26 มิ.ย. 2022 เวลา 16:58 • หนังสือ
สรุป subtle art of not giving a f*uck แบบละเอียด
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับ : คนที่รู้สึกใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุข รู้สึกตัวเองไร้ค่าหรือคนอื่นรอบข้างห่วยหมด รู้สึกความสัมพันธ์กับแฟนไม่ราบรื่นหนัก รู้สึกไม่พอใจกับชีวิตตนเองในปัจจุบัน และปัญหาต่างๆ ที่เราไม่พอใจกับตัวเราเองหรือคนอื่นๆ
หลังจากที่เขียนสรุปมา 3 ถึง 4 ครั้งแต่ก็รู้สึกว่าไม่เคยเข้าใจ point ของหนังสือจริงๆ ก็คือไม่รู้เหมือนกันว่าหนังสือมันเรียบเรียงดีเกิ้นไปหรือเปล่า พอมาอ่านรอบที่ 4 ก็เลยตั้งใจเขียนสรปุไปทีละบทเลยจะได้เห็นภาพชัดรวมของหนังสือมากขึ้น 555 จนครั้งนี้น่าจะตกผลึกได้แล้ว จากการอ่านมา 4 รอบ เพราะเนื้อหาหนังสือมันไม่ตรงปกนั่นเอง 555
หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้สอนให้เราปล่อยวางตามชื่อหนังสือ 555+ แต่เป็นหนังสือที่จะชี้ประเด็นให้เราต้องใส่ใจอะไรบางอย่าง ไม่ใช่ทุกอย่าง และไม่ใช่ไม่ใส่ใจอะไรเลย 555 และหนังสือเล่มนี้คือจะมาสำรวจว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญและทำไม
ก็เลยเป็นหนังสือที่พูดถึง ค่านิยม (Value) ที่เราใช้ในชีวิตเป็นหลักเลย ซึ่งมันจะพาเราไปตั้งคำถาม ที่ สวนกระแสเล่มอื่น ว่า เป้าหมายอะไรที่เราควรมีในอันดับแรก ซึ่งมันอาจะไม่ได้ตรงตามนิยามกระแสหลักของวัฒนธรรมความสำเร็จที่คนอื่นฉายภาพมา เช่น มีชื่อเสียง มีคฤหาสน์ มีรสสปอร์ต มี follower หลักล้าน หรืออะไรก็ตาม และอะไรที่เราควรให้ความสำคัญกับมันจริงๆ
เข้าเรื่อง Chapter 1 อย่าพยายาม
หนังสือเปิดเรื่องด้วย Bukowski นักเขียนนิยาย ขี้เมา ติดยา เป็นคนที่ล้มเหลวในทุกๆด้านของชีวิต หลังจากที่เค้าล้มเหลวมาเป็น 30 ปี ในบั้นปลายชีวิตเค้าขายหนังสือได้ถึง 2 ล้านเล่ม ถึงดูไม่ได้แย่มาก แต่ตอนที่เค้าตาย เค้าให้เพื่อนสลักหลุมศพเค้าว่า อย่าพยายาม (Don’t Try) ก็คือเค้ายอมรับตัวเองว่าเค้าเป็นคนล้มเหลว เป็น loser และพร้อมที่จะแชร์เรื่องราวล้มเหลวนั้นให้คนอื่นฟัง
ซึ่งมันจะขัดกับวัฒนธรรมกระแสหลักในยุคนี้ที่ไม่สมจริง คือ ต้องเป็นมากกว่าเดิม ต้องมีความสุขมากขึ้น ดีที่สุด ดีกว่าเก่งกว่าคนอื่น productive มากขึ้น ฉลาดมากขึ้น มีงานที่ดีขึ้น แฟนคนใหม่ต้องสวยกว่าคนเก่า สำเร็จมากขึ้น
ฉะนั้นพอเราไปโฟกัส กับสิ่งของที่เราต้องมี หรือเป็นให้ได้มันก็ทำให้เราขาดสิ่งนั้นจริงๆ เราก็จะไม่เคยเห็นคนที่มีความสุข บอกกับคนอื่นว่าเค้ามีความสุข หรือเห็นคนรวยจริงๆ บอกกับคนอื่นว่าเค้ารวย
ซึ่งการที่เราโฟกัสกับการที่มีมากกว่าเดิม ทำให้เราต้องพยายามใส่ใจกับทุกอย่าง เพื่อให้เราเป็นอย่างนั้น เช่นทำให้ตัวเองดูรวย ดูมีความสุข ดูเป็นคนที่มีชื่อเสียง ดูมี lifestyle ที่น่าดึงดูด ดูเป็นคนที่มีคนมารัก
พอรวมถึงการที่เรามีอัลกอรึทึ่ม ที่ฉายภาพสิ่งต่างๆ ที่มันดีกว่าเราที่เรามีอยู่อยู่ปัจจุบัน ก็ทำให้เราต้องแคร์แทบจะทุกอย่างๆ ตั้งแต่วันนี้แต่งตัวอะไรให้ดูดี วันนี้จะลงรูปใน Ig อะไรให้ปัง ๆ วันจะทวีตอะไรดีให้คนมารีทวีตเยอะๆ
มันก็ทำให้สุขภาพจิตเราเริ่มแย่ลงในระยะยาว เพราะเรารู้สึกไม่มีอะไรดีในชีวิตเรา ไม่เก่งอะไรสักอย่างเลย คนที่เรามองเห็น ดีกว่า เก่งกว่าเราเป็น 10 เท่า ฉะนั้นเพื่อสรุป เหตุการณ์นี้ขึ้น จึ
จึงได้กฎ The Backward Law คือ “ การไล่ล่าหาประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ดีอยู่ตลอดเวลา มันก็คือจะเป็นสิ่งที่ประสบการณ์ที่แย่เสียเอง แต่การยอมรับในประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่แย่ มันคือ ประสบการณ์ที่ดีเสียเอง”
หรือพูดง่ายๆก็คือยิ่งเราอยากดูรวยมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็รู้สึกยิ่งจนลงมากขึ้นเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวกะเงินที่เราหาได้จริง หรือ ยิ่งเราอยากได้รับความรักมากเท่าไหร่ เราก็จะรู้สึกเหงามากขึ้น และรู้สึกกลายเป็นคนน่ากลัวในสายตาคนอื่น โดยไม่เกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ความสัมพันธ์ของคนรอบตัวเราจริงๆ กฎนี้ก็คือเป็น concept หลักของหนังสือเลย
และมีกฎย่อยอีก 3 ข้อก็คือ
1. การไม่ใส่ใจอะไรเลย ก็คือการไม่ใช่เป็นคนที่ไม่แตกต่างอะไร แต่หมายถึงการอยู่กับ ความแตกต่างแบบสบายใจ หรือพูดง่ายๆก็คือเราไม่สามารถที่จะไม่แคร์อะไรได้ เพราะถ้าเราไม่แคร์อะไรนั่น ก็เท่ากับเรากำลังแคร์ว่าเราไม่แคร์อะไรเลย
2. การจะเลิกใส่ใจกับความทุกข์ เราต้องมีสิ่งที่สำคัญกว่าความทุกข์ให้เราใส่ใจ เช่นเรากำลังแคร์ว่าคนอื่นคิดยังไงกับเรา ซึ่งมันก็แปลว่าเราไม่มีอะไรที่สำคัญกว่าที่คนอื่นจะคิดยังไงกับเราให้แคร์ เราถึงแคร์เรื่องนี้ ฉะนั้นคำถามก็คือเรื่องอะไรที่เราควรแคร์ที่สุด
3. ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ เราจะเป็นคนเลือกสิ่งที่เราแคร์เสมอ
บทที่ 2 ความสุขคือปัญหาเสียเอง เพราะ สิงมีชีวิตที่มีความสุขตลอดเวลา มันก็ไม่น่าอยู่รอดมาถึงปัจจุบันได้ ฉะนั้นความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก็คือมันมีจุดประสงค์ บางอย่าง และมันช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ เช่น ความเครียด วิตกกังวล ความโกรธ ซึ่งถ้าเราไปหักห้าม ความรู้สึกไม่ให้มันเกิดขึ้น มันก็จะทำให้ชีวิตเราถูกจำกัดการแสดงออกมากมาย
ซึ่งการไล่ล่าหาความสุข เช่นฉันต้องมี เงิน 1 ล้านถึงจะมีความสุข พอมีเงิน 1 ล้าน ก็เฮ้อน้อยจัง อยากมีเงินสัก 5 ล้าน ถึงจะมีความสุข หรือ ถ้าฉันมีคนที่มารักเราถึงจะมีความสุข พอมีคนที่มารักเราจริงๆ มาจู้จี้จุกจิกเกินไป เราก็ได้แต่คิดว่า ถ้าไม่มีคนจู้จี้จุกจิกในชีวิตเรา เราก็คงจะมีความสุข
มันก็คือการไล่ล่าหาความสุข ก็คือเรากำลังวิ่งอยู่บนลู่วิ่งที่มันไม่จบสิ้นนั้นเอง
ฉะนั้นพูดง่ายๆ ก็คือ ความรู้สึกไม่ว่าจะความสุข ทุกข์ เครียด อะไรก็ตาม มันไม่จำเป็นว่ามันต้องเป็นสิ่งที่ดีหรือแย่ แต่มันหมายถึงมันเป็นบริบทหรือความหมายที่เราให้กับความรู้สึกของเราเองมากกกว่า ว่ามันดีหรือแย่
แทนที่เราจะไล่ล่าหาความสุข แล้วยิ่งทำให้เราเครียดมากกว่าเดิม เราควรถามตัวเองมากกว่า ว่า เราจะเลือก ความทุกข์อะไรให้กับเรา เราจะยืดหยัดกับอะไร เราจะทนทุกข์กับ อะไรมากกว่า เช่นเราจะเลือกทนทุกข์กับความเหงา หรือจะเลือกทนทุกข์กับการมีแฟน แล้วแฟนไม่ได้เป็นดั่งใจเราทุกอย่าง
บทที่ 3 ทุกคนไม่ใช่คนพิเศษ หลังจากที่เราเอาแต่ไล่ตามประสบการณืที่ดี โดยไม่ได้รับยอมรับประสบการณที่แย่ที่มันเกิดขึ้นกับเรา พอนานๆ เข้า เราก็จะกลายเป็นคนหลงตัวเอง และการหลงตัวเองก็มี สองแบบ ก็คือ
1. ฉันเจ๋ง คนอื่นมันห่วยหมด ฉะนั้นฉันมันโครตพิเศษ (Grandiose Narcissism)
2. คนอื่นมันเลวร้ายหมดหรือมีชีวิตที่ดีหมด ทำไมชีวิตฉันมันห่วยขนาดนี้ (Victim Narcissism)
ซึ่งมันก็จะทำให้ พฤติกรรมของทั้ง 2 คนนี้เหมือนกัน ก็คือเราก็จะคิดว่าโลกนี้มันหมุนรอบตัวเราตลอด โลกมันต้องปรับให้ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ โดยยิ่งในยุคปัจจุบันที่มี algorithm ที่คอยฉายภาพความเป็นปัจเจกบุคคลให้เรามากขึ้น มันก็จะยิ่งทำให้รู้สึกว่า ฉันเป็นคนพิเศษสุดๆ ความคิดของฉันมันพิเศษสุดๆ โลกหมุนรอบตัวฉัน จนฉันมีความสุข และไม่ต้องยอมรับ ประสบการณ์ที่แย่ที่เกิดขึ้นในชีวิตฉัน ฉะนั้นมันก็ทำให้จิตเราแย่
ถ้าเราอยากมีสุขภาพใจที่แข็งแรง มันก็เหมือนกับการที่เราต้องกินของที่ไม่อร่อยเช่น ผัก ผลไม้ เพื่อดูแลสุขภาพบ้าง ในที่นี้ ก็คือการยอมรับกับความรู้สึกตัวเองที่เราให้ความหมายว่ามันไม่ดี การยอมรับประสบการณ์ที่แย่ และการยอมสิ่งที่เราทำมา ไม่มีได้มีผลอะไรกับโลกใบนี้มากเลย และชีวิตของเรามันก็น่าเบื่อบ้างอะไรบ้าง เป็นเรื่องปกติ นั่นเอง มันก็จะทำให้สุขภาพจิตเราดีขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
บทที่ 4 คุณค่าของความเจ็บปวด
ชีวิตเราต้องยืนหยัดกับอะไรบางอย่างหรือมีความเจ็บปวดกับอะไรบางอย่าง แล้วชีวิตเราจะมีความหมายและเริ่มมีความสุขจริงๆ ฉะนั้นคำถามก็คืออะไรที่คุ้มค่ากับการยืดหยัด เจ็บปวดกับมัน ก็คือไม่สำคัญว่าเราจะมีแรงปันดานใจมากขนาดไหน มี passion มากขนาดไหน หรือมีคน support มากขนาดไหน แต่ถ้าเรามีเป้าหมายที่มันผิดแต่แรก เราก็จบ
ซึ่งเป้าหมายที่ดีหรือไม่ดี มันขึ้นกับ ค่านิยมที่เรามี (Values) และถ้าเรามีค่านิยมที่ผิดแต่แรก ไม่ว่าเราจะทำอะไรไปขนาดไหน เราก็จบเช่นกัน ฉะนั้นค่านิยมที่เรายึดถือ มันจะสำคัญกับชีวิตเรามาก เพราะมันจะกำหนดเป้าหมายในชีวิตเราด้วย ซึ่งเราต้องตระหนักรู้ค่านิยมที่เรามีอยู่ ณ ปัจจุบัน ด้วยการตั้งคำถาม 3 เลเวลนี้
เลเวล 1 :ก็คือการตระหนักรู้ความรู้สึกตนเอง ก็คือเรื่องนี้ทำให้ฉันเสียใจ มันทำให้ฉันโกรธ สิ่งนี้ทำให้ฉันมีความสุข และที่สำคัญ ก็คือเราจะต้องไม่ไปปัด ความรู้สึกตัวเองทิ้ง มีความสุข ก็บอกมีความสุข เศร้าก็บอกเศร้า เสียใจก็บอกเสียใจ โกรธก็บอกโกรธ ไม่สบายใจก็บอกไม่สบายใจ รู้สึกคนนี้น่ารำคาญ เพราะถ้าเราปัดความรู้สึกทิ้ง มันก็ทำให้เรากลายเป็นคนหลงตัวเองได้ (บทที่แล้ว)
เลเวล 2: ก็คือถามว่าทำไมเราถึงรู้สึก อย่างนั้น เช่นทำไมเรารู้สึกโกรธ เพราะคนอื่นไม่ได้ดั่งใจใช่มั้ย ทำไมเรารู้สึกไม่มีแรงบันดาลใจ เพราะเราไม่ดีพอหรือเปล่า ทำไมเรารู้สึกว่าเราแคร์คนอื่นมากไปหรือนอยด์ เพราะ ไม่เคยมีใครมาแคร์ความรู้สึกเราใช่มั้ย รู้สึกคนนี้น่ารำคาญ เพราะมันทำอะไรไม่เข้าตาเรา
เลเวล 3 : ก็ถึงจะมาถึงค่านิยมที่เรายึดถือ ก็คือมาตรฐานอะไรที่เราใช้ในการตัดสิน ว่าคนนี้ไม่ได้ดั่งใจเรา หรือ เราไม่ได้เรื่อง เพราะ เวลาที่เรารับรู้ถึงความคิด หรือความรู้สึกอะไร มันมาจากค่านิยมที่เรายึดถือ
เช่นเรารู้สึกว่า ไอหมอนี่น่ารำคาญ ก็เพราะว่าเราอยู่กับมันแล้วทำให้เราดูแย่ในสายตาคนอื่น ก็แปลว่าค่านิยมที่เรามีคือ ต้องดูดี และเราใช้มาตรฐานหรือมาตรวัดว่า ความสัมพันธ์ที่เรามีกับคนรอบข้างต้องทำให้ฉันดูดี พอเราเริ่มตรวจสอบได้แล้วเราก็จะเริ่มถามคำถามว่า
ทำไมเราถึงต้องดูดีในสายตาคนอื่น เพราะอะไรกันแน่ เพราะ กลัวคนไม่ยอมรับ ไม่ชอบเรา ทำให้เราเข้าใจว่าค่านิยมของเรา ก็คือการได้รับการยอมรับจากผู้อื่นนี่เอง เราก็มาดูกันว่าแล้วค่านิยมนี้มันคือค่านิยมที่ดีมั้ย
การที่เรามีค่านิยมที่ดีได้เนี่ย ค่านิยมนั้นต้อง (Values)
1. มันต้องอยู่บนหลักความเป็นจริง
2. เป็นสิ่งที่ดีกับสังคม
3. อยู่กับปัจจุบันและควบคุมได้
ตัวอย่างคือ ความซื่อสัตย์, การยอมรับความรู้สึกตนเอง, การยืนให้ตัวเองและคนอื่น, การเคารพตนเอง, ความอยากรู้อยากเห็น, ความเห็นอกเห็นใจ, ความคิดสร้างสรรค์
ส่วนค่านิยมที่แย่ก็คือ
1. ฉาบฉวย ไม่ได้อยู่บนหลักความเป็นจริง ตรวจสอบไม่ได้
2. ทำลายสังคม
3. ไม่ได้อยู่กับปัจจุบันและควบคุมไม่ได้
เช่น การเอาชนะคนอื่นด้วยคำพูดหรือกาย, ต้องรู้สึกดีตลอดเวลา, เป็นศูนย์กลางของความสนใจของคนอื่น, การต้องไม่อยู่คน, การที่คนทุกคนต้องชอบเรา, การที่คนทุกคนต้องยอมรับเรา, ดูดีในสายตาคนอื่นตลอดเวลา, คิดบวกตลอดเวลา, Pleasure , ความสำเร็จทางวัตถุ, ต้องถูกตลอดเวลา
ฉะนั้นค่านิยมที่ดี คนเขียนก็ยกตัวอย่างมาก็คือ ความซื่อสัตย์ เพราะเราสามารถควบคุมมันได้ สะท้อนความเป็นจริง และทำให้คนอื่นได้ประโยชน์ และนี่คือสิ่งที่เราควรจะแคร์กับมันจริงๆ ( นี่คือประเด็นหลักของหนังสือเล่มนี้เลย)
ฉะนั้นบทที่เหลือก็คือ 5 ค่านิยม ที่คนเขียนคิดว่าควรมี ถึงมีแล้วมันจะทำให้เราต้องรู้สึกไม่ดีในช่วงแรก เหมือนเรากินผัก มันก็ไม่ดีต่อปากเรา แต่มันดีต่อสุขภาพเราในระยะยาว 555
บทที่ 5 เราเป็นคนเลือกทุกอย่าง สมมุติวัน พน. เราต้องไปวิ่งมาราธอน ด้วยการที่เราเต็มใจไป กับการ ที่เราถูกปืนจี้หัวให้ ไปวิ่ง เราจะเห็นว่า บริบทมันเปลี่ยนไป แบบแรกกับแบบสอง มันให้ความรู้สึกต่างกัน ทั้งที่มันเป็นกิจกรรมเดียวกัน
ง่ายๆก็คือ แบบแรกเรารู้สึกว่าเราสามารถที่จะจัดการความเจ็บปวดที่เกิดจากการวิ่งได้ แบบ ที่ 2 เราไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เรารู้สึก ทรมาน เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าเราสามารถที่จะเลือกปัญหาที่เราเผชิญเองได้
พูดเป็นค่านิยมก็คือ เราต้องเป็นคนที่มี responsibility ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ความรับผิดชอบ เพราะความรับผิดชอบคือ เรากำลังรับผิดหรือรับถุกอะไรบางอย่าง ซึ่งเห็นการณ์บางอย่างมันเกิดขึ้นกับเรา แต่เราไม่ใช่คนที่ผิดและคนที่ถูก เช่นอยู่ๆ ยืนบนฟุตบาท แล้วเราถูกรถพุ่งมาชน มันก็ไม่ใช่ความผิดเรา แต่มันหมายถึง เราต้องตอบสนองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเราและเราต้องจัดการกับเหตุการณ์นี้
อารมณ์เหมือนเราไปดูเกมฟุตบอลแล้วมันน่าเบื่อ แต่จริงเกมฟุตบอลมันก็ไม่ได้มีความรู้สึก ก็คือเราตอบสนองกับมันว่าน่าเบื่อ มันก็เลยน่าเบื่อ เพราะเราไม่ได้คิดจะสนใจมันแต่แรก ฉะนั้นเราก็ตอบสนองใหม่ เรามาสนใจเกมฟุตบอลนี้กัน มันก็ทำให้ pain ที่เรามีอยู่มันก็จะเปลี่ยนไป
พอเราเข้าใจค่านิยมนี้ จะทำให้เราสบายใจกับความเจ็บปวดมากขึ้น และจำทำให้เราลุกไปทำอะไรบางอย่าง เพราะเราไม่ได้แคร์ว่าใครเป็นคนผิด เรา หรือ เค้า แต่เราเชื่อว่าเราสามารถที่จัดการมันได้นั่นเอง ทำให้ปัญหาที่เรามี มันดีขึ้นไปเรื่อยๆ
บทที่ 6 เราผิดทุกอย่างจริงๆนะ สิ่งที่เราคิดว่ามันถูกเนี่ย พอเวลามันผ่านไป มันก็อาจจะเปลี่ยนไป ก็คือโลกนี้มันไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว ขนาดเรื่องของกฏนิวตันที่ถูคิดค้นกันมากนานกว่า 400 ปี สุดท้ายมันก็ไม่สามารถที่จะอธิบายของพฤติกรรมของมวลต่ำมากๆได้
พอเราเข้าใจว่ามันไม่มีอะไรที่ผิดไปหมดหรือถูกไปหมด เราก็จะเข้าใจถึงค่านิยม uncertainty ก็คือความไม่แน่นอนนั่นเอง ทำให้เรา เปิดสมองที่อยากจะเรียนรู้และเข้าใจคนอื่นมากขึ้น และป้องกันเราจากความคิดสุดโต่ง และทำให้กระชับความสัมพันธ์ได้โดยเฉพาะในเรื่องที่มัน sensitive เช่นการเมือง ซ้าย ขวา ทุนนิยม สังคมนิยม ศาสนาต่างๆ
พอเราได้คุยเรื่องพวกนี้แล้วถ้าเราเห็นไม่เหมือนกันเนี่ย มันจะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เราแน่นแฟ้นขึ้น ไม่ใช่พังลงแต่การที่เราจะมีความไม่แน่นอนในตัวเราได้
เราต้องเข้าใจกฏนึงก็คือ Manson’s law of avoidance ยิ่งเราผูกมัดตัวตน ไปกับอะไรก็ตามที่มากเกินไป เราก็จะยิ่งหลีกเลี่ยงมัน สมมุติว่า เราเป็นนักวิจัยทำงานวิจัย ตีพิมพ์ผลงานมามากมาย 20 ปี รู้สึกการทำวิจัยมันเป็นตัวตนหนึ่งของเราแล้ว พอมีคนมาบอกว่า ทำทำไมงานวิจัยไม่เห็นได้ประโยชน์กับสังคมเลย เราก็จะรู้สึกลุกเป็นไฟเลย
คือเราก็จะปกป้องตัวตนตัวเองที่ไปผูกติดกับงานนั้น ซึ่งถ้าเราไม่ได้เอาตัวตนไปผูกกับงานแต่แรก เราก็จะไม่ได้รู้สึกว่าเค้ามาโจมตีตัวตนเรา แต่แค่เค้าคิดว่างานนี้ไม่มีประโยชน์ในข้อมูลที่เค้ามีอยู่ เราก็จะเข้าใจเค้ามากขึ้น
ยิ่งเราผูกตัวเองกับอะไรน้อยลง เราก็จะยิ่งไม่ต้องไปปกป้องอะไรมากขึ้น ทำให้เราสามารถเปิดกว้างความคิดต่างๆมากขึ้น
บทที่ 7 ความผิดพลาดคือองค์ประกอบนึงของความสำเร็จ ก็คือถ้าเราไม่มีแรงจูงใจ เราก็ลงมือทำเลย แล้วแรงจูงใจมันเกิดจะเกิดขึ้นเอง และเข้าใจว่าการที่เรายังไม่สำเร็จมันเป็นเรื่องปกติ เราก็แค่ลองทำ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ มันก็จะทำให้เราเดินหน้าไปข้างหน้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่มันเป็นเพราะเรารู้สึกกลัวต่างๆทำให้เราไม่กล้าทำอะไร
เค้าก็เลยบอกให้เราทำอะไรบางอย่างละความรู้สึกนี้มันจะหายไปเอง ก็คือเราไม่ต้องการความมั่นใจอะไรมาก นั่นก็คือค่านิยม ที่มองความล้มเหลวเป็นเรื่องปกตินั่นเอง ฉะนั้นค่านิยมที่เรายึดถือ การมี failure นั่นเอง
บทที่ 8 ความสำคัญของการปฏิเสธ กลับมาที่เรื่องความสัมพันธ์ 555 ความสัมพันธ์ที่ healthy กับแฟนมันจะมีอยู่ 2 ข้อ
1. ทั้ง 2 คนมี respond กับ event ที่เกิดขึ้นกับตัวเองและไม่ไป respond ใน event ของคู่เรา
2. การเต็มใจที่จะปฎิเสธแฟน และรับคำปฏิเสธของแฟน ถ้าเราพูดปฏิเสธกับใครได้ ก็แปลว่าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับเค้านั่นเอง
เพราะการที่เราเลือกอะไรบางอย่างก็คือเราก็กำลังปฏิเสธอะไรบางอย่างด้วยเช่นกัน และเราไม่สามารถให้ความสำคัญกับทุกอย่างได้
การปฎิเสธก็คือ มันจะเป็นการบอกขอบเขตความสัมพันธ์ของเรา โดยเฉพาะแฟนเราเลย ถ้าเราสามารถปฏิเสธแฟนเราได้ บอกสิ่งที่เราไม่ชอบให้แฟนฟังได้ และเต็มใจที่จะทำให้แฟนผิดหวังในตัวเราได้ มันจะเป็นการสร้างความเชื่อใจที่ยิ่งใหญ่มากๆ เราก็จะมีขอบเขตความสัมพันธ์ที่ใหญ่ ฉะนั้นถ้าคู่รักไหนที่ไม่เคยทะเลาะกันเลย มันจะเป็น toxic relationship
การที่เราหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แปลว่าเรากำลังรู้สึกหลงตัวเอง เพราะมันทำให้แฟนรู้สึกแย่ แล้วเราจะรู้สึกแย่ ก็คือเรากำลังจะอยากรู้สึก ดี ตลอดเวลานั่นเอง
เรื่องของการผูกมัด ถ้าเราลิมิตตัวเองให้กับเรื่องสำคัญจริงๆ เช่นคบกับใครจริงจัง สร้างความสัมพันธ์ที่จริงจังมากกว่าจะคบไปเรื่อยเปื่อย เราก็จะยิ่งมีอิสรภาพในชีวิตเรามากขึ้น เพราะเราไม่ได้แคร์กับสิ่งที่ไม่ได้สำคัญกับเราจริงๆ ฉะนั้นค่านิยมที่เราควรยึดถือก็คือ rejection กับ commitment
บทที่ 9 บทสุดท้าย ยังไงซะก็ต้องมีวันที่เราตายอยู่ดี ถ้าให้เราจินตนการวว่าวันพรุ่งนี้คือวันที่เราตาย มันจะทำให้ชัดเจนกับภาพในหัวเลยว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรแคร์จริงๆ และอะไรคือสิ่งที่เราจะช่างแม่มัน ฉะนั้นถ้าเราตั้งคำถามว่าว่า วันนี้คือวันสุดท้ายที่เรายังอยู่บนโลกนี้นะ เรามีอะไรที่เราเสียใจกับมันอยู่มั้ย มันก็ทำให้ค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรจะแคร์จริงๆ
สรุปภาพรวมของหนังสือ ก็คือหนังสือพยายามจะให้เราแคร์สิ่งที่สำคัญกับเราจริงๆ โดยโยงมาถึงค่านิยมที่มันอยู่ในจิตใจเราลึก และพยายามเปลี่ยนค่านิยมที่ดีมาแทน เราก็จะรู้ว่าเราควรแคร์อะไรจริงๆ และหนังสือยกตัวอย่างค่านิยม 5 อย่างที่ดีกับเราในระยะยาว
สรุปก็คือถ้าใครชอบหนังสือก็ไปตามหาอ่านได้ มีแปลไทย เพราะการอ่านทีละบรรทัดด้วยตัวเองมันจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาหนังสือมากขึ้น และเมื่อเราเข้าใจเราก็จะเอาไปใช้งานได้นั่นเอง 555
โฆษณา