Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักวาดเขียน
•
ติดตาม
21 มิ.ย. 2022 เวลา 08:24 • ปรัชญา
“อาจิณกรรม ทำจนชิน”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คำว่า “อาจิณ” อ่านว่า จิน หรือ จินนะ แปลว่า เป็นปรกติ ติดเป็นนิสัย เสมอ ๆ เนือง ๆ ส่วนคำว่า “กรรม” อ่านว่า กำ หรือ กำมะ แปลว่า การ การกระทำ การงาน กิจเช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม
ผู้เขียนขอแปลความ “อาจิณกรรม” ว่า “ทำจนชิน” ซึ่งเป็นไปได้ทั้งกระทำในเชิงบวกและการกระทำในเชิงลบ
ถ้ามองอาจิณกรรมในมุมมองเชิงบวก หรืออาจจะเรียกว่า “กุศลกรรม” ขอยกตัวอย่างการทำความดี หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะ “ทำจนชิน” กล่าวถึงกุศลนั้นบ่อยๆ เนืองๆ หรือภาษาทางพุทธศาสนาจะเรียกว่า “อนุโมทนา” ให้จิตได้ซึมซับสภาพธรรมที่เป็นกุศลนั้นจนรู้สึกอิ่มเต็มและเบิกบาน
การดำเนินชีวิตของผู้คนที่พบเห็นทั่วไปในสังคม บางครั้งเราก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมคนนั้นถึงยังทนอยู่กับคนนี้ ทั้งที่มีปัญหามากมาย ถูกกระทำ หรือถูกเอาเปรียบแบบไม่เหมาะสม บางทีเขาคนนั้นอาจจะกำลังตกอยู่ในสภาพของการ “ทำจนชิน” ก็เป็นไปได้ คือการชินกับคนเดิม ๆ ใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ มานานเสียจนนึกภาพชีวิตที่ไม่มีคนอีกคนไม่ออกว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรเมื่อไม่มีอีกคน ทั้งที่ก็ไม่ได้พอใจหรือมีความสุขกับชีวิตแบบนั้น
ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเด็กที่ติด “ผ้าเน่า” ไม่ยอมให้ใครพรากไปจากตัวเองถึงแม้ว่าผ้าผืนนั้นจะทั้งสกปรก ทั้งเหม็น ทั้งเน่า และน่ารังเกียจเพียงใด ตัวเด็กเองก็รู้ทั้งรู้ว่ามันเหม็นแต่ก็ไม่ยอมแยกจากผ้าเน่าผืนนั้น ทั้งรักทั้งหวงถึงแม้ว่าท้ายที่สุดผ้าผืนนั้นจะสกปรกจนกระทั่งนำพาเชื้อโรคและความเจ็บป่วยมาสู่ตนเองจนต้องยอมจำนนปล่อยผ้าเน่านั้นไป
เมื่อถึงเวลาที่ปล่อยผ้าเน่าออกไปแล้ว ช่วงแรกอาจจะยังรู้สึกเรียกร้องโหยหาแต่ถ้าให้เวลาสักพักจนทำใจยอมรับได้ บางทีอาจจะรู้สึกดีที่ปล่อยหรือทิ้งสิ่งที่ไม่ดีได้สักที จนอยากบอกตัวเองว่า “รู้อย่างนี้ปล่อยไปนานแล้ว”
ชีวิต
ไลฟ์สไตล์
ปัญหาชีวิต
1 บันทึก
1
2
1
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย