Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
HRDolfin
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2022 เวลา 03:11 • ปรัชญา
แนวคิดการออกแบบกองพลในอนาคต : กรณีศึกษา ทบ.สหรัฐ (ตอนที่ 1/2)
Challenge of U.S. Army Force Redesign (part 1/2)
กองพลในอนาคต
ัั
ผู้นำต้องเข้าใจกลไกและพลังของทหารแต่ละคน ในกองร้อย กองพัน กองพล ก่อนที่จะนำหน่วยและเคลื่อนทัพ
นายพล Arthur Wellesley, Duke ที่ ๑ แห่งเวลลิงตัน
หลังจากกองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังจากสงคราม Iraq และ Afghanistan ที่รบยืดเยื้อมานาน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อกองทัพ ในการการทบทวนความเชื่อเกี่ยวกับโครงสร้าง และการจัดกำลังของหน่วย ผู้เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนได้เสนอโครงสร้างที่เหมาะสม ในการจัดกำลังสำหรับการรบในอนาคต ข้อคิดเห็นส่วนใหญ่จะเสนอมาจากประสบการณ์ทางการทหาร และนำมาพิจารณาตามโมเดลที่ปัจจุบันนิยมใช้ เช่นรูปแบบ McGregor Transformation Model เป็นต้น นับเป็นโชคดีมาก ที่กองทัพมองเห็นถึงการออกแบบกองทัพในอนาคตที่ควรจะเป็น ตามผลการวิเคราะห์ วิจัย
การออกแบบกองทัพในอนาคตที่นำมาพิจารณาในเอกสารนี้ แบ่งเป็น ๔ หัวข้อ ได้แก่ การออกแบบหน่วย (Force Design) โครงสร้างหน่วย (Force Structure) การบริหารจัดการ (Force Management) และการวางกำลัง (Force Employment) ในระดับยุทธวิธี และระดับยุทธการ มีข้อเท็จจริง และสมมติฐานที่สำคัญ รวม ๑๓ ข้อ สรุปได้ดังนี้
๑. การออกแบบหน่วย (Force Design)
๑.๑ สมมติฐาน ๑ หน่วยทหารที่ปฏิบัติงานทั่วไป สามารถรองรับต่อภัยคุกคามและความต้องการทุกรูปแบบ (General Purpose Force: GPF) ปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯ มีกองพลปฏิบัติการ (Brigade Combat Team :BCT) ที่ออกแบบเฉพาะต่อการปฏิบัติ ๓ รูปแบบ คือกองพลเบา (Light BCT) กองพลสไตรเกอร์ (Stryker BCT) และกองพลยานเกราะ (Armor BCT) ส่วนมากจะใช้ปฏิบัติการเชิงรุก แต่สามารถปรับให้ปฏิบัติงานต่อขอบเขตการปฏิบัติ ROMO ต่างๆ ด้วยการเพิ่มเติมอาวุธยุทโธปกรณ์และการฝึก
แต่ก็ถือว่าเป็นการจัดกองพลแบบทั่วไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดหน่วยให้เหมาะสมกับความต้องการทุกรูปแบบ
๑.๒ สมมติฐาน ๒ หากฝึกกำลังพลและหน่วยให้ปฏิบัติการประกอบอาวุธ (Combined Armed Maneuver: CAM) การออกแบบหน่วยโดยปกติจะรองรับต่อสถานการณ์ใดๆ ซึ่งมักจะใช้ได้กับสถานการณ์ทั่วไปด้วย เนื่องจากสถานการณ์ส่วนใหญ่ของภารกิจทางทหาร ที่เกี่ยวข้อง CAM และความมั่นคงปลอดภัยองค์รวมรวมถึงการประกอบกำลัง การเพิ่มเติมอาวุธยุทโธปกรณ์และการฝึก เพื่อตอบสนองต่อภารกิจขั้นสูง คือหากฝึกหน่วยให้ปฏิบัติการประกอบอาวุธ CAM ได้แล้ว พวกเขาจะสามารถรับความเสี่ยงต่อการปฏิบัติในภารกิจอื่นๆ ที่ง่ายกว่าได้
๑.๓ สมมติฐาน ๓ กองทัพถูกออกแบบองค์ประกอบ โครงสร้าง และขนาดเพื่อที่จะชนะการรบ จากแนวคิดการป้องกันตัวเอง การปรับสภาพและการเอาชนะ สมมติฐานนี้ได้รวมสมมติฐานแรกที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการใช้กำลังทหารกดดัน คือการปฏิบัติร่วมกับอาวุธ แต่หากกองทัพออกแบบให้เหมาะสมจริงๆ กับปฏิบัติการประกอบอาวุธ ในเฟส 3 ของการปฏิบัติการร่วม ก็จะมีการจัดที่เฉพาะกิจมากขึ้น การออกแบบจะมุ้งเน้นที่หลักนิยม การจัดองค์กร การฝึก ความเป็นผู้นำ การลวง และการฝึกปฏิบัติประกอบอาวุธอื่นๆ ที่เฉพาะทางมากกว่าสมรรถนะความมั่นคงในภาพรวม
๑.๔ สมมติฐาน ๔ การจัดโครงสร้างหน่วยตามความถี่และความยากของภารกิจ เพื่อรองรับภารกิจที่เหมาะสมและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้องสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากรมาก แต่ไม่ควรมองว่าเป็นการออกแบบหน่วยที่ผิดพลาด ตามสมติฐานนี้ แม้หน่วยจะมีภาระงานมากและซับซ้อนเพียงใด ก็ไม่เกี่ยวกับการออกแบบ การออกแบบโครงสร้างกำลังมีเป้าหมายเพื่อลดเวลาและทรัพยากรที่ต้องปรับเปลี่ยนตามภารกิจ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษา พบว่ายังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบที่เหมาะสม ต่อปัญหาเรื่องความบ่อย หรือจำนวนครั้งที่เปลี่ยนแปลงการจัดหน่วย
๒. โครงสร้างหน่วย (Force Structure)
๒.๑ ข้อเท็จจริง ๑ กองพลปฏิบัติการ (BCT) เป็นองค์ประกอบของกองทัพ และเป็นหน่วยกำลังรบหลักในการปฏิบัติการร่วม กองทัพใช้องค์ประกอบในการจัดหน่วย โดยมี จึงมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิจัยและตีพิมพ์ในเอกสาร Journal ด้านการทหารมากมาย
๒.๒ ข้อเท็จจริง ๒ ก่อนจะนำกองพลแบบใหม่ ไปทดลองใช้ในกองทัพ มีความเชื่อว่าการจัดโครงสร้างที่ดีนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องทราบสายการบังคับบัญชาแต่ละระดับทั้งหมด เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบสนามรบได้เมื่อมีโอกาส การจัดให้มีหน่วยซ้ำซ้อนกัน ทำให้เกิดความรอบคอบ เพื่อใช้ในการทดแทนกำลังได้เมื่อจำเป็น
๓. การบริหารจัดการ (Force Management)
๓.๑ ข้อเท็จจริง ๓ กองทัพพัฒนาการจัดกำลังรบตามสมรรถนะหน่วย โดยเน้นการปรับสภาวะแวดล้อม มากกว่าการปรับปรุงการจัดหน่วยตามสภาวะแวดล้อม เนื่องจากแนวคิดของกองทัพที่กำหนดให้ปรับสภาพแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา และเอาชนะสงคราม แนวคิดการจัดกำลังแบบนี้ เป็นกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อมทั่วๆไป แต่ในอนาคตอาจต้องปรับการจัดกองกำลัง เพื่อให้เป็นไปตามสภาวะแวดล้อมของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเห็นได้ชัดจากกการรบในเมืองใหญ่ๆ ที่ผ่านมา
๓.๒ สมมติฐาน ๕ การทดแทนกำลังเป็นหน่วย เพื่อรองรับการปฏิบัติการทางทหาร มีประสิทธิภาพดีกว่าการทดแทนกำลังเป็นรายบุคคล สมมติฐานนี้เป็นผลมาจากความเชื่อเดิมและข้อมูลที่ล้าสมัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของหน่วยทหาร และผู้นำ เห็นได้จากการรบในสงครามเวียดนาม ที่มีการรับผู้สมัครใจไปรบ แต่ภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และความต้องการสมรรถนะกำลังพลที่แตกต่างกันในแต่ละห้วงเวลา สภาวะสังคม และแรงบันดาลใจของกำลังพลให้รุกรบ ความเป็นทหารอาชีพ เป็นปัจจัยที่แตกต่างในแต่ละยุคสงคราม
หากความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการในสนามรบมีความจำเป็น อาจไม่จำเป็นต้องหมุนเวียนหน่วยปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพไปในสนามรบอนาคต โดยใช้การการฝึก ศึกษา และการจัดการองค์ความรู้แทน
๓.๓ สมมติฐาน ๖ กองกำลังสำรองและกำลังเสริม จะไม่พร้อมในการปฏิบัติ ตามขอบเขตการปฏิบัติ (ROMO) ตามเวลาที่กำหนด เมื่อเทียบกับกำลังประจำการ มีหลายมุมมองเกี่ยวกับการใช้กำลังสำรอง มาเป็นกองกำลังในอนาคต แต่ด้วยความเป็นจริง ที่ไม่พร้อมปฏิบัติตามกำหนด ตามหลักนิยม อดีต ผบ.ทบ. Creighton Abrams เชื่อว่าการรบที่ฝากความหวังไว้กับกำลังสำรอง จะส่งผลให้ผู้นำไม่สามารถจูงใจกองทัพไปรบได้ หากปราศจากระบบการสนับสนุนภายในที่ดี
๔. การวางกำลัง (Force Employment)
๔.๑ ข้อเท็จจริง ๔ มีการลดระดับประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการฝึกความพร้อมปฏิบัติ (Training and Readiness Oversight (TRO)/Training Readiness Authority (TRA)) ตั้งแต่การนำระบบการจัดหน่วยตามองค์ประกอบการรบ ผู้นำและนักประวัติศาสตร์ทางทหาร เห็นตรงกัน คือการลดลงของประสิทธิภาพการฝึกกำลังพลในสังกัด เนื่องจาก สายการบังคับบัญชาที่กว้างขึ้น และจำนวนหน่วยรบที่บรรจุในโครงสร้างกองพล
หากกองทัพต้องการสร้างกำลังที่มีความพร้อมรบ การฝึกและเตรียมความพร้อมกองกำลังในอนาคต โครงสร้างปัจจุบัน อาจไม่เหมาะสมกับความต้องการนี้
๔.๒ ข้อเท็จจริง ๕ องค์ประกอบสมมติฐาน ที่เกี่ยวกับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และภารกิจทหาร (ด้านการข่าวกรอง การค้นหา ลาดตระเวณและตรวจการณ์ การส่งกำลังและซ่อมบำรุง) เป็นปัจจัยหลักในการวางแผนองค์ประกอบของโครงสร้างหน่วย
๔.๓ ข้อเท็จจริง ๖ องค์ประกอบสมมติฐาน ที่เกี่ยวกับความได้เปรียบทางอากาศและการครองอากาศ เพื่อปฏิบัติการภาคพื้นในการรบร่วม จะส่งผลต่อการยิงสนับสนุนที่ลดลง และกำลังในการป้องกันตัวเอง ซึ่งเกิดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติ
๔.๔ สมมติฐาน ๗ กองพลปฏิบัติการ (BCT) จะไม่อ่อนไหวต่อการยิงโดยอ้อม เนื่องจากมีระบบตรวจจับและการตอบโต้เพียงพอ กองทัพมักจะไม่ได้จำลองสถานการณ์ฝึก ที่กองพล BCT อยู่ภายใต้การยิงระยะไกลโดยอ้อม และไม่มีประสบการณ์ในการตรวจจับ และตอบโต้ ต่อระบบการยิงระยะไกลโดยอ้อม
จากข้อเท็จจริง (๖ ข้อ) และสมมติฐาน (๗ ข้อ) ที่ผ่านมา พบว่าการรบที่เกี่ยวข้องในระดับกองพัน เป็นการรบที่เกิดตามธรรมชาติ มีเพียงบางสถานการณ์ที่เป็นการวิเคราะห์การรบในระดับกองพล ซึ่งจะกล่าวเพิ่มเติม ในตอนต่อไป
https://www.blockdit.com/posts/62bd1d2c68dbf652d8f6f53b
ถอดความจาก
E.J. Degen and John Spencer, Small Wars Journal, 09/22/2014 เข้าถึงได้จาก
https://smallwarsjournal.com/jrnl/art/challenging-army-force-design
military
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย