25 มิ.ย. 2022 เวลา 08:00 • การเมือง
การทดลองเกี่ยวกับสารไซคีเดลิกสำหรับการบำบัดด้านสุขภาพจิตก็ได้กลับคืนมาสู่กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐอีกครั้ง หลังจากหายไปเกือบ 6 ทศวรรษ (After Six-Decade Hiatus, Experimental Psychedelic Therapy Returns to the V.A.)
จากซีรีย์มหากาพย์ของการทดลองทางคลินิกโดยใช้ MDMA และเห็ดที่มีสารไซโลไซบิน (psilocybin mushrooms) ได้แสดงถึงการฟื้นคืนชีพของงานวิจัยที่มีแนวโน้มว่าจะถูกยกเลิกในปีค.ศ. 1960 ขึ้นมาอีกครั้ง
เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐ (Department of Veterans Affairs)ได้เริ่มเสนอการใช้สารไซคีเดลิก (psychedelic substances) แก่ผู้ป่วย โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิก (part of clinical trials) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการสืบเสาะหาศักยภาพในการรักษาโรคของสารที่ผิดกฎหมายจากรัฐบาลกลาง ที่ผู้มีอำนาจยังถือว่าสารดังกล่าวมีความเป็นอันตรายมาช้านานนับตั้งแต่อดีต
การทดลองอย่างน้อยห้าครั้งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ หรือกำลังวางแผนโดยแพทย์ของรัฐบาลจำนวนหนึ่ง ซึ่งพวกเขามองเห็นศักยภาพในการใช้ประสบการณ์ไซคีเดลิก (psychedelic experiences) ร่วมกับจิตบำบัด (psychotherapy) เพื่อรักษาภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ PTSD การเสพสารเสพติด (substance abuse) และเงื่อนไขอื่นๆ จากกลุ่มเฉพาะในหมู่ทหารผ่านศึกจากสงครามครั้งล่าสุดที่ผ่านมา
ทางด้านดร.ราเชล เยฮูดา (Dr. Rachel Yehuda) ผู้อำนวยการด้านสุขภาพจิตของศูนย์การแพทย์ James J. Peters Veterans Affairs ในบรองซ์ (Bronx) ซึ่งเป็นหัวหน้าในการศึกษาวิจัยกล่าว “นี่เป็นช่วงเวลาของจุดพลิกผัน (This is a watershed moment) และนี่ก็เป็นหนึ่งช่วงเวลาแห่งความหวังที่เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย (This is a time for a lot of hope)”
ทฤษฎีที่เป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยนั่นก็คือ "การใช้สารประกอบอย่าง MDMA หรือที่รู้จักในชื่อ Ecstasy และเห็ดที่มีสารไซโลไซบิน หรือ เห็ดวิเศษ (magic mushroom) เมื่ออยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยภายใต้การแนะนำของนักบำบัด (therapists) ที่มีทักษะหรือมีประสบการณ์ จะช่วยสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพ และทำลายรูปแบบความคิด รวมถึงพฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้"
ในช่วงปีค.ศ. 1950 และ 1960 นักวิทยาศาสตร์หลายคนมองว่าสารไซคีเลิกเป็นเครื่องมือที่อาจปฏิวัติการรักษาอาการเสพติด และอาการทางด้านจิตเวชอื่นๆ ในการศึกษาทางคลินิกที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งในปีค.ศ. 1963 ได้มีผู้ป่วยที่คลินิกของกระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐในแคนซัส (Kansas) ใช้ LSD เพื่อรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง (treat alcoholism)
แต่กระแสของการวิจัยที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดีนั้นได้หยุดลงอย่างกะทันหันหลังจากนั้นไม่นาน เนื่องจากการใช้สารไซคีเดลิกเพื่อสันทนาการที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เกิดการโต้กลับทางการเมืองอย่างรุนแรง
การทดลองครั้งใหม่เกี่ยวกับสารไซคีเดลิกที่เกิดขึ้นมาในครั้งแรกนี้ได้เริ่มต้นที่คลินิกของกระทรวงการทหารผ่านศึกในแคลิฟอร์เนีย (California) โดยเริ่มขึ้นเมื่อฤดูร้อนในปีผ่านมา หลังจากนักวิจัยได้รับการอนุมัติจากสำนักงานปราบปรามยาเสพติด หรือ ดีอีเอ (DEA) และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เพื่อรักษาทหารผ่านศึกที่ประสบกับ PTSD ด้วยการใช้ MDMA
โดยการทดลองในนิวยอร์กได้เริ่มต้นช่วงเดือนมกราคม ไปจนถึงการทดลองสามครั้งที่คลินิกในพอร์ตแลนด์ (Portland) และซานดิเอโก (San Diego) ที่มีกำหนดจะเริ่มในปลายปีนี้โดยใช้ MDMA และสารไซโลไซบินสังเคราะห์ (synthetic psilocybin) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารที่อยู่ในเห็ดหลอนประสาทอีกที (analog of hallucinogenic mushrooms)
งานวิจัยนี้ได้ผลหลังจาก FDA ได้กำหนดให้ MDMA และ สารไซโลไซบิน (psilocybin) ให้เป็น "การรักษาแบบก้าวหน้า (breakthrough therapies)" ในปีค.ศ. 2017 และ 2018 สำหรับการรักษา PTSD และภาวะซึมเศร้า (depression) ตามลำดับ โดยหน่วยงานกำกับดูแลให้มีติดฉลากนั้นกับยารักษาตัวใหม่ เมื่อมีการศึกษาเบื้องต้นมีการแนะนำว่ายาเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับสภาวะที่ร้ายแรง
การศึกษากำลังเกิดขึ้นท่ามกลางการทบทวนทั่วโลกเกี่ยวกับอันตราย และประโยชน์ที่เป็นไปได้ของจากสารที่ผิดกฎหมาย และถูกกล่าวหาว่าเป็น "ปีศาจร้าย" ในช่วงการดำรงตำแหน่งของ ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson และ ประธานาธิบดี Richard M. Nixon ซึ่งผู้นำทั้งสองเริ่มกังวลว่าสารไซคีเดลิกนั้นกำลังกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านสงคราม (ณ ตอนนั้นกำลังเกิดสงครามเวียดนาม) และกิจกรรมอื่นๆ ของรัฐบาล ตามรายงานของนักประวัติศาสตร์
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การรณรงค์เพื่อขยายขอบเขตของการวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารไซคีเดลิกทางการแพทย์ และทำให้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดที่เกี่ยวข้องมีความผ่อนปรนมากขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั่วประเทศ
ในปีค.ศ. 2020 ได้มีการโหวตคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในรัฐโอเรกอนได้ผ่านมาตรการการลงคะแนนเสียง 2 แบบซึ่งลดโทษ (decriminalized) สำหรับการครอบครองสารบางประเภทในปริมาณเล็กน้อย และเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกรอบการรักษาสำหรับการใช้สารไซโลไซบิน ตั้งแต่นั้นมารัฐเท็กซัส (Texas) และรัฐคอนเนตทิคัต (Connecticut) ได้อนุมัติมาตรการที่อนุญาตให้ศึกษาเกี่ยวกับสารไซโลไซบิน และ MDMA สำหรับการรักษาด้านสุขภาพจิต
การบำบัดด้านการใช้สารไซคีเดลิกได้กลายเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟูในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะในละตินอเมริกา และยุโรปที่มีความเป็นไปได้ในการทำให้ถูกต้องตามแนวทางกฎหมายมากกว่า ในแผนกด้านจิตเวชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาได้มีศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับด้านไซคีเดลิก
รวมถึงนักลงทุนได้เริ่มยื่นขอจดสิทธิบัตรสารต่างๆอีกด้วย โดยหวังว่าจะค้นพบวิธีใหม่ๆ ในการหากำไรจากการบำบัดด้วยการใช้สารดังกล่าว ถ้าหากว่าเมื่อที่ใดกลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย
เมื่อปีที่แล้ว โฆษกหญิงของหน่วยงานในองค์การอาหารและยาสหรัฐ หรือ FDA ได้ตรวจสอบคำขอ 16 รายการเพื่อการนำไปใช้ในการรักษาสภาพทางด้านจิตเวชด้วยสารไซคีเดลิก มากกว่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมารวมกัน
ในการตอบกลับชุดคำถามผ่านทางอีเมล์ FDA ได้กล่าวว่ามีความท้าทายที่น่าตื่นเต้นในการสร้างความปลอดภัย และประสิทธิภาพของสารไซคีเดลิก โดยสำหรับผู้เริ่มต้นไม่มีวิธีง่าย ๆ ในการทำการศึกษาโดยใช้ยาหลอก (placebo control)
เนื่องจากผลกระทบทางประสาทสัมผัสของสารดังกล่าวนั้นชัดเจนต่อผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก และนักวิจัยของทาง FDA ยังได้เตือนด้วยว่าผู้ป่วยอาจจะออกจากช่วงที่มีการใช้อย่างกระทันหัน เมื่ออยู่ในสถานะของ "การตกใจ และหวาดกลัว" ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้สึกที่ดีขึ้นในระยะสั้นๆเพียงเท่านั้น ไม่เกิดผลกระทบในระยะยาวได้
ทางด้าน ดร.ฮาเวียร์ มูนิซ (Dr. Javier Muniz) เจ้าหน้าที่อาวุโสของ FDA กล่าวว่า "สื่อยอดนิยมเต็มไปด้วยการอ้างอิงในเชิงบวกอย่างท่วมท้นถึงสารเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความคาดหวังของผู้ป่วย และนักบำบัด จากแผนกที่ประเมินยาใหม่กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ล่าสุด ความกระตือรือร้น และการคาดหวังในระดับสูงนั้นเหนือสิ่งอื่นใดที่เราเคยเห็นได้กับยาจิตเวชที่ไม่ได้รับการอนุมัตินี้”
ผู้เสนอได้การเร่งการวิจัยด้านไซคีเดลิก ซึ่งดึงความสนใจไปที่วิกฤตสุขภาพจิตในหมู่ทหารผ่านศึก ในปีค.ศ. 2019 โดยปัจจุบันมีทหารผ่านศึกอย่างน้อย 6,261 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ตามข้อมูลของรัฐบาล ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าพลเรือนมาก ทหารผ่านศึกเกือบ 16% ที่ประจำการในอิรัก และอัฟกานิสถานได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PTSD
การรักษามาตรฐานสำหรับ PTSD ที่คลินิกทหารผ่านศึก ได้แก่ การเยียวยาโดยพาไปเผชิญหน้ากับความกลัว หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นวิธีการแบบ "หนามยอกเอาหนามบ่ง" (Prolonged Exposure Therapy)
ในระหว่างนั้นผู้ป่วยจะได้รับการกระตุ้นให้พูดซ้ำ ๆ เกี่ยวกับแหล่งที่มาของการปมชีวิตที่เกิดขึ้นของพวกเขา และการบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้พวกเขาปรับความคิดเชิงลบใหม่ ผู้ป่วยจำนวนมากยังได้รับยาต้านความวิตกกังวล และยาต้านเศร้าอีกด้วย
ทหารผ่านศึกหลายร้อยคนได้เดินทางไปยังศูนย์ด้านไซคีเดลิกในต่างประเทศ และหลายคนได้กลายเป็นผู้สนับสนุนในการขยายการเข้าถึงสารไซคีเดลิก
ทางด้านดร.แชนนอน ที รีมิก (Dr. Shannon T. Remick) จิตแพทย์จาก Veterans Affairs Healthcare System ในเมืองโลมา ลินดา (Loma Linda) รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่กำลังรักษาผู้ป่วย PTSD ด้วยการใช้ MDMA กล่าวว่า "มีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากมายหากเราไม่คิดที่จะไม่ทำอะไรเลย เนื่องจากทหารผ่านศึกกำลังมองหาการดูแลที่อื่น สิ่งสำคัญที่สุดของเรา คือ การทำให้ทหารผ่านศึกเหล่านี้ปลอดภัย และได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด”
การศึกษาของเขาประกอบด้วยทหารผ่านศึกจำนวน 10 นาย ซึ่งแต่ละคนจะได้รับ MDMA สามครั้ง พร้อมกับการบำบัดด้านสุขภาพจิต ซึ่งผู้เข้าร่วมจะถูกติดตามผลอย่างน้อยหนึ่งปี
โดยรวมแล้ว การศึกษาจะเกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมเพียงไม่กี่คน ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ของประชากรผู้ป่วยของกระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐ แต่นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขาคาดหวังให้เพื่อนร่วมงานในระบบราชการจะเปิดตัวมากขึ้นในไม่ช้านี้ และในอนาคตอันใกล้จะมีเพื่อนร่วมงานที่ใหญ่กว่านี้
ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา หรือแพทย์ชั้นนำด้านการศึกษาด้านไซคีเดลิกได้กล่าวว่า ระบบการดูแลสุขภาพของกระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการศึกษาศักยภาพในการรักษา ข้อจำกัด และอันตรายที่เป็นไปได้ของสารไซคีเดลิก ซึ่งอาจรวมถึงความผิดปกติของระบบหัวใจ และหลอดเลือด ไปจนถึงขั้นต่อๆไปของการเกิดอาการของโรคจิต (episodes of psychosis)
ดร. เลสลี่มอร์แลนด์ (Dr. Leslie Morland) นักจิตวิทยาคลินิกที่ Veterans Affairs Healthcare System ในซานดิเอโก ซึ่งกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่ MDMA สามารถปรับปรุงการบำบัดคู่สมรส (couple therapy) ในการใช้ชีวิตคู่ที่ตึงเครียดโดย PTSD กล่าว
“กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐ เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการวิจัยประเภทนี้ในบางวิธี โดยกระทรวงดังกล่าวจะต้องทำให้แน่ใจว่าเรามีข้อมูลที่ดีที่สนับสนุนความปลอดภัย และประสิทธิภาพก่อนที่จะเสนอให้ทหารผ่านศึกใช้ ตามที่คิดว่าเหมาะสม”
ทางด้านดร.เยฮูดา (Dr. Yehuda) ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ PTSD กล่าวว่า เธอเชื่อมั่นว่าสารไซคีเลิกจะกลายเป็นเครื่องมือปฏิวัติการรักษาสุขภาพจิต แต่นักวิจัยยังต้องเรียนรู้อีกมาก โดยฉันคิดว่ามันจะเป็นความก้าวหน้าสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง แต่เราแค่ต้องคิดให้ออกว่าเราจะใช้มันกับใคร และที่สำคัญกว่านั้นคือมันไม่สามารถจะใช้ได้กับทุกคน”
ในการทดลองของเธอ รอบการบำบัดด้วยการใช้ MDMA มักใช้เวลาอย่างน้อยแปดชั่วโมง และผู้ป่วยจะได้รับสารในช่วงเริ่มต้น และสารเสริมอื่นๆ โดยให้ทหารผ่านศึกผ่อนคลายจากประสบการณ์ด้วยการฟังเพลงที่นุ่มนวล และได้รับอนุญาตให้สวมผ้าปิดตาหรือแว่นตา
ใช้นักบำบัดสองคนคอยดูแลผู้ป่วย และทำการพูดคุยกับพวกเขาเพียงเล็กน้อย หรือมากนั้นก็เท่าที่ผู้ป่วยดูเหมือนจะได้รับการดูแล รวมถึงการเข้ารับการบำบัดดังกล่าวนั้นอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวดอย่างมาก ซึ่งเป็นกระบวนการที่เธอเปรียบได้กับการคลอดบุตรเลยทีเดียว
"ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับ MDMA กับการบำบัดด้านสุขภาพจิต นั้นก็คือ คุณกำลังใช้ "ยาวิเศษ" นี้ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของคุณได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คุณกำลังเข้าสู่สภาวะที่เอื้อต่อการทำในเรื่องที่ยากมากในลักษณะที่คุณอยู่ในหน้าต่างแห่งความจริงที่เกิดขึ้น
ซึ่งคุณสามารถมีส่วนร่วมทางอารมณ์ และคุณสามารถประมวลผลความทรงจำแต่ไม่ทุกข์ไปกับความทรงจำ ที่ทำให้คุณรู้สึกถึงอาการมึนงงทางอารมณ์" และเธอได้กล่าวเสริมอีกว่า การรักษาที่มีอยู่สำหรับ PTSD มักจะช่วยลดความทุกข์ แต่ว่าผลการทดลองเบื้องต้นของ MDMA แสดงให้เห็นบางสิ่งที่น่าประหลาดใจในการทดลองภาคสนาม “หลายคนกำลังแสดงให้เห็นว่าดูเหมือนว่าจะมีการให้อภัย และยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้”
แพทย์ที่เป็นผู้นำการศึกษากล่าวว่า พวกเขากำลังพยายามที่จะรักษาเพื่อพิสูจน์ถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพวกเขา ในขณะที่พวกเขาก็ได้สร้างจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้อย่างมากมาย
ทางฝั่งของ ดร.คริสโตเฟอร์ สเตาเฟอร์ (Dr. Christopher Stauffer) จิตแพทย์ จาก Affairs Healthcare System ใน พอร์ตแลนด์ ได้กล่าวว่า ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาด้านไซคีเดลิกในสองแห่งได้กล่าวว่า "เรากำลังรับคนที่อ่อนแอหรือกลุ่มผู้เปราะบาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง (severe mental illness) ผู้ที่เป็น PTSD ความผิดปกติของการใช้สารเสพติด (substance abuse disorders) และเรากำลังทำให้พวกเขาอยู่ในสภาวะจิตใจที่เปราะบางยิ่งขึ้นไปอีกได้ เราต้องระมัดระวังอย่างเป็นพิเศษเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในทุกทิศทาง ตั้งแต่นักวิจัยไปจนถึงผู้เข้าร่วม”
ถึงกระนั้นการใช้สารดังกล่าวนี้ก็จำเป็นต้องมีการค้นคว้า และพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
“ขณะนี้พวกเราต้องเผชิญกับวิกฤตทางด้านสุขภาพจิต และระบบสุขภาพจิตในปัจจุบันของเรา ซึ่งไม่สามารถจัดการได้อย่างเพียงพอ”
บางส่วนของกระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐ ที่การศึกษาต่างๆ ได้รับทุนสนับสนุนมาแค่บางส่วน และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับด้านไซคีเดลิก (Multidisciplinary Association for Psychedelic Studies) หรือ MAPS ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่กดดันรัฐบาลกลางให้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสารไซคีเดลิกมานานหลายปี
ทางด้าน ริก ดอบลิน (Rick Doblin) กรรมการบริหารของบริษัท กล่าวว่า รัฐบาลสามารถช่วยชีวิตคนได้ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าทางการรักษาของสารไซคีเดลิกเมื่อหลายสิบปีก่อน
"เราหวังว่าในที่สุดการรักษาจะสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทั้งระบบ ถึงกระนั้นเราก็ยังรู้สึกขุนลุกทุกครั้ง เมื่อนึกถึงจำนวนของทหารผ่านศึกที่เสียชีวิตไปจาก PTSD ซึ่งบ่อยครั้งมักจะเป็นการฆ่าตัวตายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา”
ปัจจุบันด้วยสถานการณ์ตึงเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทย ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า และเกิดความเครียดสะสมขึ้นอย่างไม่รู้ตัว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดข้อมูลที่น่าตกใจว่า
คนไทยมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก และยังครองอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีการฆ่าตัวตายเฉลี่ยถึง 300 รายต่อเดือน รองจากประเทศญี่ปุ่น สวีเดน และสแกนดิเนเวีย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานในช่วงอายุประมาณ 20-50 ปี โดยยังมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือคนไทยพยายามฆ่าตัวตายทุกๆ 10 นาที
และอ้างอิงจากการศึกษาของ Antonio L Rappo รองศาสตราจารย์สังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมืองไทยกว่า 20 ปี ได้ระบุไว้ว่าอัตราการฆ่าตัวตายในไทยสัมพันธ์กับเหตุผลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
เราก็หวังว่า สารเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อช่วยในการรักษาเยียวยา และดูแลคนที่กำลังต้องการทางออกของปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นมาอย่างมากมายจนน่าตกใจ
อ้างอิง
Athira Nortajuddin, Suicide: Thailand’s Epidemic In A Pandemic, 18 March 2021
Ernesto Londoño, After Six-Decade Hiatus, Experimental Psychedelic Therapy Returns to the V.A., June 24, 2022
HKT, Thai suicide rate rose, one person attempts to commit suicide every 10 minutes, 2022-06-25
โฆษณา