21 มิ.ย. 2022 เวลา 11:02 • ธุรกิจ
การวางแผนการเงิน
การวางแผนการเงิน
ขั้นตอนการวางแผนการเงิน
1. ประเมินฐานะการเงิน
สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงของบุคคลไม่ใช่ สินทรัพย์ที่มีอยู่ แต่เป็น “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งสามารถประเมินได้โดยการจัดทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินแล้วนำมาคำนวณ ดังนี้
สินทรัพย์ - หนี้สิน - ความมั่งคั่งสุทธิ
นอกจากนี้ ควรจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมทางการเงินของตนเองอย่างชัดเจนขึ้น เพราะทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการจะถูกแจกแจงออกมา ทำให้เราตระหนักได้ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดสูงเกินไป หรือไม่มีความจำเป็น หรือสามารถตัดออกได้ รวมทั้งทราบว่ารายได้ทางใดน้อยเกินไป หรือสามารถหาทางเพิ่มได้อีก ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
2.ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
ควรมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะพิชิตเป้าหมายให้ชัดเจน รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น หากในขณะนี้เรามีรายได้น้อยหรือภาระทางการเงินมาก ก็อาจเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไป
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญหรือเร่งด่วนก่อน ควรนำ “สิ่งที่จำเป็นต้องมี” มากำหนดเป็นเป้าหมายก่อน “สิ่งที่อยากได้” โดยเป้าหมายที่ดี ต้องเป็นไปตามหลัก SMART คือ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
3.จัดทำแผนการเงิน
ควรมีการจัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น เราจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
โดยต้องจัดสรรระยะเวลาของแผนให้สัมพันธ์กับรายได้และภาระทางการเงิน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ และไม่กดดันตัวเองจนเกินไป​
4.ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมุ่งมั่นและมีวินัย เพราะหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้
5.ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์
ควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่หากไม่ก็ต้องหาสาเหตุว่า เกิดจากตัวเราหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน
แล้วปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดวินัยทางการเงินและมีความมั่นคงทางการเงินอย่างแน่นอน
ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์
​เคล็ดลับเพื่อความมั่นคงทางการเงิน​
ควรวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับ โดยพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมีอะไรบ้าง แล้วกันรายรับส่วนหนึ่งไว้สำหรับเป็นเงินออมและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน หากพบว่ารายรับไม่เพียงพอก็ควรหาทางลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้​
ควรเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน
-มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3 - 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน
-ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
-พิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง
-อาจหาแหล่งรายได้เสริมหรือนำสินทรัพย์ที่มีไปลงทุนให้งอกเงยขึ้น​
หากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องใช้เงินจำนวนมาก ควรวางแผนเก็บเงินเตรียมไว้แต่เนิ่น ๆ ​บริหารเงินออมให้งอกเงย เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจรูปแบบการออม ความเสี่ยง รวมทั้งติดตามข่าวภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย
หากใช้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล ควรใช้อย่างมีวินัย จัดเก็บใบเสร็จเพื่อตรวจสอบและจ่ายเงินให้ตรงตามกำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็น
การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหากมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์ เช่น การกู้ซื้อบ้านหรือกู้เพื่อประกอบอาชีพ อย่างไรก็ตาม ควรประเมินความสามารถในการชำระคืนก่อน โดยภาระการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทในแต่ละเดือนรวมกัน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน
หากมีหนี้สินเกินตัว ก็ต้องพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม หากไม่สามารถชำระคืนได้ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน
#ลอง #การวางแผนการเงิน #ขั้นตอนการวางแผนการเงิน #ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน #จัดทำแผนการเงิน #ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด #ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์
โฆษณา