Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แค่อยากเล่าให้ฟังOO
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2022 เวลา 00:31 • สุขภาพ
วันนี้เราจะพามาดูเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นปัญหาของใครหลายๆคน ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย รวมถึงตัวผู้เขียนใน ณ ขณะนี้ด้วย นั้นก็คือ
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับแบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
1. อาการนอนไม่หลับชั่วคราว (Transient insomnia) มีอาการหลับได้แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรืออาจเกิดจากอาการ Jet lag เมื่อเดินทางข้ามเเส้นแบ่งเวลาโลก (Time zone)
2. อาการนอนไม่หลับระยะสั้น (Short-term insomnia) หลับไปแล้วมีภาวะตื่นขึ้นมาแล้วกลับไปหลับอีกก็จะหลับไม่ได้ชอบเป็นกลางดึก มักเกิดเพียง 2-3 วันจนถึง 3 สัปดาห์อาจพบได้เนื่องจากเกิดภาวะเครียด
2
3. อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (Long-term or Chronic insomnia) เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจเป็นเดือน หรือเป็นปีซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยา การเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ว่าทางด้านร่างการและจิตใจ
อาการนอนไม่หลับหลับยากหลับไม่ค่อยทนหรือหลับๆตื่นๆทำให้เราพักผ่อนไม่เพียงพอจึงส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราโดยตรงและเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ
อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาของคนยุคใหม่ซึ่งสาเหตุอาจมาจากโรคเรื้อรังบางชนิดเช่น โรคหอบหืด, โรคภูมิแพ้, โรคความดันสูงและสภาวะความเครียดและความกังวล
ด้านจิตใจและส่งผลเสียต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตอีกด้วย อ่อนเพลียและง่วงอยู่ตลอดอาจส่งผลต่อการทำงานของเราอย่างมาก
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ สภาพแวดล้อมและอุปนิสัยการนอน (Sleep hygiene)
• ปัจจัยทางด้านร่างกาย อาจมีความผิดปกติระหว่างการนอน เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) หรือมีปัญหาจากอาการอื่น เช่น อาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน บางคนอาจมีระบบประสาทที่ตื่นตัวมากกว่าปกติจึงทำให้หลับยาก
• ปัจจัยทางด้านจิตใจ อาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์
• ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากการมีเสียงรบกวน หรือมีแสงไฟรบกวน
• อุปนิสัยการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยการทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน เป็นต้น
อาการของโรคนนอนไม่หลับ (Insomnia)
• ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
• หลับแล้วตื่นบ่อยๆ (Interrupted sleep)
• ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
• ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เหล่านี้ เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
แพทย์จะทำการซักประวัติจากตัวผู้ป่วยและบุคคลที่นอนใกล้ชิด เพื่อข้อมูลที่เกี่ยวกับช่วงที่ผู้ป่วยหลับว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เช่น มีปัญหาการนอนอย่างไร มีอาการมานานเท่าไร รวมถึงสภาพแวดล้อมในการนอน และพิจารราแยกโรคทางจิตเวช และอายุรกรรมที่อาจทำให้นอนหลับได้ไม่ดี
ส่วนการตรวจสภาพสรีรวิทยาการนอนหลับด้วยเครื่อง Polysomnograph หรือเรียกว่าง่ายๆ ว่าตรวจการนอน (Sleep Test) ควรทำในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักาาเช่น รักานานกว่า 6 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือจากการซักประวัติแพทย์สงสัยว่าอาจเกิดจากปัญหาของโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนโดยตรง เช่น Sleep apnea syndrome หรือ PLMD
การรักษาโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุอาการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องแยกให้ได้เสียก่อนว่ามาจากสาเหตุใด หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วย
1. การรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา
การรักษาโรคนอนไม่หลับโดยวิธีทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ สำหรับการใช้ยา จะสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท
ส่วนการบำบัดรักษาทางการแพทย์ เป็นการรักษาเพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
การดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
1. จัดการกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการนอนหลับ เช่น เรื่องสุขลักษณะการนอน ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิเหมาะสม เงียบ
2. ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน หลักเลี่ยงเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเครียด และทำให้รู้สึกตื่นตัว เช่น เล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือ
3. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบในช่วงเย็น เพราะคาเฟอีนจะส่งผลให้นอนไม่หลับ
4. เมื่อเข้านอนแล้วแต่ไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลาประมาณ 20 นาที ให้ลุกขึ้นจากเตียงไปทำกิจกรรมที่สบายๆ และผ่อนคลาย แล้วกลับไปนอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วง
5. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
6.เข้านอน-ตื่นนอนให้เป็นเวลา
7.หลีกเลี่ยงการงีบหลับในตอนกลางวัน
8.งดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ แม้เครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้นอนหลับง่ายแต่จะตื่นบ่อย ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
9.งดสูบบุหรี่ และสารเสพติด
โรคนอนไม่หลับ
insomnia
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย