26 มิ.ย. 2022 เวลา 07:37 • การศึกษา
บ้านเชียง ปฐมบทโบราณคดีไทย
เหตุการณ์บ้านเชียง
ชุมชนที่อาศัยอยู่ที่ ต.บ้านเชียง อ.หนองหานจ.อุดรธานี พบว่าใต้พื้นดินในหมู่บ้านมีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังร่วมกับวัตถุมากมายโดยเฉพาะภาชนะเขียนลายสีแดงสวยงามแปลกตา ใบที่สมบูรณ์ถูกนํามาใช้ประโยชน์ ใน พ.ศ.2503 โรงเรียนบ้านเชียงจัดห้องพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมวัตถุที่พบในหมู่บ้าน
เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจโรงเรียนก็มักจะมอบภาชนะเขียนลายให้เพื่อหวังให้มีคนสนใจ พ.ศ. 2508 ภาชนะเขียนลายสีแดงใบสุดท้ายของโรงเรียนมอบให้กับเจ้าหน้าที่จังหวัด และถูกส่งต่อไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
พ.ศ. 2510 การศึกษาโบราณคดีบ้านเชียง เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังโดยกรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตรการขุดค้นของกรมศิลปากร
พ.ศ. 2516 นายสตีเฟน ยัง นักศึกษาสังคมวิทยาเดินทางไปที่บ้านเชียงให้ความสนใจภาชนะเขียนลายสีแดงเป็นอย่างมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรการขุดค้นที่แหล่ง โบราณคดีบ้านเชียง นายพจน์ เกื้อกูล และศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร ถวายคําอธิบาย (ที่มาภาพ: สํานักราชเลขา www.ohmpps.go.th)
สมเด็จพระพี่นางฯ เสด็จชมนิทรรศการ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดแสดงวัตถุที่ขุดค้นพบ ที่บ้านอ้อมแก้ว ราวกลางปี พ.ศ. 2515
หม้อเขียนลาย
งานสํารวจขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียง เริ่มขึ้นราว พ.ศ. 2510 หรือภายหลังจากที่มีการซื้อขายโบราณวัตถุมาหลายปี“หม้อเขียนลาย” ได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาเมื่อข้อมูลทางวิชาการระบุว่าบ้านเชียงมีอายุเก่าแก่ถึง 6,000-7,000 ปีก็ยิ่งทําให้ “หม้อเขียนลาย” เป็นที่ต้องการมากขึ้น
กระแสการอนุรักษ์
ก่อนหน้าที่ข้อมูลความรู้ทางโบราณคดีจะก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน ก็มีงานตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับการค้นพบที่บ้านเชียงมากมายหลายชิ้น ทั้งโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจที่ไม่ใช่นักโบราณคดี ที่ได้บอกเล่าประวัติชุมชน ประวัติการค้นพบ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และที่น่าสนใจคือมีความพยายามที่จะอธิบายที่มาของวัฒนธรรมบ้านเชียงโดยเปรียบเทียบกับหลักฐานในต่างประเทศ
พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504
มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน/วัตถุ และรองรับการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นพิเศษ อีกทั้งให้อํานาจอธิบดีในการประกาศห้ามทําการค้าโบราณวัตถุดังกล่าวนั้นในราชกิจจานุเบกษา และมีการกําหนดบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นกว่ากฎหมายฉบับก่อน
เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นขาว จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง (ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 189 พ.ศ. 2515
ห้ามการขุดหา และจําหน่ายจ่ายโอนโบราณวัตถุ อธิบดีกรมศิลปากรมีอํานาจสั่งให้ผู้ครอบครองส่งมอบโบราณวัตถุ ผู้ฝ่าผืนมีความผิดทางอาญา
บ้านเชียงในโลกวิชาการ
วิทยา อินทโกศัย / อลิซเบธ ไลออนส์ / เฟรอลิช เรเนย์ / ดอนน์ แบเยิร์ต / เซสเตอร์ ดอร์แมน / พิสิฐ เจริญวงศ์ / จอยซ์ ไวท์ / สุด แสงวิเชียร / ปรีชา กาญจนคม / สุมิตร ปิติพัฒน์
บ้านเชียงกับการเริ่มต้นงานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์
องค์ความรู้เรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ราว พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา กระแสความสนใจต่ออดีตของผู้คนบนผืนแผ่นดินไทย ถูกปลุกขึ้นมาด้วยการค้นพบโครงกระดูกและภาชนะเขียนลายที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพหมู่คณาจารย์และนักศึกษาแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรขุดค้นที่บ้านเชียงหน้าหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรี ใน พ.ศ. 2516
หลุมขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงภายในวัดโพธิ์ศรีใน ปี พ.ศ. 2518 (ภาพโดย เชสเตอร์ กอร์แมน)
หลุมขุดค้นจําลอง (บน) จัดแสดงที่วัดโพธิ์ศรีใน (ล่าง) จัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติบ้านเชียง (ภาพโดยพจนก กาญจนจันทร)
การสํารวจขุดค้นที่บ้านเชียง
ดําเนินโดยกรมศิลปากร และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โครงการศึกษาที่ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดและเทคนิควิธีต่อโบราณคดีไทยมากที่สุดคือ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่รวมผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา วัตถุประสงค์ของโครงการนอกจากใน
ด้านวิชาการแล้วก็มุ่งหมายในการฝึกฝนนักโบราณคดีรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การขุดค้นได้เผยให้เห็นว่าบ้านเชียงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ช่วงประมาณ 5,600 – 1,800 ปีมาแล้ว เป็นสังคมเกษตรกรรม มีประเพณีการฝังศพที่นิยมฝังสิ่งของอุทิศร่วมกับศพ เช่น ภาชนะดินเผาที่ผลิตอย่างประณีต และเครื่องประดับต่างๆ เป็นต้น
มหากาพย์สําริดบ้านเชียง
โบราณวัตถุจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง (ภาพโดย พจนก กาญจนจันทร)
Localism vs Diffusionism
ผลงานวิจัยโบราณคดีบ้านเชียงได้สร้างองค์ความรู้มากมายเกี่ยวกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เช่น เรื่องการดํารงชีวิต พิธีกรรมความเชื่อการใช้ทรัพยากรพัฒนาการของเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนกับโลกภายนอก ตลอดจนการแสดงออกเชิงศิลปะที่สะท้อนโลกทัศน์และจินตนาการของคนสมัยโบราณ
เมื่อมีการค้นพบหลักฐานเชิงประจักษ์จํานวนมากก็สะท้อนให้เห็นว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างน้อย ตั้งแต่สมัยหินใหม่ อีกทั้งยังมีความรู้ความชํานาญที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะด้านโลหกรรม ซึ่งมีผู้เสนอว่าเป็น เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองในท้องถิ่น(Localism) หาได้เป็นสังคมที่ล้าหลังที่เพียงแต่รับความเจริญจากภาพนอกดังที่เคยเข้าใจกันไม่
ความรู้ใหม่ท้าทายแนวคิดเดิม
ที่ว่าด้วยเรื่องการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (Diffusionism) และการเสนอค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ของบ้านเชียงที่มีนัยยะถึงอายุสมัยของโลหกรรมด้วย ที่บางคนเชื่อว่าไม่ควรเก่าแก่ไปกว่าจีนและอินเดียจนทําให้เกิดข้อถกเถียงทางวิชาการมากมาย
ใบหอกสําริดพบที่บ้านเชียง (ที่มาภาพ: http://iseaarchaeology.org/distinct-bronze-age)
อายุเป็นเพียงตัวเลข
ข้อมูลแหล่งโบราณคดีไทยนับว่าก้าวหน้ามากในปัจจุบัน การเสนออายุสมัยของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงโดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคนิคการกําหนดอายุที่พัฒนาขึ้น ปัจจุบันทีมวิจัยนี้เสนอว่า บ้านเชียงสมัยสําริดมีอายุ ราว 1,700 ปีก่อนคริสตกาล
ในขณะที่ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอตาโก นิวซีแลนด์ ที่ทํางานที่แหล่งบ้านโนนวัด และแหล่งอื่นๆ ใน จ.นครราชสีมา เสนอว่าโลหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยน่าจะเริ่มขึ้นราว 1,500 ปีก่อนคริสตกาล
ข้อถกเถียงว่าด้วยการกําหนดอายุดังกล่าวนี้ กลายเป็นมหากาพย์ทางวิชาการที่ยังไม่มีข้อยุติ คงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของโลกวิชาการ ที่จะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไปหากเป็นการ “ถกเถียงด้วยการทํางานวิจัย”แทนที่จะเป็นการล้มล้างความน่าเชื่อถือของกันและกัน
มรดกโลกบ้านเชียง
มรดกไทย
บ้านเชียงมิใช่เป็นเพียงแหล่งโบราณคดีแต่อาจเรียกได้ว่าเป็นภาพแทนของโบราณคดีไทยเป็นแหล่งที่มีบทบาทสําคัญ
ในการสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนาระเบียบวิธีการวิจัย ในปัจจุบันหลักฐานวัตถุจากการขุดค้น ยังมีการศึกษาวิเคราะห์
อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยทีมวิจัย The Ban Chiang Project นําโดยดร.จอยซ์ ไวท์ (http://iseaarchaeology.org/the-ban-chiang-project/)
ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงขอบเขตทางกายภาพของแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง (ที่มาภาพ: http://whc.unesco.org/en/list/575/multiple=1&unique_number=680)
มรดกโลก
นอกจากผลกระทบทางวิชาการแล้วโบราณคดีบ้านเชียงยังส่งผลในทางสังคมด้วย จากกระแสการแตกตื่น มาสู่กระแสการอนุรักษ์หวงแหนและสงวนรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และแหล่งที่สร้างความ–ภาคภูมิใจ
ในปี พ.ศ. 2535 แหล่งมรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวของไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในขณะนี้
ภาชนะดินเผาลายเขียนสี ทําเลียนแบบโบราณวัตถุบ้านเชียง ที่จําหน่ายเป็นของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว (ที่มาภาพ http://www.dokyaudon.com )
#บ้านเชียง #โบราณคดี #เหตุการณ์บ้านเชียง #หม้อเขียนลาย #กระแสการอนุรักษ์ #มรดกโลกบ้านเชียง #มรดกไทย #มรดกโลก
โฆษณา