Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad Spine Institute
•
ติดตาม
4 ก.ค. 2022 เวลา 06:23 • สุขภาพ
การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
เมื่อพูดถึงการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยหลายคนอาจรู้สึกกังวลเพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลาพักฟื้นอย่างมากหลังผ่าตัด สำหรับศัลยแพทย์แล้ว การผ่าตัดกระดูกสันหลังถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะการผ่าตัดผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังมีลักษณะกระดูกผิดรูป และจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดที่ซับซ้อน
แต่ข่าวดีก็คือ ปัจจุบันทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำนวัตกรรมหุ่นยนต์มาช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดกระดูกสันหลังได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น ตัวอย่างหนึ่งคือ การนำเทคโนโลยีแขนหุ่นยนต์มาช่วยกำหนดพิกัดให้ศัลยแพทย์สามารถใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าไปในกระดูกสันหลังของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ หรือที่เรียกว่า “การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง”
“การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง”
การผ่าตัดอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง และโรคกระดูกสันหลังบางอย่าง เช่น กระดูกสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังคดศัลยแพทย์จำเป็นต้องใช้ความแม่นยำสูง และต้องวางแผนล่วงหน้ามากกว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆ ซึ่งหุ่นยนต์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการคำนวณหรือวางตำแหน่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ผิดพลาดได้เป็นอย่างดี
หุ่นยนต์เพิ่มความเที่ยงตรง และแม่นยำในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
หุ่นยนต์เพิ่มความเที่ยงตรง และแม่นยำในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง
การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลทั่วโลกได้ใช้วิธีการนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้เป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วย
ความแม่นยำของแขนหุ่นยนต์เกิดจากการคำนวณพิกัดสามมิติจากภาพแสกนคอมพิวเตอร์ที่ทำในห้องผ่าตัด รวมไปถึงแขนกลที่แข็งแรงของหุ่นยนต์ที่ช่วยในการล็อคตำแหน่งในขั้นตอนการใส่เครื่องมือ นอกจากนั้นศัลยแพทย์ยังสามารถเห็นภาพขณะทำการใส่สกรูจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ด้วยเทคนิคดังกล่าวจึงทำให้ความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท และหลอดเลือดลดลงอย่างมาก
ข้อดีอื่นๆ ของการใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดคือ นอกจากทำให้ศัลยแพทย์สามารถวางแผน กำหนดพิกัด และทิศทางของสกรูก่อนการผ่าตัดได้แล้ว ยังสามารถมองเห็นภาพอนาคตของสกรูเมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นจากจอภาพ 3 มิติ ตั้งแต่ก่อนศัลยแพทย์จะเริ่มเปิดแผลเสียอีก
นอกจากนี้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดยังช่วยให้ศัลยแพทย์ทำผ่าตัดผ่านรูทางผิวหนังได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ หรือเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ทำให้แผลมีขนาดเล็ก ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด รวมถึงลดระยะเวลาการพักฟื้น และการสูญเสียเลือดอีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อเสียของการผ่าตัดชนิดนี้ การผ่าตัดจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นราวๆ 30 นาที จากกระบวนการเชื่อมต่อระบบหุ่นยนต์เข้ากับตัวผู้ป่วย
หุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่ศัลยแพทย์ได้
หุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่ศัลยแพทย์ได้
การผ่าตัดกระดูกสันหลังนั้นประกอบไปด้วยขั้นตอนหลายอย่าง แขนหุ่นยนต์มีหน้าที่ในการช่วยกำหนดพิกัด และทิศทางในการฝังสกรูเท่านั้น ซึ่งพิกัดเหล่านี้ก็ยังถูกควบคุมโดยศัลยแพทย์อีกขั้นหนึ่ง ส่วนขั้นตอนการผ่าตัดที่เหลือเช่นการแก้ไขการกดทับของเส้นประสาทซึ่งเป็นงานที่ใช้ความละเอียดอ่อนสูง ยังคงเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ด้วยมือของศัลยแพทย์เช่นเดิม
bumrungrad
กระดูกสันหลัง
สุขภาพ
3 บันทึก
7
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความกระดูกสันหลัง
3
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย