Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2022 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เทรนด์พฤติกรรม DINK คู่รักที่ตั้งใจไม่มีลูก ทำให้รวยมาก
5
กว่าจะเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโต ต้องใช้เงินเท่าไร ?
ถึงแม้คำถามนี้ จะไม่ได้มีคำตอบที่แน่ชัด
แต่เชื่อว่าผู้ปกครองหลาย ๆ คน ก็คงต้องการให้ลูกเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด
1
ดังนั้น การจะเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องใช้เงินและเวลามหาศาล
1
ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายเรื่องเสื้อผ้า อาหารการกินในชีวิตประจำวัน ค่าเล่าเรียน ไปจนถึงค่าบ้านที่ต้องมีบริเวณและสภาพแวดล้อมที่ดี
7
ด้วยความที่ต้นทุนของการมีลูก ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ
เรื่องนี้จึงกลายเป็นหนึ่งในเหตุผล ที่อัตราการเกิดในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มลดลง
1
และประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในนั้น
โดยในปี 2564 อัตราการเกิดต่อประชากร 1,000 คน จะอยู่ที่ 9.9 คน ลดลงจากปีที่แล้ว 1.8%
3
ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2534 ที่อัตราเดียวกัน จะเท่ากับ 19.1 คน
แปลว่า ผ่านไป 30 ปี อัตราการเกิดของประเทศไทย หายไปเกือบครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
3
ที่สำคัญคือ ในปี 2564 ยังมีเด็กเกิดใหม่ คิดเป็นจำนวนเพียง 5.4 แสนคน ถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลมา
4
แม้เรื่องนี้จะประกอบขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย แต่หนึ่งในพฤติกรรมการเงินที่น่าสนใจ และอาจเป็นเทรนด์ที่ส่งผลกระทบให้เกิดสถานการณ์นี้ ก็คือ “DINK”
2
แล้ว DINK คืออะไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
DINK เป็นคำสแลง ที่ย่อมาจาก
“Dual Income, No Kids”
หมายถึง คู่รักที่ทำงานทั้งคู่ โดยที่ไม่มีลูก
3
ซึ่งคู่รักที่ดำเนินรอยตามพฤติกรรม DINK นี้ ก็มีแนวโน้มที่จะมีเงินเก็บมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
เนื่องจากทั้งคู่ยังคงทำงาน ทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างน้อยสองทาง ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตต่าง ๆ จะถูกหารสองไม่ว่าจะเป็นค่ากินหรือค่าอยู่
3
ที่สำคัญ ยังไม่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเรื่องลูก เพิ่มเข้ามาอีกด้วย
แถมไม่จำเป็นต้องมีบ้านหลังใหญ่ ๆ เพื่อรองรับสมาชิกคนที่ 3
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็น DINK แล้วจะ “รวย” โดยอัตโนมัติ
โดยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการหาเงิน และการใช้เงินของคนเหล่านั้นด้วย
2
และถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า หากไม่มีลูก ตอนแก่ที่ไม่สามารถทำงานได้แล้วใครจะเลี้ยงดู
2
สำหรับเรื่องนี้ เราก็มีเทคนิคการเป็น DINK ที่ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินมาแนะนำ
2
1. การตกลงกับคู่ของเรา ว่าเป้าหมายอะไรในฐานะคู่รัก ที่เราจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
แน่นอนว่าก่อนจะไปถึงขั้นนั้น ระหว่างคู่รักจะต้องมีแผนการเงินพื้นฐานที่ดีเสียก่อน เพื่อครอบคลุมการใช้จ่าย และการใช้ชีวิตคู่ทุกอย่าง
2
ทั้งเรื่องเงินฉุกเฉินสำหรับสองคน
เงินออมสำหรับชีวิตเกษียณ
รวมถึงการชำระหนี้สิน
1
ซึ่งหลังจากที่เรามีสิ่งจำเป็นเหล่านี้ครบแล้ว ลำดับถัดไป ก็ถึงการที่ต้องเริ่มคุยว่า “เป้าหมายทางการเงินสูงสุด” ของเราคืออะไร
เช่น ถ้าเป็นการเกษียณก่อนกำหนด เราก็จะได้เน้นเก็บเงินมากเป็นพิเศษ แต่สำหรับบางคู่ อาจจะเป็นการมีบ้าน แปลว่าสิ่งที่จะโฟกัสย่อมต่างจากกรณีแรก ซึ่งอาจจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการผ่อนชำระค่าบ้านแทน
อย่างไรก็ตาม การมีแผนที่ชัดเจน จะช่วยไม่ให้เราหลงทาง หรือเผลอไปใช้เงินเก็บสำหรับยามเกษียณโดยที่ไม่รู้ตัว
2
แต่เนื่องจากเราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว การพูดคุยตกลงกัน จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ที่สำคัญ การที่เราเข้าใจและมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว
สองแรง ย่อมทำให้การเดินไปถึงจุดหมายนั้น ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ช่วยกันเก็บเงิน
เก็บเงินให้ได้มากที่สุด และยิ่งเร็วยิ่งดี
ซึ่งการมีเงินเก็บที่มากพอ จะช่วยให้เรามีตัวเลือกมากขึ้น
เวลาที่จะต้องเผชิญหน้ากับรายจ่ายในอนาคต
สำหรับเรื่องนี้ เทคนิคง่าย ๆ ก็คือ เมื่อได้รายรับมา จะต้องแบ่งไปเก็บเป็นอันดับแรก ยิ่งโอนไปเก็บโดยอัตโนมัติได้ทันที ก็จะยิ่งดี ไม่ใช่รอใช้จ่ายก่อน แล้วเหลือเท่าไรค่อยเก็บ
3. หารายได้สองทาง และลงทุนทั้งสองทาง
กรณีนี้จะคล้าย ๆ กับเรื่องเงินเก็บ คือ ควรกันเงินส่วนนี้ออกมาตั้งแต่แรก เพราะการลงทุนจะช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับเรา และอาจจะเป็นรายได้ที่หล่อเลี้ยงเราในยามเกษียณ
6
ซึ่งยิ่งเราเริ่มลงทุนเร็วเท่าไร เราก็จะได้ประโยชน์จากเรื่อง “ดอกเบี้ยทบต้น” มากเท่านั้น
หรือก็คือ การที่เราเอาดอกเบี้ยหรือกำไรที่เราได้รับจากการลงทุน ไปลงทุนต่อ ทำให้เงินลงทุนของเรายิ่งเพิ่มสูงขึ้น และการที่เงินลงทุนยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ก็ยิ่งทำให้เราได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
2
จนมีคำเล่าลือว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดถึงดอกเบี้ยทบต้นว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลก” เลยทีเดียว
3
แล้วสำหรับในแง่มุมของธุรกิจ กลุ่ม DINK น่าสนใจอย่างไร ?
ด้วยความที่ DINK ถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่มองหาการสร้างฐานะ เพื่อความมั่นคงในอนาคต ที่ตัวเองอาจจะไม่มีลูกมาคอยดูแล แต่ก็แลกมากับการไม่ต้องมีภาระเรื่องลูกเช่นกัน
1
ดังนั้น DINK จึงกลายเป็นเป้าหมายทางการตลาดของสินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน ไปจนถึงสินค้าหรู เช่น มื้ออาหารดี ๆ, รถยนต์ราคาแพง หรือแพ็กเกจท่องเที่ยวสุดพิเศษ
2
และอีกมุมหนึ่งคือ DINK ยังถูกมองว่าเป็นเป้าหมายของการจ้างงาน เนื่องจากทางฝั่งนายจ้าง ก็มองว่าคนกลุ่มนี้ จะมีเวลาทุ่มเทให้กับบริษัทอย่างเต็มที่ เพราะไม่ต้องแบ่งเวลาให้กับลูกนั่นเอง
2
เรียกได้ว่า สำหรับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในยุคนี้
การเป็น DINK ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย
มีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
แถมยังมีโอกาสจับมือกัน เพื่อไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นอีกด้วย..
Sponsored by JCB
JCB แฮปปี้ทุกไลฟ์สไตล์ มากกว่าส่วนลดและสิทธิประโยชน์แต่เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ ในการใช้บัตรเครดิต JCB อย่างคุ้มค่าตลอดทั้งปี รวบรวมทั้งร้านอาหารชั้นนำ ปั๊มน้ำมัน ซูเปอร์มาเก็ต แพลตฟอร์มการสั่งอาหาร ส่วนลดการจองที่พัก ร้านค้าชั้นนำอีกมากมายทั้งหน้าร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์อีกกว่า 100 ร้านค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตามได้ที่
www.facebook.com/JCBCardThailandTH
และ LINE Official Account : @JCBThailand (
https://bit.ly/JCBTHLine
)
1
#JCBใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา #JCBThailand #JCBOwnHappinessOwnStory
References:
-
https://www.investopedia.com/terms/d/dinks.asp
-
https://www.cnbc.com/select/dual-income-no-kids-financial-moves-to-make/
-
https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/birth-rate
-
https://finance.yahoo.com/news/dual-income-no-kids-dink-175855700.html
เศรษฐกิจ
118 บันทึก
83
3
215
118
83
3
215
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย