Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GSCIENCE
•
ติดตาม
27 มิ.ย. 2022 เวลา 11:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกาต์ (Gout) เเละกระบวนการเกิด เเบบเจาะลึก !
การเกิดกรดยูริกและภาวะกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไนโตเจน “กลุ่มพิวรีน”
ได้แก่อะดีนีน (Adenine) และกวานีน (Guanine) โดยอะดีนีนในรูปของอะดีโนซีน โมโนฟอสเฟต จะถูกเปลี่ยนเป็น ไฮโพแซนทีน (Hypoxanthine)
ส่วนกวาโนซีนในรูปของกวาโนซีน โมโนฟอสเฟต จะถูกเปลี่ยนไปเป็น กวาโนซีนและกวานีน ตามลำดับ
ไฮโพแซนทีนและกวานีน จะทำให้เกิด แซนทีน (Xanthine) และก่อนที่จะให้ผลผลิตสุดท้ายเป็น “กรดยูริก”
โดยการทำงานของเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (Xanthine oxidase) จะสร้างกรดยูริกจะอยู่ที่เซลล์ตับและจะถูกขับออกทางระบบขับถ่าย
เนื่องจากเป็นสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย
โดยทางการแพทย์จะกำหนดว่า เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงเกินขีดจำกัดของความสามารถในการละลายของกรดยูริกในรูป โซเดียมยูเรต
คือ 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูง ระดับกรดยูริกในเลือดที่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือยูเรต หรือโรคเกาต์ และเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วที่ไต
สรุปแล้วสาเหตุเกิดเกาต์ (Gout) เกิดจากความผิดปกติของการสันดาป (Metabolism) สารพิวรีน (Purines)
ซึ่งมีอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย ได้เป็นกรดยูริคที่มีระดับสูงกว่าปกติในเลือด
กรดยูริคในเลือดที่สูงและสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน
จะเริ่มตกผลึกเป็นเกลือยูเรตสะสมที่กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบข้อ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันรุนแรงอย่างรวดเร็ว นั่นเอง
และกรดยูริกส่วนใหญ่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเองร้อยละ 80 ได้จากอาหารการกินร้อยละ 20 ซึ่งได้จากอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่นเครื่องในสัตว์ สัวต์ปีก ถั่วแดง ปลาดุกเป็นต้น
เป็นอย่างไรบ้างครับ อาจจะยาวไปหน่อยเเต่เนื้อหาสาระเต็มอิ่มเเน่นอน
หากชอบสาระเต็มอิ่มเเบบนี้ก็บอกกันได้นะครับจะได้มีมาให้อ่านบ่อยๆ
.
เขียนเเละเรียบเรียงโดย : วรา
Reference | Naresuan Phayao Journal
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup
| โรงพยาบาลศิครินทร์
https://www.sikarin.com/
27/06/65
9 บันทึก
13
6
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิทย์หนักๆ ไปเลยยยย
9
13
6
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย