4 ก.ค. 2022 เวลา 02:37 • การศึกษา
Ep.05 บทความนี้ จะกล่าวถึง ในส่วนของ string หรือข้อความ โดยโปรแกรมไพทรอน เองมีคำสั่งหรือฟังก์ชั่น ที่สามารถใช้งานกับstring ค่อนข้างหลากหลาย
ตัวอย่างด้านล่าง เป็นการกำหนด คำว่า hello ใส่ในค่า a แล้วเราสามารถพิมพ์ ออกมาทาง terminal ได้ ด้วยคำสั่ง print ผ่านค่า a ได้โดยตรง
นอกจากนี้ string ยังเป็น array ในตัวเองอีกด้วย ตัวอย่างเช่น b = “ the hotmail” ถ้าผมกำหนดให้ปริ้นออกมาเฉพาะตั้งแต่ตัวอักษรตัวที่1
ก็จะสามารถกำหนดได้ ด้วย print(b[1]) ก็จะได้ตัว h นั้นเอง โดย array จะเริ่มด้วย index ตำแหน่ง ที่0 ไม่ใช่1
นอกจากนี้เรายังใช้การวนลูปสำหรับตัวstringได้ด้วย การใช้ลูป for … in (ตามตัวอย่าง) โดยจะไล่ไปทีละตัวอักษรจนครบ ตามตัวอย่างด้านบน
นอกจากนี้เรายังสามารถตรวจสอบกลุ่มคำหรือตัวอักษรที่อยู่ในกลุ่มของสตริงได้ด้วยโดยการใช้ not in , in โดยใช้คำสั่งif ในการแสดงผลผ่าน terminal ได้อีกด้วย
ส่วนตัวอย่างสุดท้ายจะเป็นการเสนอการค้นหาจำนวนตัวอักษรที่อยู่ในประโยคว่ามีจำนวนเท่าไหร่โดยใช้คำสั่ง len() นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดตำแหน่งของตัวอักษรที่เราต้องการปริ้นออกมาได้ด้วยในตัวอย่างได้กำหนดตัวอักษรที่ Index ที่3 ปริ้นจนหมด คำสั่งที่ใช้คือ b[3:] ถ้าเราต้องการ ตัวอักษรที่3 ถึงตัวที่5 ของ ตัวแปรที่เก็บค่า string ให้เขียนว่า b[3:5] เป็นต้น หากไม่กำหนดตัวหน้า และตัวท้าย จะถือว่าเหมารวมหมด
โฆษณา