27 มิ.ย. 2022 เวลา 09:12 • สุขภาพ
1 กรกฎาคม 2565 โควิดไทยยังไม่สามารถเป็นโรคประจำถิ่นได้ เพราะติดที่อัตราการเสียชีวิตไม่ต่ำมากพอ
จากที่ประเทศไทยมีโควิดระบาดมา 2 ปี 5 เดือน นับตั้งแต่พบเคสแรกเมื่อต้นเดือนมกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน
พบอัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ อยู่ในช่วง 0.22 ถึง 1.5% ดังนี้
ระลอกที่หนึ่ง
มกราคมถึงพฤษภาคม 2563
ติดเชื้อ 4000 ราย
เสียชีวิต 60 ราย
คิดเป็น 1.5%
ระลอกที่สอง
ธันวาคม 2563 ถึงมีนาคม 2564 ติดเชื้อ 24,863 ราย
เสียชีวิต 34 ราย
คิดเป็น 0.14%
ระลอกที่สาม
เมษายนถึงธันวาคม 2564
ติดเชื้อ 2,194,572 ราย
เสียชีวิต 21,604 ราย
คิดเป็น 0.98%
ระลอกที่สี่
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน
ติดเชื้อ 2,292,455 ราย
เสียชีวิต 8909 ราย
คิดเป็น 0.39%
ถ้ารวมเอทีเคด้วยแล้ว
มีผู้ติดเชื้อรวม 4,141,913 ราย
อัตราการเสียชีวิตคิดเป็น 0.22%
ถ้าคิดค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 สัปดาห์
ในเดือนมิถุนายน 2565
พบผู้เสียชีวิต 0.88%
จากผู้ติดเชื้อแบบ PCR 29,226 ราย
เสียชีวิต 258 ราย
ถ้ารวม ATK ด้วย
จำนวน 42,594 ราย
จะเป็นผู้ติดเชื้อรวม 71,820 รายทำให้อัตราการเสียชีวิต
เฉลี่ย 0.36%
ตัวเลขดังกล่าวมีความสำคัญกับการเป็นโรคประจำถิ่นมาก เนื่องจากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ(โดยการแถลงของปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ได้กำหนดหลักการกว้างของโรคประจำถิ่น ประกอบด้วย
1) อัตราการเสียชีวิตต่ำ
2) การติดเชื้อไม่ค่อยมาก
3)คนจะต้องมีภูมิต้านทานมากพอ
4) ระบบดูแลรักษาพยาบาลต้องมีประสิทธิภาพ
ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข ก็เลยกำหนดตัวเลขขึ้นดังนี้
1) อัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ ต้องไม่เกิน 0.1% หรือ 1 ต่อ 1000 (เฉลี่ยสองสัปดาห์)
แต่ในขณะนี้อัตราของผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 0.36% สูงกว่าเกณฑ์อยู่ 3.6 เท่า
2) การฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ได้อย่างน้อย 80% ซึ่งเดิมทางกระทรวงได้กำหนดเพิ่มเติมด้วยว่าต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ได้มากกว่า 60%
26มิย2565 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 อยู่ที่ 29.5 ล้านคน หรือ 42.4% แต่เกณฑ์ 60% ต้องฉีดได้ 42 ล้านคน ยังขาดอีก 12.5 ล้านคน ถ้าฉีดวันละ 100,000 คน ต้องฉีดนาน 125 วันหรือ 4 เดือน
3) การดูแลรักษาพยาบาลต้องดี
สรุป
1) สถานการณ์โควิดปัจจุบันดีขึ้นชัดเจน แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เอง ว่าต้องถึงเกณฑ์เท่าใดจึงจะเป็นโรคประจำถิ่น
2) มีการปรับเกณฑ์บางตัวเช่น เรื่องฉีดวัคซีน ไม่มีการกำหนเรื่องฉีดเข็มสาม 60% เหมือนที่กำหนดไว้เดิม
3) การจะทำให้จำนวนอัตราการเสียชีวิตลดเหลือ 0.1% นั้นทำได้ค่อนข้างยาก นอกจากจะทำการเร่งการตรวจให้ได้ผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ให้ตัวเลขใกล้เคียงความเป็นจริง
4) ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้ได้วันละ 100,000 โดส จะต้องใช้เวลาอีก 4 เดือน ถึงจะถึงเกณฑ์ 60% ที่กำหนดไว้
ดังนั้น ประเทศไทยน่าจะดำเนินการมาตรการผ่อนคลายสำหรับโควิดไปได้เลย (อย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท) ไม่ต้องไปยึดติดเกณฑ์ของโรคประจำถิ่น ที่เรากำหนดขึ้นเอง และเมื่อไปไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะประกาศเป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้
Reference
กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา