Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ตาผมยาวใส่แว่นตามือคลำหนังสืออยู่ตลอดวัน
•
ติดตาม
4 ก.ค. 2022 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในวงการเพลงคลาสสิก มีเรื่องลึกลับอยู่เรื่องหนึ่ง
เพลง “ซิมโฟนี หมายเลข 8” ของฟรานซ์ ชูเบิร์ต เป็นเพลงที่แต่งไม่จบและค้างคามานานประมาณ 200 ปีแล้ว
เมื่อปี 2019 Huawei ได้พยายามใช้ AI บนสมาร์ตโฟนของตนแต่งส่วนที่เหลือให้จบ
เราไปดูรายละเอียดกันว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร
ซิมโฟนี หมายเลข 8 ชิ้นนี้รู้จักกันในชื่อ “ซิมโฟนีที่ประพันธ์ไม่จบ” ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่ายมทูตมาเคาะประตูบ้านชูเบิร์ต และพรากชีวิตเขาไปขณะกำลังประพันธ์เพลงนี้ ตอนนั้นเขาอายุเพียง 31 ปีเท่านั้น เรื่องนี้ทำให้ผู้ฟังซิมโฟนีชิ้นนี้มีความซาบซึ้งปนเศร้าตั้งแต่ก่อนจะเริ่มฟัง
แต่จริง ๆ แล้วเรื่องไม่ได้เป็นแบบนั้น ซิมโฟนีนี้มีสี่มูฟเมนต์ (หรือสี่ท่อน) แต่พบโน้ตเพลงแค่สองมูฟเมนต์แรกเท่านั้น โดยชูเบิร์ตร่างมูฟเมนต์ที่ 3 ไว้บางส่วน แต่ไม่พบมูฟเมนต์ที่ 4 เลย
เขาเริ่มแต่งซิมโฟนีชิ้นนี้ก่อนเสียชีวิต 6 ปี และยังได้แต่งซิมโฟนี หมายเลข 9 ไว้ด้วย มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้ บ้างก็ว่าชูเบิร์ตคิดว่าแค่สองมูฟเมนต์แรกก็ครบสมบูรณ์ในตัวแล้ว บ้างก็ว่าสองมูฟเมนต์หลังหายไปหรือหาไม่เจอ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ซิมโฟนี หมายเลข 8 ชิ้นนี้ก็ไม่มีมูฟเมนต์ที่ 3 และ 4
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ Huawei ไม่ได้เจอกับเรื่องดีมากเท่าไรนัก เพราะหลายประเทศกังขาในอุปกรณ์และเครือข่าย 5G ของบริษัท เมื่อปี 2019 บริษัทก็ไปจับเรื่องที่ไม่เป็นภัยคุกคามอย่างเพลงคลาสสิกแทน
Huawei อธิบายว่าได้ให้สมาร์ตโฟนฟังสองมูฟเมนต์แรกของซิมโฟนี หมายเลข 8 และมันได้วิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีที่สำคัญออกมา ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมาก และให้ AI สร้างทำนองมูฟเมนต์ที่ 3 และ 4 ที่ขาดไปขึ้นมา
จากนั้นให้นักประพันธ์เพลง ลูคัส แคนเทอร์ เลือกและเรียบเรียงทำนองที่ AI เสนอ เขาเป็นผู้ดึงทำนองที่คิดว่าดีจาก AI และช่วยเสริมในจุดที่จำเป็น
อันที่จริงค่อนข้างน่าแปลกใจที่แคนเทอร์และ AI ของ Huawei สร้างมูฟเมนต์ที่ 3 และ 4 ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่ชูเบิร์ตทิ้งโน้ตในมูฟเมนต์ที่ 3 ไว้บางส่วน ปกตินักประพันธ์ในอดีตจะเคารพต้นฉบับตอนที่แต่งเพลงส่วนที่ประพันธ์ไม่จบ
เกิตซ์ ริชเทอร์ รองศาสตราจารย์ด้านไวโอลิน คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ให้ความเห็นว่า “ปัญหาใหญ่ที่สุดของผมคือสองมูฟเมนต์นี้ฟังดูไม่คล้ายกับชูเบิร์ต มันเหมือนเพลงในภาพยนตร์มากกว่า”
“สองมูฟเมนต์แรกให้ความรู้สึกสนิทสนม มีลักษณะเฉพาะตัว โศกเศร้า สะท้อนข้างในตัวเรา เป็นการสนทนากับตัวเอง แต่สองมูฟเมนต์หลังกลับมีองค์ประกอบของมหากาพย์และความเร้าใจ จุดจบของมูฟเมนต์ที่ 4 ไม่สอดคล้องกับความรู้สึกหลอนในมูฟเมนต์แรก”
“สองมูฟเมนต์สุดท้ายสื่อถึงความไม่รู้ซึ้งถึงศิลปะและพัฒนาการระหว่างท่อน มันกระตุ้นให้เกิดเสียงโห่ร้องและเสียงปรบมือ นั่นถือว่าไม่น่าประทับใจ”
นักประพันธ์เพลงจะต้องเข้าถึงจิตใจข้างในและมี “คาแรกเตอร์” มันดูเหมือนการทดลองของ Huawei จะขาดตรงจุดนี้ไป ถ้าไม่มี “คาแรกเตอร์” เราก็ไม่มีความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง
แม้ AI ในโลกยุคใหม่ได้คุกคามและเข้ามาทดแทนทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งในบางอาชีพแล้ว เช่น การวิเคราะห์ใบหน้าคนร้าย การวิเคราะห์ฟิล์มเอ็กซเรย์ การขายทางโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ เป็นต้น
แต่การแต่งเพลง โดยเฉพาะเพลงคลาสสิกนั้น AI คงยังทำไม่ได้ เพราะดนตรีนั้นมีจุดประสงค์ให้มนุษย์ฟังเพื่อขัดเกลา “คาแรกเตอร์” ซึ่งมนุษย์มีความซับซ้อนและเป็นปริศนามากเกินไป
ในภาพเป็นสำเนาโน้ตเพลง “ซิมโฟนีที่ประพันธ์ไม่จบ” มูฟเมนต์ที่ 3
ประวัติศาสตร์
พัฒนาตัวเอง
ธุรกิจ
3 บันทึก
2
3
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย