Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักเล่านิทรา
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2022 เวลา 04:50 • ประวัติศาสตร์
พระเครื่อง ประวัติศาสตร์มีชีวิต Ep 6 พระปางลีลา พัฒนาการศิลปะจากลังกา : ลีลาระเวง กรุวัดเจดีย์ราย สุโขทัย
พระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนไทยในราวสมัยทวารวดี โดยเชื่อว่าเป็นการปะทะสังสรรค์ผ่านเส้นทางการค้าจากอินเดีย โดยมีการพบพระพุทธรูปศิลปะคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13) ขนาดเล็กที่พ่อค้าน่าจะนำเข้ามา แล้วค่อยๆ มีพัฒนาการสู่ความนิยม ทำให้พระพิมพ์สมัยทวารวดีจึงมีลักษณะแบบเดียวกับศิลปะอินเดีย ทั้งนี้ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกคือนิกายมหายานที่ได้รับนิยมในอินเดียวช่วงเวลาดังกล่าว
ต่อเมื่อเขมรเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทยราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ได้ยืนยัดในวัฒนธรรมศาสนาฮินดูเป็นหลัก จะมีศาสนาพุทธบ้างก็เป็นช่วงสั้นๆ ที่เด่นชัดคือสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พศ 1720-1760) ซึ่งเป็นช่วงปลายอิทธิพลเขมรแล้ว แต่กระนั้นก็ยังเป็นพุทธแบบมหายานในนิกายวัชรยานที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู
เมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อำนาจอาณาจักรเขมรโบราณเสื่อมถอยลง มัฑละทั้งหลายเริ่มแข็งข้อแยกเมืองเป็นอิสระ โดยเฉพาะที่สุโขทัยที่เติบโตอย่างรวมเร็วในฐานะศูนย์กลางการค้าภาคพื้นทวีบ ทั้งเกลือสินเธาว์จากน่าน และของป่าจากตนเองและหัวเมืองต่างๆ เช่น ศรีสัชฯ กำแพงเพชร และหัวเมืองมอญใกล้เคียง
กาลนี้เองทำให้สุโขทัยรับเอาพุทธแบบเถรวาทจากฝ่ายมอญ ซึ่งเป็นศาสนาพุทธที่นิยมในศรีลังกา คติความเชื่อความคิดจากพุทธมหายานแบบเขมรจึงถูกแทนที่ คติการสร้างปราสาทแบบเขมรจึงเปลี่ยนเป็นการสร้างพระธาตุเจดีย์แบบลังกา โดยอิทธิพลศิลปะลังกาแบบมอญ และศิลปะปาละ-พุกามที่รับผ่านล้านนามาอีกที
จนในราวรัชสมัยพระยาลิไท ได้ปรากฏพระสงฆ์องค์สำคัญนามว่ามหาเถรศรีศรัทธา เดินทางไปศึกษาพระธรรมจากลังกาโดยตรง ถือว่าเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ไทยเดินทางไปเล่าเรียนพระไตรปิฎกจากสิงหล และนี่คือระลอกแรกที่วัฒนธรรมเถรวาทแบบลังกาเข้าสู่แผ่นดินสยามโดยตรง
ความนิยมศิลปะลังกาถูกนำเข้ามาในสุโขทัยภายหลังมหาเถรศรีศรัทธากลับจากลังกาและได้รับแต่วตั้งเป็นพระสังฆราช สังเกตได้จากเจดีย์แบบมอญ-ลังกา ที่พัฒนาเป็นศิลปะลังกามากขึ้น โดยเฉพาะการประดับภาพศิลปะนูนต่ำหรือนูนสูงพระพุทธรูปปางลีลาไว้ที่ซ่องซุ้มประตูของเจดีย์หรือก้านฉัตร เปรียบเสมือนเหตุการณ์ตามพุทธประวัติตอนพุทธองค์เสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์คราวโปรดพุทธมารดา ซึ่งนิยมในลังกาช่วงนั้น
และแน่นอนว่าทำให้พระพุทธรูปและพระพิมพ์ปางลีลากลายเป็นที่นิยมในสุโขทัย จนมีการพัฒนาฝีมือเชิงช่างผสานเข้ากับศิลปะสุโขทัยแท้ ที่เกิดศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ในรัชสมัยพระยาลิไทเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพระพุทธรูปปางลีลาลอยองค์ที่มีเฉพาะในสุโขทัยเวลานั้น นับงดงามและเต็มไปด้วยสุนทรียศิลป์ชั้นสูง จนพระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเบญจมบพิตรที่อันเชิญจากสุโขทัยมาอีกที ได้รับการยกย่องให้เป็นปฏิมากรรมรูปเคารพพระพุทธเจ้าที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของโลก
ในด้านพระพิมพ์นั้นถือได้ว่ามีความพยายามพัฒนาศิลปะให้อ่อนช้อยงดงามมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เนื่องจากความเล็กและละเอียดของชิ้นงาน โดยส่วนของพระลีลากรุวัดถ้ำหีบน่าจะมีความใกล้เคียงกับพระพุทธรูปลีลาสุโขทัยหมวดใหม่มากที่สุด ขณะที่พระพิมพ์ลีลาที่ขึ้นกรุจากที่อื่นๆ มีความงดงามลดลั่นกันไปตามแต่ฝีมือช่าง
แต่ทั้งนี้ก็จัดว่าสวยงามเป็นรากเหง้าศิลปะไทยเรื่อยมา อันส่งต่อให้กับอยุธยาโดยเฉพาะช่วงต้น ดังปรากฏพระพิมพ์ปางลีลาจำนวนหนึ่งในกรุวัดราชบูรณะอันเป็นของทำเลียนเพื่อบรรจุภายในกรุ
ในส่วนลีลาละเวง กรุวัดเจดีย์ราย ศรีสัชนาลัยนั้นจัดเป็นพระพิมพ์ศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่แล้ว น่าจะถูกสร้างขึ้นหลังรัชกาลพระยาลิไทหรือปลายรัชกาลเป็นอย่างน้อย (สวรรคต พศ 1911) สังเกตได้จากพระพักตร์ยาว พระเกศแตกเป็นเปลวเพลิง พระอุระใหญ่บึกบึน ลำพระองค์คอด ไม่ปรากฏจีบหน้านางแบบเขมรบริเวณสบงอีกแล้ว ถือว่าเป็นพิมพ์หนึ่งของปางลีลาที่มีความอ่อนช้อยงดงาม
อย่างไรก็ดีนี่เป็นข้อสันนิฐานของผมเองที่มีความรู้เพียงงูๆ ปลาๆ ผิดพลาดประการใดขออภัย ไว้ ณ ที่นี้
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย