Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mission To The Moon
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
อยากเกษียณเร็วตามเทรนด์ F.I.R.E ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่?
การเกษียณในวัย 60 ถือเป็นเรื่องปกติ เรามักจะเห็นพ่อแม่หรือคนรุ่นก่อนๆ ทำงานประจำอย่างขยันขันแข็ง จนถึงวัยเกษียณอายุ ภาพเหล่านี้ไม่ได้ดูแปลกตาสำหรับเรานัก
อย่างไรก็ตาม พอจินตนาการว่าคนรุ่นเราต้องทำงานประจำเช่นนี้ไปจนถึง 60 กลับรู้สึกไม่เห็นด้วยอย่างบอกไม่ถูก!
นั่นเป็นเพราะสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ตื่นตัวเรื่อง ‘การเงิน’ และ ‘การเก็บเงิน’ ยิ่งกว่าที่เคย เราเห็นคนจำนวนมากทำงานเสริม ทำธุรกิจส่วนตัว เล่นหุ้น หรือลงทุนกับคริปโตฯ ด้วยความหวังว่า เงินที่ได้จะช่วยให้เราออกจากงานประจำ เอาเวลามาทำอะไรที่เรารัก ให้ได้เร็วที่สุด
…แต่ที่น่าสนใจคือ ‘เร็วที่สุด’ ของบางคนนั้นอาจหมายถึงการเกษียณตั้งแต่อายุ 30!
#รู้จักเทรนด์FIREจุดประกายการเก็บเงินอย่างบ้าคลั่ง
F.I.R.E ย่อมาจาก Financial Independence, Retire Early เป็นเทรนด์การเก็บเงินสำหรับเกษียณ ในจำนวนมาก ราวๆ 50-75% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อจะได้มีอิสรภาพทางการเงิน และเกษียณจากงานประจำได้ตั้งแต่อายุ 30-40
ด้วยจำนวนเงินเก็บแต่ละเดือนที่มากเกินครึ่ง คนที่ถือหลักการ F.I.R.E มักจะใช้จ่ายต่อเดือนอย่างประหยัดที่สุด อยู่อย่างมัธยัสถ์ และซื้อเฉพาะของเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
ริต้า-โซลีดัด เฟอร์นันเดซ เปาลิโน ผู้เขียนบทความเรื่อง How to Calculate Your Fire Number ในเว็บไซต์
Times.com
ก็เป็นหนึ่งคนที่เคยคิดว่า เธอจะเกษียณอายุตอน 65 จนกระทั่งเธอและสามีได้มารู้จักเทรนด์ F.I.R.E
#สูตรคำนวณเป้าหมายเงินเก็บ
แบบที่ 1 : รายจ่ายต่อปี x 25 = เป้าหมายของเรา
ระหว่างค้นหาข้อมูลว่าสูตรคำนวณหมายเลข FIRE ที่ดีที่สุดคืออะไร ริต้า-โซลีดัด ก็ได้พบกับสูตรการคำนวณแบบที่ 1 จากมหาวิทยาลัยทรินิตี้ ที่อ้างอิงกฎ 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพูดถึงกฎการถอนเงินจากพอร์ตการลงทุน 4% ไว้สำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณ เป็นหลักการที่หลายคนรู้จักกันดี
ยกตัวอย่างเช่น หากรายจ่ายต่อเดือนของเราอยู่ที่ 30,000 บาท เท่ากับว่ารายจ่ายต่อปีจะอยู่ที่ 360,000 บาท และถ้าหากนำเลขดังกล่าวมาคูณกับ 25 ตัวเลข FIRE ของเราจะเท่ากับ 9 ล้านบาทนั่นเอง
หรือ
แบบที่ 2 : รายจ่ายต่อปี ÷ 0.03 = เป้าหมายของเรา
ยกตัวอย่างเช่น หากรายจ่ายต่อเดือนของเราอยู่ที่ 30,000 บาท เท่ากับว่ารายจ่ายต่อปีจะอยู่ที่ 360,000 บาท และถ้าหากนำเลขดังกล่าวมาหารกับ 0.03 ตัวเลข FIRE ของเราจะเท่ากับ 12 ล้านบาท
การคำนวณแบบที่ 2 นี้ อ้างอิงจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทรินิตี้เช่นกัน แต่เป็นการศึกษาที่ใหม่กว่า โดยศาสตราจารย์ทั้งหลายใช้ข้อมูลของตลาดในอดีต เช่นหุ้นต่างๆ หรือการจัดการสินทรัพย์ เพื่อศึกษาอัตราการถอนเงินที่ปลอดภัยและยั่งยืน พวกเขาพบว่ามีโอกาสสูงมากที่คนมีพอร์ตอย่างน้อย 50% ในตลาดหุ้น สามารถถอนเงิน 3% จากพอร์ตตลอด 40 ปีได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน ทำให้สูตรนี้ใช้การหาร 0.03 นั่นเอง
1
#แล้วรายจ่ายต่อปีคิดจากอะไร
ผู้เขียนคำนวณจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนอย่างละเอียด คูณจำนวน 12 เพื่อให้ได้รายจ่ายต่อปี โดยเธอได้แนะนำลิสต์รายจ่ายต่อเดือนไว้คร่าวๆ ดังนี้
[ ] ค่าใช้จ่ายสำคัญ :: ค่าเช่าบ้านต่อเดือน, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าบำรุงรักษา, ค่าซื้อของใช้ในบ้าน, ค่าภาษีที่ดิน, ค่าประกัน, และค่าบัตรเครดิต
[ ] ค่าอาหาร :: ค่าซื้อวัตถุดิบทำอาหาร, ค่าเครื่องดื่ม, ค่าทานอาหารนอกบ้าน
[ ] ค่าของใช้ส่วนตัว :: เสื้อผ้า, งานอดิเรก, สมาชิกรายเดือน (เช่น Netflix, Spotify, Cloud Storage), อาหารสัตว์เลี้ยง
2
[ ] ค่าสุขภาพ :: ประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต, ค่าทำฟัน, ค่าแว่น, ค่าคอนแทคเลนส์
[ ] การเดินทาง :: ประกันรถยนต์, ค่าบำรุงรักษา, ค่าน้ำมัน
[ ] อื่นๆ :: ของขวัญ และ การบริจาค
#ได้เลขFIREแล้วทำอะไรต่อ
เมื่อรู้ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ ถึงจะเกษียณอายุเร็วๆ ได้ ขั้นต่อมาคือการวางแผนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ถึงจะได้เงินจำนวนนี้มา และเมื่อวางแผนแล้วก็ได้เวลาเข้าสู่ขั้นตอนที่ยากที่สุด ซึ่งก็คือการลงมือทำ
แน่นอน หลายคนที่เก็บเงินอย่างบ้าคลั่งตามเทรนด์ F.I.R.E อาจรู้สึกท่วมท้นและเครียดกับจำนวนตัวเลขที่มากเช่นนี้เป็นธรรมดา แต่แทนที่จะเคร่งเครียดกับมัน ให้หันมาโฟกัสที่ ‘ความสนุก’ ของการหาเงินและการมีเงินเก็บ (ไม่ว่าจะมากหรือน้อย) ดีกว่า
ในท้ายที่สุดแล้ว แม้เราอาจไม่ได้เกษียณในวัยที่ใฝ่ฝันไว้ การเดินทางของเราก็ไม่สูญเปล่าแน่นอน อย่างน้อยก็ถือว่าเราได้เงินก้อนใหญ่ก้อนแรกของการเกษียณแล้วนะ :)
อ้างอิง
https://bit.ly/3ncoOG6
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#society
missiontothemoon
ไลฟ์สไตล์
19 บันทึก
11
12
19
11
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย