24 มิ.ย. 2022 เวลา 07:41 • ธุรกิจ
สรุป 21 ข้อสั้น ๆ
"Noise จุดด้อยของการตัดสินโดยมนุษย์"
1. “คลื่นรบกวน” คือความแปรปรวนที่เราไม่ต้องการให้เกิดในการชี้วัดตัดสินอะไรก็ตาม แต่มันก็มีอยู่และมีมากเกินไป
2. “ดุลพินิจ” เป็นรูปแบบหนึ่งของการวัด โดยใช้ความคิดของมนุษย์เป็นเครื่องมือ ซึ่งให้คะแนนสิ่งที่วัด โดยไม่จำเป็นต้องออกมาเป็นตัวเลข
3. “การตัดสิน” เป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างการประเมินในภาพรวม
4. ผู้คนมากมายสร้างรายได้จากการใช้ดุลพินิจอย่างผู้เชี่ยวชาญ และทุกคนก็ล้วนได้รับผลกระทบจากดุลพินิจเช่นนั้นในระดับที่ไม่ควรมองข้าม
5. ดุลพินิจบางอย่างเป็นไปเพื่อตัดสินเชิงทำนาย และการตัดสินเชิงทำนายบางอย่างก็สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ ซึ่งหมายถึงว่าท้ายที่สุดเราจะรู้ว่ามันเกิดขึ้นจริงตามคำทำนายหรือไม่
6. ความเอนเอียงเกิดขึ้นเมื่อความผิดพลาดส่วนใหญ่ในชุดการตัดสินเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งความเอนเอียงคือ ความผิดพลาดเฉลี่ย
7. การกำจัดความเอนเอียงออกจากชุดการตัดสินไม่สามารถกำจัดความผิดพลาดได้ทั้งหมด
8. ความเอนเอียงจากการตัดสิน เป็นคลื่นรบกวนที่ทำให้เกิดความแปรปรวนในการตัดสิน หรือ “คลื่นรบกวนในระบบ”
9. ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (MSE) ถูกใช้เป็นมาตรฐานของความถูกต้องแม่นยำในการวัดทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวัดโดยใช้ MSE ค่าความเอนเอียงและคลื่นรบกวนจะเป็นอิสระต่อกัน
10. คลื่นรบกวนในระบบสามารถวัดได้จากการตรวจสอบคลื่นรบกวน ซึ่งเป็นการทดลองที่ให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาตัดสินเคสเดียวกัน
11. คลื่นรบกวนในระบบสามารถแยกออกได้เป็น “คลื่นรบกวนต่างระดับ” หรือความแปรปรวนในการตัดสินเฉลี่ยที่สร้างโดยผู้ตัดสินหลายคน และ “คลื่นรบกวนแบบแผน” เป็นการตัดสินเฉลี่ยของสองคนว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ทั้งคู่อาจคิดเห็นต่างกันแต่แรกแล้วว่าแบบไหนดีกว่าหรือแย่ว่า ซึ่งเป็นการจัดลำดับ
12. คลื่นรบกวนแบบแผนยังมีองค์ประกอบหนึ่งที่มีลักษณะไม่แน่นอน เรียกว่า “คลื่นรบกวนตามโอกาส” เช่น ถ้าวันหนึ่งนักตรวจสอบลายนิ้วมือระบุว่าลายนิ้วมือสองชุดนั้นตรงกัน แต่พอให้ดูอีกวันบอกว่าไม่ตรงกันแล้ว
13. ความเอนเอียงทางจิตวิทยา เป็นอีกแหล่งที่มาของความผิดพลาดในระบบหรือความเอนเอียงทางสถิติ และยังเป็นที่มาของคลื่นรบกวนด้วย
14. อคติทางความคิดและอารมณ์บิดเบี้ยว มักถูกให้ร้ายว่าเป็นตัวการที่ทำให้เราตัดสินแย่ แต่ที่จริงแล้วคือความเอนเอียง
15. กลยุทธ์ในการลดและกำจัดความเอนเอียง โดยเฉพาะการตัดสินใจเป็นกลุ่ม ด้วยการจับความเอนเอียงให้ได้ในขณะที่กำลังสร้างการตัดสินใจ โดยการตั้งผู้สังเกตการณ์การตัดสินใจ เพื่อทำหน้าที่มองหาสัญญาณของความเอนเอียง
16. เป้าหมายของการตัดสินคือความแม่นยำ ไม่ใช่การแสดงออกส่วนบุคคล นี่คือหลักการแรกในการสร้างสุขอนามัยในการตัดสินใจ
17. การลดคลื่นรบกวนสามารถใช้การคิดเชิงสถิติ และใช้มุมมองจากภายนอกช่วยพิจารณา
18. ลดคลื่นรบกวนได้ด้วยการแยกโครงสร้างการตัดสินออกเป็นงานหลายส่วนที่มีอิสระต่อกัน
19. ยับยั้งการใช้สัญชาตญาณในการตัดสินก่อนเวลาอันควร
20. รวบรวมการตัดสินที่เป็นเอกเทศจากผู้ตัดสินหลายคน และหาข้อสรุปจากคำตัดสินเหล่านั้น
21. ถ้าอยากตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ดีขึ้น ต้องจัดการกับคลื่นรบกวนอย่างจริงจัง
โฆษณา