Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JEENTHAINEWS
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2022 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
ประติมากรรมเทพเจ้า 'รวมร่างอีกครั้ง' หลังผ่านไป 3,000 ปี
ซากโบราณซานซิงตุย ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ที่นี่ถูกค้นพบช่วงปลายทศวรรษ 1920 ณ เมืองกว่างฮั่นของมณฑลเสฉวน
โดยซุกซ่อนความเร้นลับน่าพิศวงไว้มากมาย คาดกันว่าว่าซากโบราณแห่งนี้ตกทอดมาจากอาณาจักรสู่ อาณาจักรโบราณอายุราว 3,000-4,500 ปี
ก่อนนี้มีการขุดพบโบราณวัตถุรูปร่างแปลกตาและน่าตื่นตะลึงเป็นจำนวนมากจากหลุมบูชายัญของซานซิงตุย ทั้งประติมากรรมศีรษะมนุษย์สวมหน้ากากทองคำ ต้นไม้สัมฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ที่สะท้อนความเชื่อของคนโบราณ ใบไม้ทองคำ มีดหยก และภาชนะหน้าตาลึกล้ำเหนือจินตนาการ ฯลฯ
วันพฤหัสบดี (16 มิ.ย.) คณะนักโบราณคดีของจีนยืนยันความสำเร็จของการประกอบร่างประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่ขุดพบเมื่อไม่นานนี้
ณ ซากโบราณซานซิงตุย โดยเป็นการนำมาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่ขุดพบเมื่อปี 1986 ทำให้ผลงานชิ้นนี้ที่ต้องพลัดพรากเมื่อราว 3,000 ปีก่อนรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง
ประติมากรรมสัมฤทธิ์อันวิจิตรงดงามนี้มีส่วนหัวคล้ายศีรษะมนุษย์ ลำตัวคดงอคล้ายงู ดวงตาปูดโปน มีเขา เหนือส่วนเทิด “จุน” หรือภาชนะใส่เหล้าองุ่นโบราณ รูปทรงคล้ายแตรเอาไว้ ใต้ส่วนมือเป็น “เหลย” หรือภาชนะใส่เหล้าองุ่นโบราณ ทรงเหมือนเหยือกมีฐานสี่เหลี่ยม
ประติมากรรมส่วนลำตัวถูกขุดพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 8 เมื่อเร็วๆ นี้ ขณะชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ที่ขุดพบก่อนหน้ามาจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 2 มีลักษณะเป็นคนสวมผ้านุ่งแนบลำตัวลายเมฆและมีขาพร้อมกรงเล็บนก 2 ข้าง ซึ่งคณะนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าประติมากรรมศีรษะมนุษย์ ลำตัวงู และกรงเล็บนกนี้อาจเป็นรูปปั้นเทพเจ้า
มีผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจากท่าทางที่แอ่นลำตัวไปด้านหลังซึ่งทำได้ยากนั้น อาจเป็นของที่ใช้ในการประกอบพิธีสำคัญ อีกทั้งยังมีลักษณะไม่เหมือนปติมากรรมคนถักเปียที่เคยขุดพบ จึงเป็นไปได้ว่าอาจะเป็นตัวแทนของกลุ่มคนอีกสถานะหนึ่งในวัฒนธรรมซานซิงตุย
หร่านหงหลิน เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยโบราณวัตถุและโบราณคดีมณฑลซื่อชวน กล่าวว่าชิ้นส่วนจากหลุมต่างๆ ที่ประกอบเข้ากันพอดียืนยันข้อสันนิษฐานก่อนหน้านี้ของคณะนักโบราณคดี และยังมีนัยสำคัญยิ่งยวดต่อการบูรณะโบราณวัตถุจากซากโบราณซานซิงตุย
โดยคาดว่าอาจมีการประกอบชิ้นส่วนสัมฤทธิ์ลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
การบูรณะโบราณวัตถุชิ้นใหม่นี้ยังบ่งชี้ว่าหลุมบูชายัญ 2 หลุม ถูกขุดขึ้นพร้อมกัน และประติมากรรมสัมฤทธิ์นี้ถูกแยกเป็นสองส่วนก่อนฝัง ซึ่งนับเป็นองค์ความรู้อันมีคุณค่าต่อการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ตามลำดับเวลาของหลุมบูชายัญแต่ละหลุม เหตุผลของการทำลายโบราณวัตถุ และภูมิหลังทางสังคมในขณะนั้น
เมื่อปี 1986 คณะนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุล้ำค่าหลายพันชิ้นจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 1 และหมายเลข 2 อาทิ คทาทองคำ ต้นไม้สัมฤทธิ์ ซึ่งปลุกกระแสความสนใจจากทั่วโลก ต่อมามีการขุดค้นหลุมบูชายัญเพิ่ม 6 หลุม ตั้งแต่ปี 2020 โดยปัจจุบันมีการค้นพบโบราณวัตถุมากกว่า 50,000 ชิ้น อาทิ เครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องทอง เครื่องปั้นดินเผา และวัตถุทำจากงาช้าง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.jeenthainews.com/china-news/40824_20220616
ติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนจากแดนมังกรและทั่วทุกมุมโลก:
https://www.jeenthainews.com/
ที่มา : สำนักข่าวซินหัว
โบราณวัตถุ
ประวัติศาสตร์
จีน
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย