23 มิ.ย. 2022 เวลา 01:21 • ธุรกิจ
สถานการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในตอนนี้ อาจนำมาสู่ วิกฤติการเงินในภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง เงินเยนจะหมดความน่าเชื่อถือ เงินเฟ้อ ขาดดุลการค้า ค่าครองชีพสูง และคนจนเต็มประเทศ !
ปัจจุบัน ธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือ BOJ ยังคงอัตราดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องหรือ QE รวมถึงทำนโยบายคุมผลตอบแทนพันธบัตรในระดับต่ำหรือ Yield Curve Control ท่ามกลาม การขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงของธนาคารกลางสหรัฐ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างของดอกเบี้ย (พันธบัตร 10 ปี สหรัฐอยู่ที่ 3% ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.2%) เกิดเงินไหลออก และทำให้ค่าเงินเยนอ่อนที่สุดในรอบ 24 ปี ที่ประมาณ 136 เยนต่อดอลลาร์
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า การที่ญี่ปุ่นมีนโยบายการเงินที่ กำหนดอัตราดอกเบี้ย หรือต้นทุนทางการเงินในระดับต่ำ (-0.1%) เป็นเพราะญี่ปุ่น เผชิญกับปัญหาเงินฝืดมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าทศวรรษ คนญี่ปุ่นเข็ดกับวิกฤติเศรษฐกิจในอดีต ทำให้นิยมถือเงินสดมากกว่าเอามาจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนมากนัก จึงทำให้ไม่ว่ารัฐบาลจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจไปมากเท่าไหร่ก็ไม่สามารถสร้างการเติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้
จากการที่นักลงทุน ย้ายเงินลงทุนจากพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้ผลตอบแทนเพียง 0.2% ไปยังสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จุดสำคัญของปัญหานี้ คือ เมื่อนักลงทุน เทขาย พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น จะทำให้ Yield ของพันธบัตรสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตัวนโยบายการเงินของญี่ปุ่นคือคุมผลตอบแทนพันธบัตรในระดับต่ำที่ 0.25%
ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องเข้าไปรับซื้อพันธบัตรจากนักลงทุน จำนวน 10.9 ล้านล้านเยน (81 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ จนทำให้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJกลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรัฐบาล ที่ถือครองพันธบัตรมากถึง 43% ของจำนวนพันธบัตรทั้งหมด
ในช่วงแรกญี่ปุ่นอาจได้อานิสงส์จากค่าเงินที่อ่อนค่าทำให้ส่งออกได้มากขึ้น แต่ถ้าใช้มาตรการ Yield Curve Control ไปนานๆจนคนเริ่มหมดความเชื่อถือจากเงินเยน จะทำให้ค่าครองชีพสูงเกินกว่าคนญี่ปุ่นจะรับไหว ประเทศจะมีการขาดดุลทางการค้า และเมื่อผนวกกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ จึงมองว่าความเสี่ยงที่น่าจับตามองอย่างมาก สำหรับการรับมือ ของประเทศญี่ปุ่น
โฆษณา