3 ก.ค. 2022 เวลา 15:33 • ไลฟ์สไตล์
ซีรีย์การเงิน - การออมเงิน(ต่อ)
เขาว่ากันว่าตีเหล็กต้องตีตอนมันร้อน
ผู้ใดที่ได้อ่านบทความก่อนหน้ามาแล้ว ก็อาจจะอยากรู้ต่อว่า แล้วจะทำยังไงกันดีล่ะ ?
ซึ่งเราจะมาลงดีเทลต่อในส่วนของการออม และการลงทุนกันนะครับ
ขอเปิดประเด็นด้วยการออมในรูปแบบที่มีกันมานานแล้ว เช่น……
1. ฝากเงินในธนาคาร > ดอกน้อยมาก แถมหัก tax อีก :((
2. ตราสารหนี้ > ตัวนี้ก็ดอกน้อย แต่ดูดีกว่าข้อ 1 ครับ 🤦🏻‍♂️
3. กองทุนหุ้น > ก็ดีนะครับ ถ้าเมื่อก่อน เพราะถ้าเราเลือกกองถูก โอกาสกำไร 8–12% ต่อปี ก็ชนะเงินเฟ้อครับ แต่ต้องเลือกลักษณะธุรกิจที่เป็น mega trend ต้องมองให้ออกครับ ว่าอนาคตอะไรที่จะปัง เช่น Apple, Tesla, Facebook เป็นต้น
4. กองทุนอื่นๆ > อสังหาฯ, น้ำมัน, ทอง >> เสี่ยงสูงครับ ถ้าไม่รวยก็โอ้ยไปเลยครับ 🤪
5. ซื้อหุ้นเอง > ต้องมีเวลาให้กับมันครับ เพราะต้องศึกษาบริษัท และแนวธุรกิจ >> เหมือนกันครับ ถ้าไม่รวยก็โอ้ยไปเลยครับ 🤪
6. บิทคอยน์ > อันนี้ต้องเปิดใจครับ ไว้ทำแยกสำหรับพี่แกเลย เพราะผมลงทุนในนี้ครับ ไม่ได้มาชักชวนขายคอร์สไรนะครับ ฟรีๆ กันไปเลยจ้า 🤣
ซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็มีนะครับ ในการลงทุนต่างๆ แต่อะไรที่ดูแล้ว %กำไรที่ได้คืนมันเวอร์มากไป ให้พึงระวังไว้ว่ามันคือ แชร์ลูกโซ่ !
บ้านผมเพิ่งโดนมาปีที่แล้ว หมดไปหลายแสนเหมือนกันครับ เอาเป็นว่าใช้ชีวิตกันลำบากขึ้นเลย ส่วนนึงของซีรีย์นี้ เพื่อไม่ให้คนถูกหลอกอีกครับ ถ้าอยากได้ businness model ของแชร์ลูกโซ่ ไว้ว่างๆ ผมจะมาเขียนให้ครับผม 🤬
จากแหล่งลงทุน 6 ข้อ ข้างต้น ดูดีสุดก็กองทุนรวม กับ bitcoin นะครับ
ซึ่งหลายคนอาจพูดได้ว่า ไม่มีเงินก้อน, ราคาต่อหุ้น/เหรียญ มันแพงไปแล้ว, ซื้อตอนนี้ทันไหม ?
ตอบเลยว่า เรามีเครื่องมือที่จะมาช่วยแก้ปัญหาให้ท่านได้ครับ สิ่งๆ นั้นก็คือ "DCA"
ไอ้เจ้า DCA เนี่ย ย่อมาจาก "Dollar Cost Average" ครับ ให้เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่ามันคือการเฉลี่ย เพื่อลดความเสี่ยง นั่นเองครับ
ขอยกตัวอย่าง การซื้อหุ้น A โดยผมแบ่งไม้ซื้อ 3 ครั้ง ตามที่จุด 1, 2 และ 3 นะครับ โดยแต่ละไม้ ใช้จำนวนเงินที่เท่ากัน
คิดง่ายๆ ราคาเฉลี่ยซื้อ เราน่าจะอยู่ระดับราคาประมาณเส้นสีแดงครับ แต่ก็มีความเป็นไปได้ 2 ทางครับ
1. ราคาในอนาคตของหุ้น A ต่ำกว่าเส้นสีแดง > ขาดทุน
2. ราคาในอนาคตของหุ้น A สูงกว่าเส้นสีแดง > กำไร
หลายคนอาจจะแบบว่า เอ้า ! ทำไมไม่ซื้อที่จุดที่ 2 ไปเลย 3 ไม้รวดล่ะ ?
คำตอบง่ายๆ ครับ คือเราไม่รู้ว่าตรงไหนสูงที่สุด ตรงไหนต่ำที่สุด นั่นเอง
แต่ถ้าเราใช้วิธี DCA ในการเข้าซื้อ ผลที่ได้ก็คือ เวลาขาดทุนก็จะไม่ขาดทุนเยอะ ในทำนองเดียวกันเวลาได้กำไรก็จะกำไรไม่เยอะ
และการ DCA มีหลายวิธี เช่น ซื้อทุกวันที่เงินเดือนออก, ซื้อทุกครั้งที่หุ้น A ขยับราคา 5% ไม่ว่าขึ้นหรือลง และอีกมากมายแล้วแต่ความครีเอทของแต่ละคน
แต่ ! เราต้องมีวินัยนะครับ ถ้าช่วงมันขึ้นแล้วเราไม่อยากซื้อ ซื้อเฉพาะตอนลง อันนี้เรียกว่า TJG หรือชื่อเต็มๆ ว่า "Tam Jai Gu method" นั่นเองคร้าบ 55 (ก็อบลุงนิกมาเลยคำนี้ เพราะฮาจริง 555)
อีกนิดครับ จะกำไรจากการออมด้วยวิธี DCA เราต้องเลือกออมให้ถูกตัวด้วยนะครับ ถ้าเลือกผิด ก็ขาดทุนอยู่ดีครับ ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน
จริงๆ พอได้ละนะครับ สำหรับ concept การ DCA
ถ้ามีคำถามต่อว่า แล้วควรจะ DCA ไปถึงเมื่อไหร่กันล่ะ ?
ถ้าคิดแบบนี้แสดงว่ามาถูกทางละครับผม เพราะเราจะไม่ DCA ไปเรื่อยๆ เราจะทำถึงแค่จุดๆ นึง แล้วพอ เพื่อเอาเงินสดไปทำอย่างอื่นต่อครับ
ดังนั้นเราจะมาสอนการคำนวณเป้าคร่าวๆ กันนะครับ
สมมติว่าตัวผมอายุ 25 ปี อยากเกษียณสัก 60 ปี (เท่ากับว่ามีเวลาเก็บ 35 ปี) โดยอยากมีเงินใช้เล่นเดือนละ 30,000 บาท
ก็คำนวณเลยครับ เงินเฟ้อ 35 ปี โดยคิดที่เงินเฟ้อปีละ 3% > 1.03³⁵ = 2.81
โดย 30,000 บาท ตอนนี้ จะเท่ากับ 2.81*30,000 = 84,415 ในอีก 35 ปีข้างหน้า
(ต่อปีก็ 84,415 x 12 = 1,020,000 บาท)
คิดย้อนกลับไปว่า แล้วเราต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ ?
ต้องคาดการว่าหุ้น A เราเนี่ยจะเฉลี่ยทำกำไรให้เราปีละกี่เปอร์เซ็นต์กันก่อน ผมคิดว่าหุ้น A จะทำกำไรปีละ 8%
แทน ก ด้วยจำนวนเงินที่ต้องเก็บต่อปีนะครับ
ก x 1.08³⁵ = 1,020,000
ก x 14.76 = 1,020,000
ก = 68,987.23 บาท/ปี หรือ ประมาณ 5,850 บาท/เดือน
ซึ่งถ้าลองเอาไปคำนวณกันเองแล้วจะพบว่ายิ่งจำนวนปีที่เก็บเยอะ เงินที่เราต้องหามาออมก็น้อยลงตาม วิธีนี้จึงเหมาะกับวัยรุ่นสร้างตัวที่แท้จริงครับ ยิ่งจำนวนปียิ่งเยอะยิ่งเก็บง่ายครับ
วันนี้เอาขำๆ เท่านี้ก่อนครับ ใครลองคำนวณแล้วได้ความยังไง แชร์กันได้นะค้าบ
โฆษณา