30 มิ.ย. 2022 เวลา 03:49 • การศึกษา
แนวคิดการออกแบบกองพลในอนาคต : กรณีศึกษา ทบ.สหรัฐ (ตอนที่ 2/2)
Challenge of U.S. Army Force Redesign (part 2/2)
ทหารในอนาคต
จากตอนแรก เราได้กล่าวถึงแนวคิด ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างกองพลในอนาคตแล้ว
ในตอนนี้ จะกล่าวถึงปัญหา อุปสรรค และแนวคิดในการออกแบบกองพลภาพกว้าง
จากการสัมภาษณ์นักการทหารในประวัติศาสตร์สงครามที่ผ่านมา เช่น พลจัตวา Daniel Morgan ในสงครามปฏิวัติอเมริกา พันเอก Strong Vincent ในการรบป้องกัน Little Round Top ช่วงสงครามกลางเมือง พลเรือจัตวา Douglas McArthur ผบ.กกล. 84th ใน St. Michel, ฝรั่งเศส สงครามโลกครั้งที่ ๑ การควบคุมบังคับบัญชากองพลระดับนี้ ต้องใส่ใจและใช้ความละเอียดรอบคอบสูง ต้องมองเห็นเขตจำกัดการรุกทั้งสองด้าน ใช้หลักความง่ายในการมอบภารกิจในหน่วยระดับรองลงไป และการรบระดับกองพล จะนำพันธกิจการรบ (WarFighting Function) มาใช้ไม่ครบทุกข้อ
สนามรบในปัจจุบันมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ข้อมูลมากมายที่ผู้บังคับบัญชาต้องรับรู้ วิเคราะห์ และนำไปปฏิบัติระหว่างการปฏิบัติ ซึ่งพว่าข้อมูลเหล่านี้มาจากหน่วยเหนือ หน่วยข้างเคียง หน่วยรอง และฝ่ายเสนาธิการ ฝ่ายต่างๆมากมาย  ระบบจึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้บังคับบัญชาตัดสิน ตกลงใจ
จากเดิมที่มีระบบในการควบคุมบังคับบัญชาไม่กี่ระบบ จนเมื่อปฏิบัติการพายุทะเลทราย Desert Storm มีมากถึง ๖๐ ระบบ และคาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นถึง ๘๐ ระบบ ในสงครามในอนาคต ณ เวลาใด ด้วยวิธีการใด ที่ผู้บังคับบัญชาและทีมงาน จะสามารถตัดสิน ตกลงใจ บนความซับซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ได้ ต้องเข้าใจในระบบการไหลของข้อมูลเหล่านี้
วิธีการหนึ่งในการพัฒนาการออกแบบและปรับโครงสร้างหน่วย คือการนำวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในกระบวนการ เพื่อชดเชยศิลป์ ขั้นแรกสำคัญที่สุด คือการให้ความสำคัญกับระบบการคิดของผู้นำและฝ่ายเสธของเขา แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุุน แต่กองทัพก็ประมาณค่าความสามารถในการคิดของทหาร ผู้นำ และฝ่ายเสธ แบบกว้างๆได้
โดยทั่วไปกองทัพไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านการวิเตราะห์ภาระงาน ไม่เข้าใจภาระงานด้านสมอง และการใช้ความคิดในการปฏิบัติงาน สั่งการ รวมถึงฟังชั่นการรบทั้ง ๖ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการออกแบบโครงสร้างกำลัง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนและอาวุธ การพัฒนาขีดความสามารถ การประเมินประสิทธิภาพกำลังพล
กองทัพยังขาดสิ่งสำคัญ ๓ สิ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ๑.เครื่องมือในการวิเคราะห์รูปแบบการปฏิบัติในสภาวะที่ซับซ้อน ๒. รูปแบบ model ฝ่ายตรงข้าม ในสภาวะแวดล้อม และ ๓. รูปแบบความสัมพันธ์ของการรวมกัน ตั้งแต่ระดับหน่วย จนถึงแต่ละบุคคล
๓ สิ่งนี้จะช่วยให้ ผู้บังคับบัญชามองเห็นภาพ และตัดสินใจสั่งการได้อย่างเหมาะสม หากขาด ๓ สิ่งนี้ กองทัพจะขาดการมองภาพรวม จากระดับยุทธวิธี ถึงระดัยุทธการ ไม่มีข้อมูลเพียงพอให้กับ หน่วยเหนือที่พอเพียงในการสั่งการ หรือตัดสินใจปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ กองทัพมีเครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ที่ไม่เพียงพอ ต่อการจัดหน่วย และโครงสร้างการจัดหน่วยไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ไม่แน่นอน ความผิดพลาดนี้ไม่ได้เกิดจากภาคประชาสังคม ในภาพใหญ่เกิดจากกระบวนการของระบบราชการ ระบบศักดินา ที่ภาคประชาสังคมมีข้อสงสัยและกองทัพถูกตั้งคำถามที่ยากต่อการหาคำตอบ คือ “ทหารเป็นของใคร และมีไว้เพื่ออะไร” ทั้งนี้ ศูนย์การหลักนิยมทหาร (TRADOC) กองทัพบก พยายามหาคำตอบเพื่อตอบคำถามที่สำคัญเหล่านี้
โดยสรุป ความผิดพลาดนี้ ทำให้กองทัพพูดได้ไม่เต็มปากว่า ปัจจุบันกองทัพนำอะไรไปรบ อะไรบ้าง คือสิ่งจำเป็น "ต้อง" นำไปรบ หรือสิ่งที่ "ควร" นำไปรบ กองทัพยังไม่มั่นใจว่าการรบคืออะไรแน่ จึงไม่สามารถปรับลดโครงสร้างตำแหน่งส่วนทหารในกองทัพ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์แห่งชาติสุดท้ายกองทัพต้องเผชิญกับ “วัวศักดิ์สิทธิ์” (Sacred  Cows) ของการออกแบบโครงสร้างกำลังรบ
วัวศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงสิ่งที่น่าเคารพบูชา ไม่มีใครในสังคมกล้าถามคำถาม มีหลายหัวข้อที่เป็นคำถามศักดิ์สิทธิ์  ขึ้นกับแต่ละหน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่น
ก. ไม่มีสภาวะแวดล้อมที่จะเปลี่ยนแปลงโมเดลฝ่ายตรงข้าม การคิด วิเคราะห์ และกระบวนการคิดทั้งหมดต้องทำในโมเดลของข้าศึก หากสภาวะมีความซับซ้อนในห้วงการฝึก  ข้อมูลที่จำเป็น คือการปฏิสัมพันธNระหว่างฝ่ายเรา และฝ่ายข้าศึก ในการจำลองยุทธ์
ข. ขนาดของกองพัน จากการปรับโครงสร้างกำลังรบหลายครั้งที่ผ่านมา  ประสบการณ์การรบ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  การปรับขนาดโครงสร้างในระดับกองพันและต่ำลงมา มีน้อยมากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ค.  กฏในการเตรียมความพร้อม  กระบวนการและเครื่องมือในการกำหนดความพร้อม การนิยามความหมายของการ “พร้อมรบ”   จัดทำขึ้นในหน่วยการฝึกพร้อมรบของกองพลเอง  จึงไม่มีการตั้งคำถามสงสัย มีหลายเหตุผลว่าทำไมองค์กรที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็งจึงไม่มีใครกล้าถามวัวศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ สาเหตุสำคัญคือการขาดแรงบังคับ และจูงใจ ในการถาม หรือให้ข้อคิดเห็น และเหตุผลอีกข้อ คือการ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้เผชิญกับปัญหา หรือไม่ได้ถูกเสนอให้ท้าทายการวิเคราะห์ปัญหาในภาพรวมเหล่านี้
ผลจากสงคราม งบประมาณที่ลดลง และธรรมชาติของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นช่วงที่เหมาะสมในการปรับโครงสร้างและกระบวนการจัดหน่วยใหม่ เพื่อรองรับอนาคต มีหลายหน่วยงาน องค์กรกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ ทรัพยากร และไม่มีสิทธิ์ในการเสนอข้อคิดเห็น กรอบแนวคิดของการเปลี่ยนแปลงที่เสนอ อาจไม่ได้รับการนำไปใช้
กองทัพควรนำข้อเท็จจริง และสมมติฐานเหล่านี้ไปสอบถามและพิจารณาในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพ และท้ายที่สุด ไม่ว่าศูนย์รับข้อคิดเห็นจะใช้รูปแบบ McGregor Transformation Model เป็นแนวทางหรือไม่ จะใช้กำลังหลัก หรือกำลังสำรองเป็นแกน หรือจะใช้แนวคิดการออกแบบโครสร้างหน่วยอย่างไร กองทัพก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะเป็นการออกแบบตามความคิดเห็น จากแนวคิดเดิมๆ ประสบการณ์การรบสงครามที่ผ่านมาของทหารเก่า และการจำลองยุทธ์ที่ถูกจำกัดความคิด
จากประเด็นสำคัญต่างๆที่เกล่าวมาแล้วนี้ ผู้เขียนหวังว่าจะช่วยปรับลดช่องว่างของแนวคิดการออกแบบกองพลให้เล็กลงไม่มากก็น้อย  และหวังว่าจะช่วยให้การปรับโครงสร้างกองทัพในภาพรวม ประสบความสำเร็จในอนาคต
ถอดความจาก
E.J. Degen and John Spencer, Small Wars Journal, 09/22/2014 เข้าถึงได้จาก https://smallwarsjournal.com/jrnl/art/challenging-army-force-design
โฆษณา