27 มิ.ย. 2022 เวลา 10:33 • ข่าวรอบโลก
บริษัทญี่ปุ่นเต็มไปด้วยคนที่รอเงินเดือนไปวันๆ
50% ขององค์กรมีแต่คนเก่าคนแก่ที่ไม่ทำงานอะไรเลย
9
ภาพจำของคนไทยที่มองไปยังญี่ปุ่น มักมองเป็นถึงความขยันขันแข็ง ความเอาจริงเอาจัง ทำงานถวายหัว ถวายชีวิตเพื่อองค์กร เพื่อบริษัท เรียกได้ว่างานมาเป็นอันดับ 1 เสมอ
3
แต่ภาพจำเหล่านั้นกำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา เมื่อคนที่เคยขยันขันแข็งทำงานในองค์กรตอนนั้น กลายเป็นคนเฉื่อยชา มาออฟฟิศก็มาเพียงแค่ฆ่าเวลาไปวันๆ สิ้นเดือนเงินเข้าบัญชี ไม่ทำงานทำการอะไร
2
ใช่...นี่เรากำลังพูดถึงประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่ประเทศ...แถวๆ นี้ที่เราก็เห็นๆ คนในองค์กรบางคนทำตัวแบบนี้
15
สังคมผู้สูงอายุในญี่ปุ่นที่นับว่าจะมีคนแก่เพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการเกิดของคนในรุ่นถัดไป กำลังส่งผลให้ผลิตผลและประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างมาก คนเก่าคนแก่ในองค์กรที่อยู่มานานกลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่ทำงาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าหมดไฟ หรือไร้แรงผลักดันให้ต้องกระตือรือร้น แต่นั้นย่อมส่งผลไม่ดีอย่างมากกับองค์กรในภาพรวม
14
บริษัท ที่ปรึกษา Shikigaku ได้ทำการสํารวจพนักงาน 300 คนในหลายๆ บริษัทของญี่ปุ่นที่มีพนักงานมากกว่า 300 คนและโดยมีถามว่า บริษัทนี้มี "คนเก่าคนแก่ที่ไม่ทำงาน" หรือไม่
3
โดย 49.2% บอกว่ามี เมื่อถามต่อลึกลงไปอีกว่า ถ้าพวกเขาไม่ทำงาน แล้วพวกเขาทำอะไร?
3
คําตอบที่มากที่สุด 4 ข้อคือ "การหยุดพักหลายครั้งเพื่อสูบบุหรี่และกินขนมของว่าง" โดยพบมากที่สุดถึง 49.7% "การเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง" มาเป็นอันดับสองด้วย 47.7%
5
ส่วน 47.3% คือ "การจับกลุ่มพูดคุยที่ไม่ใช่เรื่องงาน" และอันดับที่ 4 คือ "การเล่นอินเทอร์เน็ต" ที่สัดส่วน 35.3%
คำถามต่อมาคือ ทําไมคนเก่าคนแก่เหล่านี้จึงเลือกชีวิตที่เกียจคร้านทำงาน โดยถามผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า 45% คนเหล่านี้ไม่มีความปรารถนา หรือแรงจูงใจที่จะทำงาน รองลงมา 41% คือ บริษัทเพิ่มเงินเดือนตามความอาวุโสมากกว่าประสิทธิภาพ และ 26.3% คิดว่าเชื่อฝีมือคนเหล่านี้มากพอที่จะให้พวกเขาทำงานอีกต่อไป
5
เหตุผลอื่นๆ ระบุว่า บางคนคิดว่าบริษัทไม่กล้าพอที่มีมาตรการทำอะไรกับคนพวกนี้เสียที และแนะนำให้บริษัทตรวจสอบพนักงานและประเมินพนักงานกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น ไปจนถึงคิดเรื่องการเลิกจ้างดูบ้าง
1
ผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 90% ต้องการให้บริษัทลงโทษหรือทำอะไร เพราะมันส่งผลเสียต่อบริษัทที่ยังเก็บคนเหล่านี้เอาไว้ ขณะที่ 59.7% ระบุว่าคนเก่าคนแก่ที่ขี้เกียจเหล่านี้ทำให้คนที่ตั้งใจทำงานหมดกำลังใจ ส่วน 49% ระบุ คนเหล่านี้ส่งทำให้ภาระงานของผู้อื่นเพิ่ม และ 35.3% ระบุว่าเป็นภาระของบริษัทในแง่ของต้นทุนแรงงาน
7
แต่ไหนแต่ไรมา ประเทศญี่ปุ่นมักเป็นที่กล่าวถึงเกี่ยวกับวัฒนธรรมการจ้างงานตลอดชีวิต พนักงานบริษัทนิยมทำงานที่เดียวตลอดชีวิต และบริษัทที่จ้างก็ไม่นิยมจ้างพนักงานที่ลาออกจากที่อื่น แต่จากผลการสำรวจในปัจจุบันกลับพบกว่าทั้งพนักงานที่เพิ่งจบและพนักงานวัยกลางคนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานมากขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ
4
ทั้งการทำงานไปแล้วรู้สึกไม่ชอบ การได้รับเสนอเงินเดือนที่สูงกว่าในอีกบริษัท หรือแม้การไม่ชอบไม่พอใจในงานของบริษัทในปัจจุบัน
1
ซึ่งแนวโน้มการจ้างงานตลอดชีพกำลังค่อยๆ ลดลงในญี่ปุ่น แต่ปัญหาคือญี่ปุ่นเผชิญกับอัตราการเกิดของประชากรลดลง จากความเครียดสูง ค่าครองชีพสูง และการแข่งขันสูง ทำให้แรงงานสูงอายุยังคงจำเป็นอย่างมากต่อญี่ปุ่น
2
กระทรวงกิจการภายในระบุ การขาดแคลนแรงงานอย่างหนักยังเป็นปัญหาของประเทศอยู่ แม้ก่อนหน้านี้พยายามจะจ้างคนต่างชาติ พยายามจะยืดอายุวัยเกษียณเพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาบ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ บริษัทญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องพึ่งพาแรงงานสูงวัยอย่างหนัก หลายบริษัทขยายเวลาเกษียณอายุของคนทำงานจาก 65 ปี เป็น 80 ปีในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา
10
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
2
โฆษณา