4 ก.ค. 2022 เวลา 06:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ "ใหม่ที่สุด" เสมอไป
หลายครั้งหลายครั้งที่เราเข้าใจว่านวัตกรรมคือสิ่งที่ใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุด
หากแต่ความเป็นจริงแล้วส่วนประกอบของนวัตกรรมนั้นประกอบไปด้วยเทคโนโลยี (Technological Feasibility) ความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ (Business Viability) และที่สำคัญที่สุดคือ “ความต้องการที่จะใช้สอยผลิตภัณฑ์และบริการนั้นของผู้บริโภค” หรือที่เราเรียกว่า “การใช้ความต้องการของ ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง” (Customer centricity)
ยกตัวอย่างโทรศัพท์เครื่องที่ผมโชว์อยู่ในสไลด์ที่เห็นนี้ — ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ที่มีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่สุดเมื่อออกมาสู่ตลาด หากแต่เทคโนโลยีที่ว่านั้นทำให้เครื่องดังกล่าวมีน้ำหนักมาก เทอะทะ อย่างกับดัมเบล และไม่สามารถเก็บแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ตลอดวัน อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการใช้งานกลายเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดใหญ่ จนเกินไป และเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะใช้งานได้เป็นต้น
จาก: http://www.allaboutsymbian.com/features/item/15602_What_makes_a_Nokia_Communicato.php
เมื่เมื่อครั้งที่บริษัท Apple ออก iPhone เครื่องแรกออกมานั้นเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่องโทรศัพท์เครื่องนี้อาจจะไม่ได้ล้ำสมัยมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอแบบสัมผัสหรือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของอุปกรณ์ขนาดเล็ก ซึ่งมีบริษัทอื่นๆสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้ก่อนหน้านี้แล้ว
หากแต่เป็นการรวมเอาความต้องการการใช้งานเฉพาะของอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ที่มีการผสมกันอย่างกลมกล่อม เพราะนักออกแบบได้มองเห็นถึงสิ่งที่ผู้บริโภค “เจ็บจนชิน” (Pain Points) จากการที่ยังไม่มีอุปกรณ์ที่รวมเอาอรรถประโยชน์ของโทรศัพท์ เครื่องฟังเพลง กล้องถ่ายรูป สมุดบันทึก เครื่องคิดเลข เข้ามาหากัน
จาก: https://ijunkie.com/tony-fadell-reveals-steve-jobs-wanted-original-iphone-sim-less/
เคล็ดลับ (ที่ไม่ลับอีกต่อไป) ของการออกแบบที่ดี คือการเริ่มต้นออกแบบด้วยความเข้าใจสิ่งที่ขาดหายไปในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด สิ่งที่ผู้บริโภค “เจ็บจนชิน” แต่ไม่รู้จะไปบอกใครเพราะไม่มีอะไรดีกว่าให้เขาใช้แล้วมาเป็นสมมุติฐานในการเสาะหาเทคโนโลยี และแนวทางในการทำให้การผลิตมีราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค — การประสมเข้าหากันอย่างมีมิตินี้จึงจะเรียกว่าเป็น “นวัตกรรม” (Innovation)
I always use this example whenever I need to compellingly argue about user centricity in product design.
The phone in the picture might possess the best technology of its time, but was designed with only such a technicality in mind — not the needs of the users.
So, what happened at the time was that the final product was a headphone that was too big to be a comfortably usable cellphone, and a laptop that was too small to be useful.
Unlike an iPhone that came out a few years after, the technology might not be the best of his time but the idea of having an object that could serve as a decent cellphone with Internet connectivity capacity and a camera was more than enough for it to meet the demand of the users who got so tired of having to carry so many electronic products with them when they left the house.
An iPhone was a compelling “argument “about a product whose designers “started with why” when designing something. #design #designthinking #nonphilosophy #usercentereddesign #usercentric See less
โฆษณา