Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จิด.ตระ.ธานี #ให้ภาพเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2022 เวลา 08:51 • ศิลปะ & ออกแบบ
หลายปีก่อน ผมเคยถูกวิจารณ์ลับหลังทำนองว่า “งานลายเส้นของผมไม่ได้เรื่อง เพราะไม่มีลักษณะตามแบบแผนที่เคยสอนกันมา ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง” แถมคนวิจารณ์ยังเป็นศิลปินมีชื่อเสียงในวงการ #ศิลปะไทยร่วมสมัย ปัจจุบันยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปะเก่าแก่ชั้นนำ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศอีกด้วย
จริงๆ การวิจารณ์นี้ ก็มีส่วนถูกอยู่ เพราะ #ลายเส้นไทย ของผม มีพัฒนาการปรับรูปแบบจนมีลักษณะเฉพาะตัว ที่แตกต่างไปจากงานประเพณีแบบดั้งเดิมจริง ไม่ต่างกับ...ศิลปินนักร้องที่มีเสียงเอื้อนลูกคอในแบบเฉพาะตัว ไปร้องที่ไหนใครก็จำได้ แต่การจะชอบหรือไม่ชอบสไตล์งานแบบที่ผมสร้างขึ้นมานั้น ถือเป็นรสนิยมส่วนบุคคลเฉพาะตัวของแต่ละคนไป ซึ่งผมไม่เคยมีปัญหาใดๆ
เหมือนร้านขาย #ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย (ซึ่งถือเป็น #สูตรอาหารไทยโบราณ ที่น่าจะมีอายุเกือบๆ 100 ปีแล้วกระมัง) ที่มีรสชาติให้เลือกหลากหลาย ใครชอบใจแบบไหนก็ไปกินแบบนั้น ไม่ควรผูกขาดว่าต้องรสชาติแบบฉันสิ เพราะทั้งแท้และดั้งเดิมที่สุด มันจึงต้องอร่อยที่สุดด้วย เจ้าโน้นมันเป็นผัดไทยแบบฟิวชั่น ผิดขนบ อย่าไปกินมัน บลาๆ
ส่วนตัวผมเองมองว่า...อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านนี้ดูจะมีจิตใจที่คับแคบเกินไปหน่อย เพราะมีความเห็นจำกัดอยู่ในกรอบว่า #ความงามของศิลปะไทย ต้องมีแค่รูปแบบเดียวเท่านั้น ที่สมควรจัดให้อยู่ในฐานะที่ควรแก่การยกย่องเชิดชู ส่วนอะไรก็ตามที่ผิดแผกไปจากขนบนี้ ถือว่าไม่งาม ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หากพูดด้วยสำนวนชาวบ้านๆ ก็ว่ามัน “ผิดผี” ก็ว่าได้
แต่....หากคุณได้ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี กินเวลาหลายชั่วอายุคน จะพบว่า...งานไทยกลับมีพลวัติ มีการเปลี่ยนแปลงโดยรับของใหม่เข้ามาพัฒนาของเก่าอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง แบบที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดกัน
จน #นักประวัติศาสตร์ศิลปะไทย สามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลายชั้นว่า รูปแบบงานไทยลักษณะนี้ๆ ตรงกับยุคสมัยใด เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง หรืออยุธยาตอนปลาย สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ ก็ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มตั้งแต่ ร.1 ถึง ร.3
หรือสมัยที่ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะแบบฝรั่งเข้ามาผสมผสานเยอะมาก ในช่วง ร.4 ถึง ร.5 จนมาถึงสมัย ร.7 ก็มีลักษณะจำเพาะลงไปอีก รวมไปถึงงานศิลปะไทยที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ แม้จะร่วมสมัยเดียวกัน (เช่น สมัย ร.5) ก็ยังมีความแตกต่างที่มีลักษณะเฉพาะตัวเช่นกัน อาทิ ศิลปะล้านนาในภาคเหนือ ศิลปะภาคกลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือศิลปะท้องถิ่นแบบภาคอีสาน ซึ่งล้วนมีอัตลักษณ์ที่ต่างกันอย่างชัดเจน
ป่วยการที่จะยึดว่า ต้องแบบนี้ๆ สิ ถึงจะไทยแท้ ไม่แตกแถว หรือไม่ก็อะไรๆ เทือกนั้น หากคุณไม่ชอบสไตล์แบบที่ผมพัฒนาขึ้น (ซึ่งก็มีต้นรากมาจากงานไทยประเพณีโบราณนั่นแหละ) ส่วนตัวผม....ยังไม่เคยอวดอ้างเลยว่า ต้องงานแบบผมสิ! ถึงจะดีที่สุด เปล่าเลย
อีกอย่างคุณค่าในงานศิลปะของ #ครูช่างโบราณ ที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมนั้น ก็ไม่ได้ถูกทำลายลงไปแต่อย่างใด กลับยังมีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่ขาดสาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้เรียนจะเลือกเดินในสายอนุรักษ์ คือเลียนงานครูให้มีลักษณะคงเดิมให้มากที่สุด ไม่แตกแถว หรืออีกสายคือ..อยากจะพัฒนาต่อยอดจากงานครู นั่นก็เป็นสิทธิ์ที่นักเรียนศิลปะทุกคน สามารถเลือกได้ ไม่ผิดอะไร
อีกอย่างควรให้ผู้เสพงานศิลปะได้เป็นคนเลือกเอง จะดีกว่ามั้ย? เพราะไม่ว่าคุณจะเลือกเสพงานสายอนุรักษ์ หรือเลือกเสพงานสายพัฒนาฟิวชั่น ก็ล้วนแต่เป็นงานศิลปะไทยแบบร่วมสมัยด้วยกันทั้งสิ้น เหตุเพราะมันเกิดขึ้นในยุคนี้ ไม่ได้ข้ามเวลามาจากในอดีต
โดยศิลปินในแต่ละยุคๆ มักสอดแทรกตัวตน และความเป็นจริงของชีวิตช่างเขียนแต่ละคนๆ ลงไปในผลงานเสมอ คุณค่าของงานศิลปะที่สืบทอดรากเหง้ามาจากงานโบราณ จึงไม่ควรหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตามแบบอย่างที่คุณหรือใครๆ ปักใจชอบอยู่แบบเดียว ผลงานรูปแบบอื่นๆ เขาก็มีชีวิตชีวา โลดแล่นได้อย่างเป็นตัวของเขาเองเช่นกัน จะว่าไป.... #ศิลปะ ก็ไม่ได้ต่างจากชีวิตมนุษย์ เพราะมันมีพลวัติอยู่เสมอ ไม่เคยถูกจับแช่แข็งให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ด้วยน้ำมือของใครๆ ได้จริง ตรงกันข้ามมันกลับแปรเปลี่ยนเลื่อนไหลไปได้อยู่ตลอดเวลา
วาดเส้นพู่กันด้วยสีน้ำบนกระดาษ #พริ้มเพรา : be Graceful (2563/2020) 29.7 x 42 cm โดย จิด.ตระ.ธานี
จิด.ตระ.ธานี : #PaintingStories #เล่าสู่กันฟังนะครับ
#Jitdrathanee
#ลายเส้นไทยจตุรงคธาตุ #วาดเส้นพู่กัน #ThaiPatternsOf4Elements #BrushDrawing
facebook:
www.facebook.com/jitdrathanee
Youtube:
www.youtube.com/Jitdrathanee?sub_confirmation=1
instagram:
www.instagram.com/jitdrathanee
twitter:
https://twitter.com/jitdrathanee
website:
www.jitdrathanee.com
blockdit:
www.blockdit.com/jitdrathanee
วาดเส้น
ศิลปะไทย
drawing
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Painting Stories
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย