21 มิ.ย. 2022 เวลา 12:02 • ธุรกิจ
ดราม่าร้านซูชิ Sushiro ญี่ปุ่น vs Daruma ไทย
เครดิตภาพปก: insideretail.asia, ANN News CH (10 Jun 2022), ryoiireview
ช่วงที่ผ่านมาในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2565 ใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับร้านอาหารประเภทซูชิทั้งในญี่ปุ่นและไทย มีกระแสดราม่าจนเป็นข่าวดังทั้งในสองประเทศ ลองมาดูกันว่าเป็นยังไงกันบ้าง ขอแยกเป็นประเทศ และนำมาสรุปเปรียบเทียบตอนท้ายอีกครั้งครับ
  • Sushiro Japan โฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงผู้บริโภค
1
เครดิตภาพ: Akindo Sushiro
...
  • Fast Facts เกี่ยวกับ Sushiro (ซูชิโระ)
• เริ่มกิจการตั้งแต่ ค.ศ. 1984 โดยมีบริษัทแม่ชื่อ Akindo Sushiro
• เป็นร้านซูชิแบบเสิร์ฟบนจานสีต่างๆวางบนสายพานหมุนวนรอบร้าน (เรียกว่า Kaiten) ราคาต่างกันตามสี ในญี่ปุ่นราคาขายเริ่มที่ 100 เยนต่อจาน ในไทยมีแบรนด์นี้มาเปิดได้ไม่กี่ปี ราคาขายเริ่มที่ 40 บาทต่อจาน
• เป็นเชนร้านซูชิบนสายพานอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2012 ใน 3 ด้าน คือ ยอดขาย จำนวนสาขา จำนวนลูกค้า
• ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการด้านบริการในร้าน เช่น ลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้จากแท็บเล็ตซึ่งอยู่ประจำโต๊ะ
ตามความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่น นึกอยากกินซูชิในราคาที่เข้าถึงได้ Value เรื่องคุณภาพสัมพันธ์กับราคาขาย ไม่เน้นบรรยากาศหรูๆ Sushiro ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากครับ
เครดิตภาพ: Nikkei Asia
พอเชนนี้มาเปิดเมืองไทย เกิดกระแสตอบรับดีมากในช่วงเริ่มเปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ เห็นต่อคิวกัน 2-3 ชั่วโมง เพื่อมานั่งกินนะครับ แต่จังหวะมาเปิดอาจไม่ค่อยดี เจอโควิดเข้าไป เลยชะลอเปิดสาขา ตอนนี้เห็นว่ามีเปิดแล้ว 8 สาขา ตามห้างใหญ่ๆทั้งในใจกลางเมืองและย่านชานเมือง สะดวกมากขึ้นไม่ต้องต่อคิวยาวแล้ว
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณ โอซาก้า หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของญี่ปุ่น (JFTC) มีการแถลงข่าวว่า ร้านซูชิโระทำผิดกฎหมายเข้าข่ายการไม่ให้บริการหรือขายสินค้าไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ หรือที่เรียกว่า “โอะโทริโกโกะกุ” ซึ่งเป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้บริโภคหลงเชื่อว่ามีสินค้าราคาถูก แต่เมื่อสั่งซื้อกลับได้รับคำตอบว่าสินค้าหมดแล้ว
JFTC ได้แถลงเตือน Akindo Sushiro ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำรอยอีก ถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับหรือถึงขั้นจำคุก โดยคณะกรรมการอาวุโสคนหนึ่งในหน่วยงานนี้ได้ให้ความเห็นว่า “การโฆษณาชวนเชื่อของผู้ประกอบการร้านซูชิที่มีส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วนมากสุด จะส่งผลกระทบทางลบอย่างมากต่อผู้บริโภคมวลรวม”
ภาพการแถลงของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของญี่ปุ่น (JFTC) ต่อกรณีการโฆษณาชวนเชื่อของ Sushiro เครดิตภาพ: KYODO
ต้นเหตุของเรื่องคือ ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว (2021) Akindo Sushiro ได้จัดโปรอูนิ (ไข่หอยเม่น) และปู (ดูจากรูปน่าจะเป็นปูซูไว) ในราคาถูกจับต้องได้และลงโฆษณาในทีวีและตามเว็บไซท์ต่างๆเพื่อเรียกลูกค้า โดยจัดแคมเปญเป็นเวลา 17 วัน ในช่วงปลายเดือน พ.ย. 2021 คือ
2
• Nigiri Sushi Set (ซูชิหน้าปู 4 คำ) ต่อจาน ในราคา 780 เยน รวมภาษีแล้วเป็น 858 เยน (6.4 USD)
• Uni Sushi 1 คำ ในราคา 100 เยน รวมภาษีแล้วเป็น 110 เยน
1
...
แต่ปรากฏว่า 90% ของร้านในเครือเชนดังนี้ จากทั้งหมดกว่า 600 สาขา ไม่มีสินค้าตามที่แจ้งในโฆษณา ซึ่งไม่ว่าลูกค้าจะไปวันไหนก็ไม่มีโอกาสได้ใช้โปรนี้แม้แต่วันเดียว ทำให้ JFTC ต้องเข้าไปตรวจสอบและเป็นที่มาของการแถลงข่าวดังกล่าว
ภาพโฆษณาต้นตอปัญหา เครดิตภาพ: ANN News CH (10 Jun 2022)
ภาพโฆษณาต้นตอปัญหา เครดิตภาพ: Akindo Sushi
...
ถึงแม้ว่าในโฆษณาของแบรนด์จะมีระบุเป็นดอกจัน (เล็กๆ) เงื่อนไขว่า สินค้าอาจหมดตามสถานการณ์ของอุปสงค์และอุปทานของตลาด แต่ JFTC ก็ยืนยันว่าโฆษณาดังกล่าวมีภาพเมนูที่โดดเด่นสะดุดตาอย่างมากในการเชื้อเชิญคนมากินที่ร้านมากกว่าจะกังวลเรื่องของขาด
สถานีโทรทัศน์ TBS ถึงกับส่งผู้สื่อข่าวไปสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง ที่เริ่มด้วยการดูโฆษณาโปรอูนิราคา 100 เยน เมื่อเวลา 10.30 น. ก็รีบออกไปรอก่อนร้านเปิด แต่พอนั่งและกดสั่งอาหารกลับไม่มีโปร ก็เลยต้องสั่งแซลมอนกับอย่างอื่นแทน พอถามพนักงานก็ได้รับแจ้งว่าของหมด... เรียกว่าทำวงการซูชิสายพานเสื่อมเสีย ผู้คนหมดศรัทธากันหมด
เช่นเดียวกับกระแสบนโซเชียลที่รู้สึกผิดหวังกับแบรนด์นี้ ตัวอย่างเช่น ไม่น่าทำแบบนี้เลย ขายดีอยู่แล้วทำไมต้องหลอกลวงลูกค้า ต่อไปจะไม่ไปกินอีกแล้ว
  • Daruma Sushi กับเวาเชอร์ทิพย์ เทลูกค้า
1
ร้าน Daruma Sushi ที่มีโลโก้เป็นตุ๊กตาเครื่องรางมงคลของคนญี่ปุ่น ในชั่วโมงนี้ผมคงไม่ต้องเล่าความเป็นมาของร้านนี้มากแล้ว เพราะทุกคนที่อ่านหรือติดตามข่าวคงได้รู้จักร้านนี้จากแหล่งข่าวไม่มากก็น้อยครับ
App: Daruma Sushi เครดิต: Google Play
...
  • สรุปรวบยอด
• ร้านนี้เปิดมาได้ซักพักแล้ว ประมาณ 5-6 ปี เน้นการตลาดแบบ Price leadership ทำบุฟเฟ่ต์แซลมอน คล้ายๆกับร้านอาหารญี่ปุ่นหลายๆร้านในช่วงเดียวกัน และมักจะนิยมทำโปรราคาถูกกว่าเจ้าอื่นๆ ถ้าผมจำไม่ผิดจะมีช่วงนึงขายอยู่ที่ต่อหัว 250 บาท ไม่รวมเครื่องดื่ม สั่งแซลมอนซาชิมิได้ไม่อั้น
...
• มีสาขาอยู่ทั้งบนห้าง คอมมูนิตี้มอลล์ ตามซอกซอยที่เป็นแหล่งชุมชน ทั้งแบบที่เจ้าของดูแลบริหารเอง หรือ สาขาแฟรนไชส์ที่ได้รับเป็นเงินปันผลตามผลประกอบการ
...
• ร้านนี้ถือว่าเติบโต ทำการสร้างแบรนด์ได้ดีมาเรื่อยๆ เห็นได้จากการมีรีวิวจำนวนมากตามสื่อโซเชียล รายการทีวีมาทำรายการ
...
• เมื่อไม่นานนี้ทางแบรนด์มีออกโปร บุฟเฟ่ต์แซลมอน 199 บาท (ไม่รวม VAT) ต้องซื้อผ่าน App โดยมีเงื่อนไขต้องซื้ออย่างน้อย 5 ใบ มีอายุ 6 เดือน รวมถึงได้มีการบอกไปยังสาขาที่เป็นผู้ลงทุนแฟรนไชส์ให้ร่วมโปรนี้ด้วย
...
• และแล้วเรื่องก็แดงขึ้น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เจ้าของร้านดีดตัวเองออกจากกลุ่มไลน์ของผู้ลงทุนแฟรนไชส์ และทุกช่องทางไม่สามารถติดต่อได้เลย ทำให้กลุ่มผู้ลงทุนแฟรนไชส์ต้องตัดสินใจปิดร้าน รอความแน่นอนจากเจ้าของ
3
...
• จากข้อมูลของผู้ลงทุนแฟรนไชส์ หลังจากร่วมธุรกิจกับแบรนด์นี้แล้ว สังเกตว่าบริษัทไม่มีโครงสร้างที่ดูมืออาชีพ ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านบัญชี ด้านบุคคล ด้านการตลาด ล้วนต้องติดต่อและผ่านการตัดสินใจของเจ้าของเพียงคนเดียว
2
...
• พีคขึ้นไปอีก คือ บริษัทไม่มีที่ตั้งออฟฟิศเป็นตัวเป็นตน ไม่มีสัญญาจ้างพนักงาน
2
...
• จนถึงวันนี้ก็ยังติดต่อเจ้าของไม่ได้ คือชัดเจนแล้วว่าหนีไปต่างประเทศ เทลูกค้ากับหุ้นส่วนที่ไทย โดยแบ่งผู้เสียหายออกเป็น ลูกค้าที่ซื้อเวาเซอร์ผ่าน App, ผู้ลงทุนแฟรนไชส์, พนักงาน, ซับพลายเออร์ (ค้างค่าปลากว่า 30 ล้าน), เจ้าของสถานที่ที่ตั้งสาขา (ค้างค่าเช่า) รวมมูลค่าเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาท
3
...
ดูแล้วเรื่องไม่น่าจะจบลงได้ง่ายๆแล้ว ดูจากเจตนาของเจ้าของแบรนด์นี้ ต้องรอติดตามตอนต่อไปครับ
  • เปรียบเทียบดราม่าของ 2 แบรนด์
  • Sushiro ญี่ปุ่น
  • ปัญหาคือการโฆษณาที่มุ่งเน้นเชิญชวนผู้บริโภคให้เข้าร้านมากจนเกินไป (เพื่อเป็นการสร้าง Traffic และ ยอดขายในช่วงเวลาสั้นๆ) โดยไม่ได้คำนึงอย่างรอบคอบถึงฝั่ง Supply ของวัตถุดิบ 2 ตัว (ไข่หอยเม่น กับ ปูซูไว) ผู้เขียนมองว่าซัพพลายวัตถุดิบสามารถรับรู้และพยากรณ์ล่วงหน้าได้ตามประสบการณ์ของร้าน (ในช่วงเวลานี้ของปี)
1
  • บทเรียนจากเหตุการณ์นี้ คือผลเสียที่เกิดตามมากับแบรนด์ ลูกค้าประจำเกิดภาพจำที่ไม่ดีขึ้นแล้วในจิตใจต่อแบรนด์ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการเยียวยาและเห็นแบรนด์กู้สถานการณ์กลับมา
1
...
  • Daruma Sushi ไทย
  • การออกเวาเชอร์หรือบัตรให้ลูกค้าซื้อล่วงหน้า ในราคาที่ต่ำมากเป็นพิเศษ ต้องทำในจำนวนที่จำกัดและมีระยะการขายที่จำกัดชัดเจน ถือว่าเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ลงทุนก่อน (เงินต่อเงิน) จัดว่าเป็นการทำโปรโมชั่นวิธีหนึ่งของธุรกิจด้านบริการ
1
  • เงินอนาคตที่ได้รับมาจากการขายเวาเซอร์เป็นสิ่งจริงรับรู้ได้ แต่สิ่งที่เกิดตามมาซึ่งธุรกิจไม่สามารถคาดการณ์และควบคุมเองได้ นั่นคือ ต้นทุนวัตถุดิบ อย่างเคสนี้เลยคือ ต้นทุนปลาแซลมอน ถีบตัวขึ้นเป็นเท่าตัว จากสถานการณ์เรื่องสงคราม จะมาปรับราคาขึ้นก็ไม่ทันแล้วครับ
1
  • ข้อคิดจากเรื่องนี้ คือ ถ้าเห็นการขายเวาเซอร์ในราคาที่ต่ำมากผิดสังเกต (เปรียบเทียบกับร้านประเภทเดียวกันในตลาด) และดูแล้วว่าไม่มีโควตาจำกัด ขายเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด มันไม่ใช่การทำโปรโมชั่นแล้ว พึงคิดไว้ว่าเป็นการเอาเงินเราไปใช้แบบไม่มีดอกเบี้ยและมีความเป็นไปได้สูงว่าจะไม่ได้รับสินค้าและบริการตามที่เราได้ซื้อไว้
3
...
  • ทั้งสองกรณีมีสิ่งที่เหมือนกันคือ การใช้ราคาต่ำมาเป็นจุดดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหา
เรียบเรียงและสรุปโดย Right SaRa
21st June 2022
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา