30 มิ.ย. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
“Decarbonization” ความท้าทายของ “อุตสาหกรรมเหล็ก”
อุตสาหกรรมเหล็กเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมขนส่ง หรือการผลิตเครื่องจักรต่างๆ
โดย ในปี 2022 ตลาดการแปรรูปเหล็กทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่า 1,391,460 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีขนาด 1,661,480 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2050 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 3.0%
และมีคาดการณ์ว่าความต้องการเหล็กจะเพิ่มขึ้น 0.4% ในปี 2022 เป็น 1840.2 ล้านตัน และ ในปี 2023 ความต้องการเหล็กจะเติบโต 2.2% เป็น 1,881.4 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อตกลงลดการปล่อยคาร์บอน ก็กำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเหล็กในปัจจุบัน
เนื่องจากเหล็กทุกตันที่ผลิตในปี 2018 ที่ผ่านมา ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1.85 ตัน คิดเป็นประมาณ 8% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก
และข้อตกลงในการลดคาร์บอน ก็กำลังจะเปลี่ยนวิธีการผลิตในอุตสาหกรรมเหล็กไปตลอดกาล
📌 จีน ประเทศที่ผลิตเหล็กมากสุดในโลก
จากข้อมูลของ World Steel Association พบว่า ในปี 2021 ประเทศที่มีการผลิตเหล็กมากที่สุดคือ จีน โดยมีการผลิตเหล็กที่ 1,032.8 ล้านตัน ในขณะที่อินเดียเป็นผู้ผลิตเหล็กมากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลกที่ 118.2 ล้านตัน รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ตามลำดับ
โดยเหล็กเป็นสินค้าที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก แต่มีเพียง 64 ประเทศเท่านั้น ที่ผลิตเหล็กได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการผลิตเหล็กของทั้ง 64 ประเทศนี้คิดเป็นประมาณ 98% ของปริมาณเหล็กทั้งโลก
📌 อุตสาหกรรมเหล็ก กำลังเสี่ยงเป็นสินทรัพย์ด้อยค่าในอนาคตกว่า 18 ล้านล้านบาท
อุตสาหกรรมเหล็กทั่วโลก กำลังอาจเจอกับ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้กว่า 18 ล้านล้านบาท จากการบรรลุข้อตกลงคาร์บอนเป็นกลาง โดย ความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ที่ติดอยู่นี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเอเชีย
การคาดการณ์นั้นสูงกว่าการประมาณการครั้งก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทำให้ความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ติดค้างสำหรับอุตสาหกรรมสูงถึง 2.46 ล้านล้านบาท
ความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ติดค้างส่วนใหญ่กระจุกตัวในเอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีการวางแผนกำลังการผลิตเหล็กใหม่จากถ่านหินถึง 80% ของโลก และขณะนี้มีการผลิตเหล็กดังกล่าวแล้ว 345.3 ล้านตันต่อปี หรือ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
จาก ตามรายงานของ World Steel Association พบว่า การแยกคาร์บอนออกจากการผลิตเหล็ก ถือได้ว่าจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศของโลก อุตสาหกรรมมีส่วนรับผิดชอบต่อ 7-9% ของการปล่อยโดยตรงจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด
เตาหลอมแบบระเบิดแบบดั้งเดิม การใช้ถ่านโค้กเพื่อหลอมโลหะในแร่เหล็กและกำจัดออกซิเจน ผลพลอยได้จากปฏิกิริยาเคมีนี้คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่พลังงานจำนวนมากยังต้องการเพื่อให้ความร้อนแก่เตาเผาที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส
โดย ผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกบางรายได้ริเริ่มโครงการลด Carbon Footprint ด้วยการหันไปใช้กระบวนการผลิตเหล็กด้วยวิธีอาร์คไฟฟ้า ซึ่งจะหลอมเศษเหล็กและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลายบริษัทกำลังพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับไฮโดรเจนและคาร์บอน แต่ความคืบหน้ายังคงช้าและต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนที่สูงมาก
นอกจากนี้ ในรายงาน Net Zero 2050 ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ยังมีการออกมาเตือนว่า การเปลี่ยนจากเตาหลอมแบบธรรมดาไปใช้กระบวนการผลิตเหล็กด้วยวิธีอาร์คไฟฟ้านั้น “ช้าเกินไป” และ “ตามหลังเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนในระดับที่อันตรายอยู่”
ตามข้อมูลของ IEA พบว่า ปัจจุบัน 31% ของกำลังการผลิตเหล็กที่ดำเนินการอยู่นั้นใช้เตาอาร์คไฟฟ้า แต่มีเพียง 28% ของกำลังการผลิตที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างเท่านั้นที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ ภายในปี 2030 กำลังการผลิตเหล็กอย่างน้อย 37% ควรใช้เทคโนโลยี EAF และ 53 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050
Caitlin Swalec นักวิเคราะห์การวิจัยของ Global Energy Monitor กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องย้ายการผลิตเหล็กออกจากถ่านหิน ซึ่งหมายความว่าเราต้องปิดโรงงานที่ใช้ถ่านหิน ไม่ใช่สร้างโรงงานใหม่”
“เส้นทางสู่การแยกคาร์บอนออกจากภาคส่วนเหล็กอาจซับซ้อน แต่บางชิ้นก็ชัดเจนมาก เราจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเตาอาร์คไฟฟ้าและการผลิตเหล็กจากถ่านหินให้น้อยลง”
นอกจากนี้ยังมี ผลการศึกษาล่าสุดประมาณการว่าอุตสาหกรรมเหล็กทั่วโลกอาจพบว่า มูลค่าศักยภาพของบริษัทเหล็กประมาณ 14 % จะตกอยู่ความเสี่ยง หากไม่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา