5 ก.ค. 2022 เวลา 02:25 • การเมือง
John Mearsheimer on Ukraine
จอห์น เมียร์ไชเมอร์ (John Mearsheimer) ศาสตราจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ทำไมตะวันตกถึงต้องมีความรับผิดชอบหลักสำหรับวิกฤตยูเครน" บนเว็บไซต์ "นักเศรษฐศาสตร์" ของอังกฤษ
31 March 2022
Source: Vijaichina
ขอนำเสนอข้อมูลของจอห์น เมียร์ไชเมอร์ (John Mearsheimer) ศาสตราจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ทำไมตะวันตกถึงต้องมีความรับผิดชอบหลักสำหรับวิกฤตยูเครน" บนเว็บไซต์ "นักเศรษฐศาสตร์" ของอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๙ มี.ค.๖๕ โดยสรุปได้ดังนี้
๑. สงครามยูเครนเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศที่อันตรายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ขีปนาวุธของคิวบาในปี ๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) การทำความเข้าใจรากเหง้าเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้แย่ลงและจัดการยุติ ทั้งนี้ ชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับวิกฤตครั้งนี้ โดยปัญหาของยูเครนเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดนาโต้ (NATO) เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๕๑) ที่บูคาเรสต์
ซึ่งในขณะนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ สมัยของจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) ได้ผลักดันให้รัฐบาลผสมของยูเครนประกาศว่า ยูเครนและจอร์เจียจะเป็นสมาชิก NATO ทำให้ผู้นำรัสเซียตอบโต้ด้วยความโกรธในทันที โดยเรียกการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและให้คำมั่นว่าจะขัดขวางการตัดสินใจดังกล่าว
๒. การที่สหรัฐฯ เพิกเฉยต่อข้อคัดค้านของรัสเซีย และผลักดันให้ยูเครนกลายเป็นปราการด้านตะวันตกที่ชายแดนรัสเซีย โดยยุทธศาสตร์นี้ยังรวมถึงองค์ประกอบอีก ๒ ประการ
ได้แก่ การนำยูเครนเข้าใกล้สหภาพยุโรปมากขึ้น และการทำให้เป็นรัฐประชาธิปไตยที่สนับสนุนสหรัฐฯ จนก่อให้เกิดการสู้รบในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๐๑๔ (พ.ศ.๒๕๕๗) หลังจากการจลาจล (ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ) ทำให้นายวิกเตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ประธานาธิบดียูเครนที่สนับสนุนรัสเซียต้องหนีออกนอกประเทศ ดังนั้น รัสเซียจึงยึดไครเมียจากยูเครนเพื่อตอบโต้ และได้จุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองในภูมิภาคดอนบัส (Donbas) ทางตะวันออกของยูเครน
๓. การเผชิญหน้าครั้งสำคัญได้มีขึ้นในเดือนธันวาคม ปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ซึ่งนำไปสู่สงครามในปัจจุบันโดยตรง เหตุผลหลักคือ ยูเครนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก NATO โดยพฤตินัย ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มต้นในเดือนธันวาคม ปี ๒๐๑๗ (พ.ศ.๒๕๖๐) ที่ในขณะนั้น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ของสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจขายอาวุธให้กับยูเครน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัสเซียและพันธมิตรในภูมิภาคดอนบัส (Donbas)
ส่วนประเทศ NATO อื่นๆ ก็ได้เข้าร่วมด้วย โดยส่งอาวุธไปยังยูเครน เพื่อฝึกกองกำลังติดอาวุธ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมาถึงยุคของประธานาธิบดีโจ ไบเดน (Joe Biden) ก็ได้มีความมุ่งมั่นดังที่ปรากฏเป็นเอกสาร “กฎบัตรหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สหรัฐฯ-ยูเครน" โดยได้มีการลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) ระหว่าง นายแอนโทนี บลิงเคน (Anthony Blinken) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายดิมิโทร คูเลบา (Dmitro Kuleba) รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครน
๔. สถานการณ์ดังกล่าว ได้ทำให้รัสเซียหมดความอดทน และตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) รัสเซียจึงได้ระดมกำลังทหารไปยังชายแดนยูเครนเพื่อแสดงการตอบโต้ต่อสหรัฐฯ แต่ไม่เป็นผล โดยฝ่ายสหรัฐฯ ยังคงขยับเข้าใกล้ยูเครนมากขึ้น
จึงได้นำไปสู่การขัดแย้งทางการฑูตเต็มรูปแบบจากการเจรจาที่ล้มเหลวในเดือนธันวาคม ปี ๒๐๒๑ (พ.ศ.๒๕๖๔) โดยเฉพาะการที่ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้หนึ่งเดือนต่อมา ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้สั่งให้มีการโจมตียูเครนเพื่อขจัดสิ่งที่เห็นว่าเป็นภัยคุกคามจาก NATO
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://mp.weixin.qq.com/s/DMdBvb6GnIC2LgL37BSV2g )
โฆษณา