Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LH Bank
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2022 เวลา 11:36 • ไลฟ์สไตล์
3 ขั้นตอนการรีวิว เราควรทำประกันเพิ่มเท่าไหร่
2
เชื่อว่าทุกคนน่าจะเข้าใจและเห็นความสำคัญของการทำประกันหรือการโอนย้ายความเสี่ยงกันมากขึ้น พอมาถึงตรงนี้ก็มักจะเกิดคำถามที่ว่าแล้วเราควรทำประกันเพิ่มเท่าไหร่ เพราะสวัสดิการต่าง ๆ ก็พอมีอยู่บ้าง ไม่จะว่าจากที่ทำงาน ประกันสังคมหรือประกันสุขภาพที่ทำเพิ่มเติมเองอยู่แล้ว
1
ด้วยเหตุนี้การจะทำประกันเพิ่มสักครั้งหนึ่ง อาจเป็นเรื่องที่ต้องคิดเยอะจนปวดหัว หลายคนคงไม่แน่ใจว่าที่มีอยู่นั้นเพียงพอหรือเปล่า จะให้เชื่อคนขายประกัน 100% ก็กลัวว่าจะต้องซื้อมากเกินความจำเป็น
บทความนี้จะพามาดูว่า การจะทำประกันเพิ่มเติมนั้นจะต้องพิจารณาอะไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
✓
ประเมินตนเองว่าเราต้องการโอนย้ายความเสี่ยงอะไรบ้างและต้องการเท่าไหร่
ในแต่ละคนจะมีความจำเป็นและต้องการในการทำประกันที่แตกต่างกัน อันดับแรกสุด เราต้องมองหาก่อนว่าเรามีเป้าหมายทางการเงินอะไร มีภาระอะไรที่ต้องคุ้มครอง มีความเสี่ยงอะไรที่น่ากังวลและอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้อย่างเช่น
หากเราเป็นเสาหลักของครอบครัวเป็นคนหารายได้หลัก คนกลุ่มนี้ก็ควรมี “ประกันชีวิต” อย่างน้อย 5 เท่าของรายได้ต่อปี เผื่อในยามที่เสาหลักจากไป คนในครอบครัวยังมีเงินจุนเจือต่อไปอีก 5 ปี เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถตั้งหลักปรับตัวได้ ทั้งนี้อาจจะมากกว่า 5 ปีได้ ตามความต้องการของตัวเราเอง
1
ส่วนประกันที่ทุกคนควรมีเลยนั่นคือ “ประกันสุขภาพ” คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเราสามารถเดินเข้าไปที่โรงพยาบาลที่เราใช้บริการเป็นประจำ เพื่อสอบถามได้เลยว่าค่าห้องประมาณเท่าไหร่ ถ้าหากเราเกิดต้องนอนโรงพยาบาลขึ้นมาจริง ๆ มีห้องกี่แบบ เตียงกี่ประเภท ให้เราเลือกได้บ้าง
ซึ่งในส่วนนี้ควรมีการประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าห้องว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ เผื่อในกรณีที่ต้องใช้งานจริงจะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น
1
✓
สำรวจสวัสดิการ ณ ปัจจุบันว่ามีเท่าไหร่บ้าง
หลังจากที่เราประเมินความต้องการของเราเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะต้องสำรวจตัวเราว่าเรามีสวัสดิการอยู่เท่าไหร่ หลายคนที่ทำประกันอาจจะไม่ได้สำรวจหรือตรวจสอบก่อนเลยว่าเคยทำไปกี่ที่แล้ว มีกี่ฉบับ และทำไปเท่าไหร่บ้าง แถมบางคนยังมีสวัสดิการจากที่ทำงานอีกด้วย พอเวลาต้องใช้งานจริง ๆ ก็เลยเกิดปัญหาไม่รู้ว่าเราสามารถเบิกตรงไหนยังไงได้บ้าง ทำให้เราสูญเสียโอกาสของตัวเราไป
ขั้นตอนการสำรวจเราจะต้องดูว่า ถ้ามีเหตุการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา ไม่ว่าจะเป็น รถชน หกล้ม ปัญหาสุขภาพ ต่าง ๆ เราสามารถเบิกกับสวัสดิการตรงไหนได้บ้าง ควรจดแยกออกมาเป็นรายการว่าประกันแต่ละแบบที่เรามีนั้นมีอย่างละเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่ามีส่วนไหนเยอะส่วนไหนน้อย และเมื่อต้องใช้บริการจะได้รู้ความสามารถในการจ่ายหรือการเรียกระดับบริการที่เหมาะกับตัวเองได้ถูกต้อง
1
✓
เติมเต็มส่วนที่ขาดและตัดส่วนที่เกิน
เมื่อเรารู้แล้วว่าเราต้องการอะไรและเรามีเท่าไหร่ ก็ให้ทำประกันในส่วนที่ขาด โดยการจับคู่แผนประกันที่เหมาะกับความต้องการทางการเงินที่เราได้วางไว้ วางแผนทำประกันนั้นควรมองไปอนาคตข้างหน้าด้วยว่า ไลฟ์สไตล์เราจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ต้องอย่าลืมประเมินด้วยว่าเราจะยังสามารถจ่ายเบี้ยประกันไหวหรือเปล่าด้วยเสมอ
1
สำหรับประกันสุขภาพเองก็ควรวางแผนเผื่อในอนาคตด้วยทั้งการเติบโตของค่าใช้จ่าย เพราะหากเกิดเราตรวจเจอโรคร้ายสักโรคหนึ่ง การทำประกันเพิ่มเติมในอนาคตก็จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที ดังนั้น ควรมีค่ารักษาพยาบาล และประกันโรคร้ายแรงที่เผื่อไว้สำหรับอนาคต ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดีด้วยเช่นกัน
สำหรับใครที่มีประกันบางประเภทเยอะจนเกินไป เช่น อาจจะมีประกันอัคคีภัยที่มีความคุ้มเกินมูลค่าสินทรัพย์อยู่ ก็อาจจะพิจารณาปรับลดได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วประกันประเภทนี้จะจ่ายตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น แปลว่ายังไงก็จ่ายไม่เกินมูลค่าสินทรัพย์อย่างแน่นอน การทำประกันเกินมูลค่าสินทรัพย์ก็ไม่ต่างจากเบี้ยจ่ายทิ้งไปเรื่อย ๆ การตัดความคุ้มครองออกบางส่วนก็ช่วยทำให้เรามีสภาพคล่องเหลือเพิ่มเติมได้
สุดท้าย ทุกคนต้องอย่าลืมหมั่นตรวจสุขภาพการเงินเป็นประจำ เพื่อให้เหมาะกับช่วงเวลานั้น ๆ รวมถึงสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตและเป้าหมายทางการเงิน เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ความต้องการทางการเงิน ความเสี่ยงต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งปัจจัยโดยรอบก็มักเปลี่ยนไปนั่นเอง
ประกัน
ความเสี่ยง
15 บันทึก
2
3
15
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย