Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
stock2morrow
•
ติดตาม
23 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จัก Shrinkflation สินค้าราคาเท่าเดิม แต่ปริมาณลดลง
ในสภาวะเงินเฟ้อแพง จะขึ้นราคาก็ไม่ได้ เพราะผู้บริโภคต่างก็เงินตึงมือกันหมด
เมื่อปรับราคาเพิ่มไม่ได้ ถ้างั้นเราลอง "ลดปริมาณ" ลงดูมั้ย แต่ขายราคาเท่าเดิม
ซึ่งการขายราคาเท่าเดิม แต่ลดปริมาณลง ผู้บริโภคบางคนอาจจะสังเกตเห็น แต่บางคนก็อาจจะไม่ได้สังเกตเห็น เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Shrinkflation
... พูดง่ายๆ คือ Shrinkflation คือเทคนิคการขึ้นราคาแบบเนียนๆ ในราคาเดิมแต่เป็นการลดปริมาณลง
คำว่า Shrinkflation มาจาก 2 คำ คือ Shrink ที่แปลว่าหดตัว และ Inflation ที่ความหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ เงินเฟ้อ
ทำให้คำว่า Shrinkflation หมายถึงการลดขนาดผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ผลิต ท่ามกลางสภาวะที่บริษัทต่างๆ ต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นและถึงจุดต้องส่งต่อต้นทุนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภค
คำนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกจากนักเศรษฐศาสตร์ผู้หญิงที่ชื่อว่า Pippa Malmgren ที่มักจะบอกว่าผู้บริโภคเจอกับปรากฏกการณ์ลักษณะนี้มาต้ังนานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้สังเกตเห็น
... โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารและเครื่องดื่ม
ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริโภคแทบจะไม่ได้สังเกตเลย ว่าด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม แต่เรากลับได้ของน้อยลง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เราอาจจะสงสัยว่า ...
1. ปัจจัยอะไรบ้างที่ก่อให้เกิด Shrinkflation
2. ทำไมผู้ผลิตถึงเลือกที่จะลดปริมาณ แทนการขึ้นราคา
มาที่คำถามแรกก่อน คือ ปัจจัยอะไรบ้างที่ก่อให้เกิด Shrinkflation
คำตอบคือ ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัย นั้นคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการแข่งขันกันสูง
โดยเฉฑาะอย่างยิ่งเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูง อย่างในปัจจุบันราคาน้ำมันพุ่งสูง ทำให้ต้นทุนต่างๆพุ่งสูงตามไปด้วย
ส่วนคำถามที่สอง คือ ทำไมผู้ผลิตถึงเลือกที่จะลดปริมาณ แทนการขึ้นราคา
นั้นเป็นเพราะว่า การประกาศขึ้นราคาจะส่งผลกระทบกับความรู้สึกของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคมองหาตัวเลือกอื่นๆในราคาที่ถูกกว่า
ในขณะที่การลดปริมาณลง ผู้บริโภคอาจจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก หรือแทบจะไม่รู้เลย
ดังนั้นผู้บริโภคจึงรู้สึกเฉยๆกับการลดปริมาณ แต่ราคาเท่าเดิมโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย