฟ้าลูกแรกครับ
ซึ่งขนาดมิเตอร์ที่แนะนำ คือ
มิเตอร์ 1 เฟส 15(45)A สำหรับ Wall Charger ขนาด 7.4 KW จำนวน 1 ตัว
มิเตอร 3 เฟส 15(45)A สำหรับ WallCharger 3 เฟส ขนาด 22 KW จำนวน 1 ตัว
สำหรับเพื่อนๆที่กำลังจะขอมิเตอร์ไฟฟ้าและกำลังมองหาตู้ Consumer พร้อมเบรกเกอร์กันไฟรั่ว แบบ Type B ไปใช้งานกับ Wall Charger ในระบบไฟ 1 เฟสที่บ้าน ผมขอแนะนำตู้ Consumer unit แบรนด์ Eaton ให้กับเพื่อนๆครับ
แนะนำตู้ Consumer unit สำหรับ EV Charger
รายละเอียดสินค้า แบรนด์ EATON ( จากอเมริกา )
ตู้ Consumer Unit ออกแบบตามมาตรฐาน IEC/EN 60670-24 และ IEC/EN62208
-ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูง แข็งแรง ทนทาน ไม่ติดไฟ
-ระดับการป้องกันน้ำและฝุ่น IP65 ตามมาตรฐาน IEC/EN60529
-ป้องกันรังสี UV ตามมาตรฐาน ISO4892-2
-ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
Main Circuit Breaker ตามมาตรฐาน IEC/EN 60898
-MCB 2P 40AT , Ic=10KA
-ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
RCD Breaker ตามมาตรฐาน IEC/EN61008
-RCCB 2P 40A , In = 30mA , Ic=10KA
-ป้องกันไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้ารั่ว ได้ทุกรูปคลื่น AC และ DC
การนำไปใช้งาน
-รองรับเครื่องชาร์จ EV ระบบไฟ 1 เฟส 220-240 VAC ขนาดสูงสุด 7.4 KW
-สามารถใช้รับสายเมนวงจรไฟฟ้าที่สองจากมิเตอร์การไฟฟ้า ( MEA และ PEA )
-สามารถใช้รับสายเมนมิเตอร์ที่สอง สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( PEA )
สนใจสินค้าติดต่อ
โทรศัพท์ : 064-424-1422
Line ID : @thekopengineer
สั่งสินค้าทาง LINE My Shop : https://shop.line.me/@thekopengineer
รับชมคลิปเต็มจาก https://youtu.be/yM-NKQNWNko
1
โฆษณา