1 ก.ค. 2022 เวลา 10:00 • ข่าวรอบโลก
การบินล้ำแดนเข้ามาในน่านฟ้าไทยของเครื่องบินทหารเมียนมา
เมื่อช่วงสายของวันที่ 30 มิ.ย.65 มีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บินล้ำแดนเข้ามาในพื้นที่ชายแดน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
โดยราษฎรในพื้นที่ฯ ได้มีการบันทึกภาพ VDO ของอากาศยานดังกล่าว
**ลิ้งค์ยูทูป https://www.youtube.com/watch?v=Ttf3acCaPpY **
1
สมจิต รุ่งจำรัสรัศมี ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย รายงานจาก อ.พบพระ จ.ตาก ช่วงบ่ายวันนี้ (30 มิ.ย.) ถึงสถานการณ์การสู้รบะหว่างทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกองพลน้อยที่ 6 กองกำลังเคเอ็นดีโอ และกองกำลังพีดีเอฟของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government: NUG) บริเวณบ้านอูเกรทะ ใน อ.สุการี จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ของเมียนมา ยังคงมีการสู้รบอย่างหนัก ซึ่งเป็นบริเวณตรงข้ามบ้านวาเล่ย์ใต้ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก
**ข้อความจากข่าว BBC NEWS ไทย https://www.bbc.com/thai/thailand-61994620 **
1
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ (บก.ทอ.) พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 11.16 น. หน่วยงานของกองทัพอากาศได้รายงานการตรวจพบอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บินล้ำแดนบริเวณอำเภอพบพระ จังหวัดตาก โจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อยบริเวณแนวชายแดนและบินล้ำแดนเข้ามายังพื้นที่ประเทศไทย ก่อนเป้าหมายจะจางหายไปจากระบบเรดาร์เฝ้าตรวจการณ์ของกองทัพอากาศในเวลาต่อมา
**ข้อความจากข่าว MATICHON ONLINE https://www.matichon.co.th/politics/news_3428267 **
ซึ่งเมื่อทำการตรวจสอบในเวลาต่อมา คาดว่าอากาศยานดังกล่าว คือ MIG-29 ของกองทัพอากาศเมียนมา ซึ่งมีประจำการอยู่ประมาณ 30 ลำ
ที่มา https://www.flightglobal.com/download?ac=75345
โดยเครื่องบินขับไล่ MIG-29 ที่กองทัพอากาศเมียนมามีประจำการ มุ่งเน้นการปฏิบัติภารกิจโจมตีเป้าหมายภาคพื้นเป็นหลัก จึงมีความหลากหลายในการเลือกติดตั้งอาวุธประเภทอากาศสู่พื้น (Air-to-Surface Missiles) ระเบิดนำวิถี (Guided Bombs) ระเบิดไม่นำวิถี (Bombs) และปืนใหญ่อากาศชนิดติดตั้งภายในลำตัวอากาศยาน (Built-in Gun GSh-301)
จากความคิดเห็นต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์
ที่วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์บินล้ำแดนของเครื่องบินทหารเมียนมาเข้ามาในน่านฟ้าไทยนั้น
เพจ ILHAIR ขอนำเสนอแนวคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking
ที่ใช้การคิดด้วยหลักการและเหตุผลเป็นหลัก และพยายามไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง ดังนี้
2
1. การบินล้ำแดนเป็นเรื่องที่เราเคยได้ยินกันทั่วไป เช่น
เครื่องบินรัสเซียบินล้ำแดนเข้าไปในน่านฟ้าของฟินแลนด์ หลังจากที่ฟินแลนด์ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก NATO
หรือ เครื่องบินจีนบินล้ำแดนเข้าไปในน่านฟ้าของไต้หวัน
หรือแม้กระทั่ง การบินล้ำแดนของเครื่องบินฝึกทางทหารในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย
เนื่องจากฐานทัพอากาศ Alor Setah ซึ่งเป็นโรงเรียนการบินของกองทัพมาเลเซีย
อยู่ห่างชายแดนไทยประมาณ 50 กิโลเมตร
(วัดแบบการกระจัด คือเป็นเส้นตรง ตามหลักในการพิจารณากำลังทางอากาศ)
3
การตรวจ Pre-Flight ของครูการบินและศิษย์การบินอากาศ ฐานทัพอากาศ Alor Setah
2. กฏการใช้กำลัง (Rules of Engagement) มีลำดับขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก
แปลให้เห็นภาพง่ายๆ : แจ้งให้ทราบ-ประกาศเตือน-ใช้กำลัง
โดยขึ้นกับสถานการณ์ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้ถือสิทธิ์ในการสั่งการ
และความรับผิดชอบต่อสถานการณ์
จากข้อ 1. และ 2. เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น จึงขอสมมติสถานการณ์ดังนี้
