25 มิ.ย. 2022 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
📸 ถ่ายรูปอย่างไรให้ปลอดภัยภายใต้กฎหมาย PDPA
🔐เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมาย PDPA เกิดกระแสฮือฮาเกี่ยวกับการถ่ายรูปบุคคลอื่น อาจจะมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ว่าไม่สามารถถ่ายรูปคนอื่นได้เลยทุกกรณี
แล้วความจริงตามหลักกฎหมายเป็นอย่างไรนั้นเราจะมาแถลงไข
💡 PDPA คืออะไร?
เรามารู้จักเจ้ากฎหมาย PDPA กันก่อนครับ PDPA คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่จะช่วยคุ้มครองสิทธิ์ในข้อมูลส่วนบุคคล จากการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล, รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนำข้อมูลไปใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน
หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันก็จะเป็นไปตามเจตนาของการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
1
⚖️ สำหรับใครที่จงใจละเมิดหรือทำผิดโดยเจตนาที่ไม่ดีจะได้รับโทษทั้ง 3 ประเภท ดังนี้
  • โทษทางอาญา : จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • โทษทางแพ่ง : ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทน
  • โทษทางปกครอง : ปรับตั้งแต่ 1 ล้านบาท จนไปถึง 5 ล้านบาทเป็นโทษสูงสุด ตามความรุนแรงของการกระทำ
🎞 ถ่ายรูป และวีดีโอ แบบไหนที่ทำได้
การถ่ารูป หรือวีดีโอผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ขึ้นอยู่กับเจตนา, ความสมัครใจ และตัวบทกฎหมาย โดยการถ่ายจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การถ่ายรูป หรือวีดีโอจากอุปกรณ์ที่เราถ่ายเอง กับ การบันทึกรูป หรือวีดีโอจากอุปกรณ์กล้องวงจรปิด แล้วทั้ง 2 รูปแบบนี้ สิ่งไหนทำได้มาดูกันครับ
📷 การถ่ายรูป หรือวีดีโอ จากอุปกรณ์ที่เราถ่ายเอง
  • ถ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว เช่น การถ่ายเพื่อนำไปโพสต์โซเชียลมีเดีย ไม่ได้นำไปใช้เชิงพาณิชย์
  • ได้รับการยินยอมจากผู้ที่อยู่ในรูป > การได้รับการยินยอมทั้งการถ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวและการถ่ายในเชิงพาณิชย์ เช่น การขอผู้อื่นถ่ายรูป, การรับจ้างในงานถ่ายรูปต่าง ๆ เป็นต้น
  • ผู้ที่ถูกถ่ายไม่ได้รับความเสียหาย > การถ่ายรูปหรือวีดีโอผู้อื่นลงในพื้นที่โซเชียลมีเดีย หรือพื้นที่ต่าง ๆ ตัวผู้ถูกถ่ายต้องไม่ได้รับความเสียหายในทุกด้าน
  • ถ่ายรูป หรือวีดีโอผู้กระทำผิดกฎหมาย > สามารถถ่ายได้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง แต่ไม่สามารถนำไปเผยแพร่ให้แก่บุคคลที่ 3 ได้
  • ถ่ายรูป หรือวีดีโอพนักงานเพื่อไว้ใช้ร้องเรียน > สามารถถ่ายได้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง แต่ไม่สามารถนำไปเผยแพร่ให้แก่บุคคลที่ 3 ได้
  • การถ่ายรูป หรือวีดีโอการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ > เพื่อเป็นหลักฐานหากเกิดการทุจริตในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่สามารถนำไปเผยแพร่ให้แก่บุคคลที่ 3 ได้
1
  • งานสื่อมวลชน > จะได้รับการยกเว้นในกฎหมาย PDPA แต่สื่อมวลชนต้องทำงานอย่างมีจรรยาบรรณ และเป็นไปตามจริยธรรมของวิชาชีพ ใช้ข้อมูล, รูปภาพ และวีดีโอเพื่อประโยชน์ต่อสังคมเท่านั้น อีกทั้งยังคงต้องให้มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามมาตรฐานอีกด้วย
📹 การบันทึกรูป หรือวีดีโอ จากอุปกรณ์กล้องวงจรปิด
  • สามารถติดกล้องวงจรปิดไว้ที่ร้านค้า ห้าง ภาคธุรกิจได้ โดยไม่ต้องขอความยินยอม โดยการใช้ชอบด้วยกฎหมายในการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัย
  • ติดกล้องวงจรปิดไว้ที่ร้านค้า ห้าง ภาคธุรกิจ ต้องติดข้อความเตือนว่าบริเวณนั้นมีการบันทึกภาพด้วยกล้องวงจรปิด ติดเฉพาะจุดที่สามารถติดได้
  • ติดกล้องวงจรปิดไว้ที่ร้านค้า ห้าง ภาคธุรกิจ ต้องติดประกาศคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการใช้กล้องวงจรปิด ไม่ว่าจะเป็นฉบับเต็มหรือ QR Code ให้เข้าไปดู ติดเฉพาะจุดที่สามารถติดได้
  • ติดกล้องวงจรปิดบริเวณบ้านพักอาศัย ไม่ต้องติดป้ายแจ้งเตือน โดยการใช้ชอบด้วยกฎหมายในการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยของเจ้าของบ้าน
  • ติดกล้องวงจรปิดของรถยนต์ส่วนตัวไม่ต้องติดป้ายแจ้งเตือน โดยการใช้ชอบด้วยกฎหมายในการป้องกันอาชญากรรมและความปลอดภัยของเจ้าของรถ
🛒 สำหรับใครที่ต้องการติดกล้องวงจรปิดในอาคารและรถยนต์ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะการติดกล้องวงจรปิดทั้งในรถยนต์ และอาคารเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากสำหรับตัวกฎหมาย PDPA
และถ้าท่านสนใจซื้อกล้องวงจรปิดสามารถหาซื้อได้จากตัวแทนของ SiS Distribution เรามีกล้องวงจรปิดที่คุณภาพสูง ครอบคลุมทุกการใช้งาน ไว้คอยให้บริการ
🚩สมัครตัวแทนจำหน่าย
โทร. 02-020-3003
โฆษณา