25 มิ.ย. 2022 เวลา 08:49 • สุขภาพ
🩸📈ค่าความดันโลหิตหรือค่าความดันโลหิต (Blood Pressure) เป็นหนึ่งในปัจจัยสามารถบ่งบอกได้ถึงความพร้อมของสุขภาพไปจนถึงโรคที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเครียด เป็นต้น
ทุกครั้งที่เราไปโรงพยาบาล พนักงานหรือพยาบาลจะต้องวัดความดันโลหิตของเราก่อนเข้าพบแพทย์เสมอ ดังนั้น ความดันโลหิตข้อมูลเกณฑ์พื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างมาก
เมื่อวัดความดันโลหิตเสร็จ บางครั้งพยาบาลอาจบอกกับเราว่าวันนี้ความดันต่ำหรือความดันสูงเกินไป ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยอาจสงสัยว่าในทางการแพทย์มีเกณฑ์ในการอ่านค่านี้อย่างไรบ้าง
ในโพสต์นี้เพจพบแพทย์ #POBPAD ก็ได้เตรียมวิธีอ่านค่าความดันโลหิตอย่างถูกต้องมาให้ผู้ติดตามได้ดูกัน
---------------------------------------
ค่าความดันโลหิตมีด้วยกัน 2 ค่า (บนและล่าง หรือ ซ้ายและขวา) แต่ละค่าก็บ่งบอกถึงสัญญาณสุขภาพที่ต่างกัน โดยมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) ดังนี้
❤️ตัวเลขบน เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure: SBP) เป็นความดันสูงสุดในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัวและสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
❤️ตัวเลขล่าง เรียกว่า ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure: DBP) เป็นความดันต่ำสุดในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัวระหว่างพักจากการสูบฉีดโลหิต
หรืออาจทำความเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นความดันในหลอดเลือดของเราในช่วงที่หัวใจบีบตัวและคลายตัวนั่นเอง
🤔รู้ได้อย่างไรว่าความดันสูง ต่ำ หรือปกติ
โดยทั่วไปความดันโลหิตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกาย อายุ อาหาร การเคลื่อนไหวขณะก่อนหน้าและขณะวัด แต่ในขณะพักหรือขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ค่าตัวเลขบนไม่เกินกว่า 120 และมีค่าตัวเลขล่างไม่เกินกว่า 80 หากตัวใดตัวหนึ่งเกินอาจบอกได้ว่าร่างกายอยู่ในช่วงที่มีความดันโลหิตสูง แต่แพทย์จะเน้นให้ดูค่าตัวเลขบนมากกว่า
โดยต่อไปนี้จะเป็นเกณฑ์ในการประเมินระดับความดันโลหิต
🩸📉ภาวะความดันโลหิตต่ำ (ต่ำกว่า 90/60 mmHg)
ภาวะนี้อาจทำให้วิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือเกิดภาวะช็อกได้ แต่บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติ ซึ่งในทางการแพทย์จะยังจัดว่าสุขภาพเป็นปกติดี
🩸📈ภาวะความดันโลหิตสูงแบ่งได้ 4 ระดับ
😐ภาวะความดันโลหิตสูงระยะเริ่มต้น (อยู่ระหว่าง 120-139 / 80-89 mmHg) ควรปรับวิธีใช้ชีวิตเพื่อป้องกันอาการรุนแรงขึ้น
🙁ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 1 (อยู่ระว่าง 140-159 / 90-99 mmHg) จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมและอาจต้องใช้ยาปรับค่าความดันโลหิต
😫ภาวะความดันโลหิตสูงระดับ 2 (อยู่ระหว่าง 160-179 / 100-109 mmHg) จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมกับการควบคุมพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง
😖ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต (อยู่ในระดับ 180/110 ) เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากพบอาการผิดปกติ ต้องไปพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้ หากวัดความดันโลหิตเองที่บ้านแล้วพบค่าความดันที่สูงกว่าปกติ แต่ไม่มีอาการ ให้นั่งพัก 5 นาทีแล้ววัดใหม่อีกครั้ง
⚠สำหรับคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป คนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน และคนที่มีความดันโลหิตระหว่าง 130-139/85-89 mmHg ควรตรวจวัดความดันโลหิต 1 ครั้งเป็นประจำทุกปี
ส่วนคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-39 ปีที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 130/85 mmHg และไม่มีโรคหรือความเสี่ยง ควรได้รับการตรวจความดันโลหิตทุก 3-5 ปี
💙ข้อมูลเกี่ยวกับการวัดและการอ่านค่าความดันโลหิตยังมีรายละเอียดที่ควรรู้อีกมาก อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความเต็มที่ลิ้งก์นี้ https://bit.ly/32aFAOL
บทความ “ความดันสูง” https://bit.ly/3mcbWjb
บทความ “ความดันต่ำ” https://bit.ly/3dY84hl
📌ข้อมูลดี ๆ แบบนี้ อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ และแท็กเพื่อนมาอ่านกันนะ
📌อ่านบทความสุขภาพและสอบถามปัญหาสุขภาพแบบฟรี ๆ ได้ที่ >> https://bit.ly/3zSwYYP
ช่องทางการติดตาม
👨‍⚕ POBPAD | เว็บไซต์ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้
#Pobpad #พบแพทย์ #ข้อมูลสุขภาพ #เคล็ดลับสุขภาพ #คำถามสุขภาพ #สุขภาพ #ปัญหาสุขภาพ #ความดันโลหิต #ความดันเลือด #ความดันสูง #ความดันต่ำ #ความเครียด #โรคหัวใจ #โรคหลอดเลือดสมอง #โรคไต #ผู้สูงอายุ
โฆษณา