…มีชายแปลกหน้าถือของบางอย่างที่
“อาจเป็นอาวุธ” เดินเข้ามาในเขตรั้วบ้านของเรา
**ในเวลากลางวัน** เราจะทำเช่นไร ?
ก. ถาม (เสียงดุๆ) ว่ามีธุระอะไร เข้ามาในบ้านเราทำไม
ข. นำอาวุธที่เรามี (สมมติว่า ปืน) ยิงชายแปลกหน้า
ค. ทำข้อ ก. ก่อน และหากชายแปลกหน้ามีท่าทีคุกคาม จึงทำข้อ ข.
ILHAIR ไม่มีคำเฉลย เพราะเชื่อว่าท่านผู้อ่านมีคำตอบ พร้อมเหตุผลที่แตกต่างกันไป
แต่ ILHAIR ขอขยายความ
“อาจเป็นอาวุธ” และ
**ในเวลากลางวัน** ดังนี้
“อาจเป็นอาวุธ” หมายถึง
การที่ระบบเรดาร์ป้องกันทางอากาศ ณ ปัจจุบัน
ตรวจจับการบินเข้ามาในรัศมีปฏิบัติการของเรดาร์ได้
แต่ !!! เรดาร์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก ก็ยังไม่สามารถตรวจจับได้ว่า
อากาศยานติดตั้งอาวุธหรือไม่
และเป็นอาวุธประเภทใด เช่น อากาศสู่อากาศ, อากาศสู่พื้น, ไม่ติดตั้งอาวุธ
4
**ในเวลากลางวัน** หมายถึง
สภาวะปัจจุบันของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่มีปัญหาความขัดแย้ง จนอาจเกิดการใช้กำลังเข้าปะทะกัน จนกลายเป็นสงคราม
เพราะ
ถ้าเป็นสภาวะสงคราม ซึ่งเปรียบได้กับ
การมีชายแปลกหน้าถือของบางอย่างที่ “อาจเป็นอาวุธ” เดินเข้ามาในเขตรั้วบ้านของเรา **ในเวลากลางคืน**
คำตอบ ก. ข. ค. ที่ท่านผู้อ่านเลือกไว้ก่อนหน้านี้ คงเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
และหากมีประเด็นสงสัยในแง่ที่ว่า ถ้าประเทศที่มีพรมแดนติดกันจะรบกัน ก็คงไม่ประกาศแจ้งกันล่วงหน้า
คำตอบ คือ ใช่ครับ แต่…ก็จะต้องมีสิ่งบอกเหตุ หรือสถานการณ์ก่อนเกิดความขัดแย้ง (Road to Crisis)
ที่บ่งบอกถึงท่าที ทั้งกระบวนการด้านการทูตที่ล้มเหลว การเคลื่อนกำลังพล การซ้อมรบ
ดังเช่น สงครามยูเครน-รัสเซีย
ซึ่งรัสเซียเริ่มซ้อมรบตามแนวชายแดนยูเครนประมาณ 1 เดือน ก่อนการบุกรุกล้ำดินแดนยูเครนเมื่อ 24 ก.พ.65
โฆษณา