2 ก.ค. 2022 เวลา 01:24 • สุขภาพ
เส้นเลือดโป่งพองอันตราย
มารู้จักโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองกันเถอะ
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นอาการที่ผนังหลอดเลือดอ่อนแอและถูกความดันเลือดดันออกทำให้เกิดการโป่งพอง มีสาเหตุได้จากทั้งความเสื่อมตามวัยของผู้สูงอายุ หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด หรือคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น กลุ่ม Marfan มีลักษณะรูปร่างสูงผอม แขนขายาว เพดานปากสูง สายตาผิดปกติ โดยจะทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอ จึงเป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงของโรคนี้
หากใครที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรรีบพบแพทย์และรักษาโดยด่วน เพราะหลอดเลือดแดงใหญ่นั้นมีความสำคัญกับร่างกายมาก เปรียบเสมือนท่อประปาหลักที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และรวมไปถึงในช่องท้อง เช่น ตับ ไต และลำไส้ แน่นอนว่าถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างการที่เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และปริแตกอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ถึง 50-90%
ไม่แสดงอาการเบื้องต้น...ให้หมั่นสังเกตตัวเอง
การตรวจพบโรคนี้ส่วนมากมักตรวจเจอโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ทรวงอก ให้สังเกตว่ามีอาการปวดท้อง ปวดหลัง แน่นหน้าอก หน้ามืดบ่อยหรือไม่ และให้คลำที่บริเวณช่องท้องว่ามีก้อนที่เต้นตามจังหวะชีพจร หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก หรือเสียงแหบหรือไม่ เพราะอาการเหล่านี้อาจเกิดจากเส้นเลือดที่โป่งพองไปเบียดอวัยวะข้างเคียง ทางที่ดีให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการต่อไ
แนวทางการรักษาในระยะเริ่มต้น
หากตรวจพบแล้ว ควรเริ่มตั้งแต่การควบคุมพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายแรงๆ และควบคุมความดันโลหิต เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมให้หลอดเลือดแดงใหญ่มีโอกาสปริแตก ซึ่งหากหมอพิจารณาแล้วอาการยังอยู่ในระยะที่ไม่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงที่จะปริแตกน้อย ก็ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่ควรตรวจอาการเป็นระยะเพื่อความปลอดภัย
การรักษาด้วยการผ่าตัด
ถ้าหลอดเลือดแดงใหญ่มีอาการที่เสี่ยงต่อการปริแตกหรือหลอดเลือดโตเร็วผิดปกติอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะถ้าเกิดการแตกขึ้นอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้ โดยการผ่าตัดโรคนี้แบ่งการผ่าตัดออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1. การผ่าตัดใหญ่แบบเปิด (open surgery)
3. เป็นการผ่าตัดผ่านทางช่องทรวงอก หรือช่องท้อง ขึ้นอยู่ว่าเกิดการโป่งพองบริเวณใด แล้วทำการใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปทดแทนบริเวณที่มีความผิดปกติของเส้นเลือด
4. การผ่าตัดด้วยวิธีการใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Stent Graft)
6. เป็นการผ่าตัดผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบเพื่อสอดหลอดเลือดแดงเทียมเข้าไปแทนบริเวณที่มีการโป่งพองหรือปริแตก วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้มีแผล
เป็นการผ่าตัดผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบเพื่อสอดหลอดเลือดแดงเทียมเข้าไปแทนบริเวณที่มีการโป่งพองหรือปริแตก วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้มีแผลขนาดเล็ก ทำให้ลดความเสี่ยง และการเสียเลือดลงได้
นพ.กิตติชัย เหลืองทวีบุญ
ด้านศัลยกรรมทรวงอก หลอดเลือดและหัวใจ
โรงพยาบาลพญาไท
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ไพโรจน์ จิวตระกูลวงศ์ ที่ปรึกษาเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมและฟื้นฟูอาชีพให้ชีวิตมีความมั่นคงมีอิสรภาพให้กับชีวิตที่เป็นไปได้
โทร และไลน์ 081-6032249
ป้องกันได้ด้วยกระเทียมไทยสด
7-10 กลีบหลังอาหารทุกมื้อ กินติดต่อกัน 3 เดือน หลอดเลือดก็สะอาดปลอดภัยทั้งจากตีบและแตกรวมทั้งเส้นเลือดโป่งพองด้วย
โฆษณา