2 ก.ค. 2022 เวลา 06:00 • ศิลปะ & ออกแบบ
“ถุงปุ” (ชาวลัวะ บ้านมืดหลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่)
“ถุงปุ” หรือ "ถงปุ" มีลักษณะเป็นถุงย่ามสีขาวลายทางซึ่งเกิดจากการสลับสีเส้นฝ้ายเส้นยืนระหว่างสีดำกับสีขาวให้เกิดเป็นช่องลายทางสีขาวคั่นด้วยเส้นสีดำ ทอด้วยเส้นฝ้ายแท้ โดดเด่นบริเวณใกล้ตะเข็บทุกส่วน จะทอด้วยเส้นฝ้ายสีแดง เย็บประกอบถุงด้วยวิธีการเย็บแบบ “สะกง” หรือการเย็บเก็บชายผ้า บริเวณตะเข็บถุง
“ถุงปุ” หรือ "ถงปุ" ใช้สำหรับสตรีชาวลัวะประกอบพิธีกรรมแต่งงาน ในฐานนะที่เป็น “เจ้าสาว” ซึ่งจะสะพาย “ถุงปุ” ที่ทอโดยฝ่ายเจ้าสาว หรือแม่ (แม่เจ้าบ่าว หรือแม่เจ้าสาวก็ได้) ภายในถุงนิยมใส่เครื่องเงิน เช่น เม็ดเงิน (ลักษณะคล้ายเงินพดด้วง) เงินแถบ หรือเงินฮาง เครื่องประดับต่างๆ ที่ทำมาจากเงินแท้ หรือส่วนผสมจากเงินแท้ (เนื้อเงิน 92.5 เปอร์เซน)
ขอบพระคุณข้อมูลจาก แม่เพลิน (ชาวลัวะบ้านมืดหลอง อ.เม่แจ่ม จ.เชียงใหม่) คุณนุสรา เตียงเกตุ (แม่นุส) คุณพรต เสตสุวรรณ (พี่ตู้)
เขียน เรียบเรียงข้อมูล และรูปภาพ : อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์
ถุงปุโบราณ ผ้าสะสมส่วนบุคคล คุณนุสรา เตียงเกตุ (แม่นุส)
เป็นศรีเวียงน่าน (27 กันยายน 2563)
สามารถแชร์ข้อมูลและรูปภาพได้
แต่ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดลอกข้อมูล และรูปภาพเพื่อไปใช้ในงานส่วนตัว ก่อนการได้รับอนุญาตทุกกรณีครับ
.
อ้างถึงสิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
โฆษณา