30 มิ.ย. 2022 เวลา 14:00 • สุขภาพ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Heart Attack)
โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน เนื่องจากมีไขมันสะสมในผนังด้านในของหลอดเลือด เป็นผลให้ทางที่เลือดไหลผ่านแคบลง เลือดไหลไม่สะดวก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากรุนแรงทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
1. เพศชาย หรือเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
2. สูบบุหรี่
3. ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือโคเลสเตอรอลแอล ดี แอล ชนิดร้าย)
4. ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ
5. โรคความดันโลหิตสูง
6. โรคเบาหวาน
7. อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
8. มีบุคลิกภาพเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เครียดเป็นประจำ
9. มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว
อาการที่สำคัญของภาวะหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะออกแรง แต่เมื่อได้พักแล้วจะดีขึ้นโดยจะรู้สึกแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก ค่อนมาทางซ้าย เจ็บลึกๆ หายใจไม่สะดวก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด บางรายนอกจากแน่นหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ อีกด้วย
1. การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
2. การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง
• ยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจ ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
• ยาเพื่อใช้สลายลิ่มเลือด ที่อุดกั้นหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะได้ประโยชน์มากถ้าใช้ได้เร็วที่สุด หลังจากที่หลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันอย่างเฉียบพลัน
• ยาอื่นๆ ที่ใช้รักษาภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ยาพวกนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นเท่านั้น
3. การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยบอลลูน เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยการใช้สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่โคนขาหรือข้อมือ เข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบและขยายหลอดเลือด โดยการทำบอลลูนที่ปลายของสายสวนหัวใจพองขึ้น เพื่อที่จะดันหลอดเลือดที่ตีบให้ขยายออกจะได้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
4. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจใหม่ (Bypass)โดยการใช้หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำที่ขา มาต่อหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเพิ่มทางเดินของเลือดที่จะมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
Video Credit TikTok @Sikarinhospital
ทุกคนอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปีกันนะครับ โรคนี้เป็นภัยเงียบบางรายไม่เคยแสดงอาการอะไรก่อนเลย อยู่ๆ ก็เป็นหนักเลยก็มี
เพื่อนร่วมงานของผมคนหนึ่งเขาบ่นเจ็บตรงซี่โครงด้านซ้ายมานาน เขาคิดว่าเพราะโดนลูกฟุตบอลเตะอัดใส่ตอนเตะบอลกับเพื่อนๆ ตอนนั้นก็ไม่คิดว่าจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไปหาหมอเอ็กซเรย์ดูไม่มีอะไรแตกหัก จึงกินยาแก้ปวดมาเรื่อยๆ
อยู่มาวันหนึ่งในระหว่างที่เขาเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ก็เกิดอาการวูบขึ้น และ หมดสติไป คนในรถที่เดินทางไปด้วยตกใจกันมากทำอะไรไม่ถูก โชคดีที่ภรรยาเขามีสติดีมากได้ค้นหาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลในทันที โชคดีอีกอย่างคือโรงพยาบาลอยู่ใกล้มาก ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีก็ถึงโรงพยาบาลแล้ว
ผลวินิจฉัยบอกว่าเพื่อนร่วมงานของผมคนนี้เส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ซึ่งเป็นมานานแล้ว และ ตีบจนจะครบทุกเส้นแล้ว คุณหมอหมอว่าโชคดีมากที่มาถึงโรงพยาบาลทันเวลา ไม่อย่างนั้นคงไม่รอดแล้ว
จากนั้นคุณหมอก็ทำเรื่องส่งตัวเพื่อนร่วมงานของผมไปทำบอลลูนที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด และ พักรักษาตัวอยู่หลายวัน ตอนนี้เขากลับมาทำงานได้ตามปกติแล้ว และ อาการเจ็บตรงซี่โครงที่เคยหาสาเหตุไม่ได้ก็ได้หายไปด้วย
เราไม่มีทางรู้เลยว่าโรคภัยไข้เจ็บจะเดินทางมาถึงเราวันไหน ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต่อให้ป้องกันอย่างดีแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้เตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับมันด้วยการวางแผนทำประกันให้รอบด้าน คุ้มครองทั้งรายได้ และ สุขภาพของเรา
ในวันที่เราล้ม ทุกอย่างจะต้องไม่ล้มตาม ต่อให้นอนป่วยอยู่โรงพยาบาลเป็นเดือนๆ ก็ไม่กระทบกับเงินที่เราทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยหามาทั้งชีวิต
ในวันที่เราจากไป คนที่อยู่จะต้องใช้ชีวิตต่อไปได้ เพราะในวันที่หัวหน้าครอบครัวจากไป สำหรับภรรยา คือ สูญเสียสามีไป
สำหรับลูก คือ สูญเสียพ่อไป
สำหรับครอบครัว คือ สูญเสียรายได้ไป
การคุ้มครองรายได้จึงสำคัญมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของ “ประกันชีวิต”
ผมจึงอยากเชิญชวนให้มาลองศึกษา ทำความรู้จักกับมันดูครับ แล้วการใช้ชีวิตของคุณจะสนุกขึ้นเมื่อหมดความกังวลเรื่องการขาดรายได้ และ ปัญหาสุขภาพ
ห้ามเชื่อผม จนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยตัวเองนะครับ
Assure is more than insure.
Issarapong Khamdee

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา