10 ก.ค. 2022 เวลา 05:00 • การตลาด
ส่องตลาดสินค้า CBD ในญี่ปุ่น
กัญชากำลังเป็นพืชที่ปลุกกระแสความสนใจไปทั่วโลก และได้เปิดโลกไปสู่ยุคของ “Green Rush” ที่เริ่มต้นมาจากการเปิดเสรีกัญชาที่รัฐวอชิงตัน และรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2012 และในรัฐอื่นๆต่อมา จนทำให้เกิดการลงทุนและกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่ขยายตัวอย่างมาก
จากนั้นมา สินค้าที่ใช้กัญชาเป็นวัตถุดิบหรือส่วนผสมเริ่ม มีวางจำหน่ายในตลาดประเทศต่างๆซึ่งได้เปิดเสรีในระดับที่แตกต่างกันไป โดยรายงานตลาดโลกเมื่อปี 20201 ได้ ประมาณการว่าตลาด CBD (Cannabidiol) 2 ในปี 2020 มีมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (9.7 หมื่นล้านบาท) และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 21.2 ต่อปีจนถึงปี 2028
ในปี 2018 รัฐบาลสหรัฐฯได้แก้กฎหมายเกษตรกรรม โดยอนุญาตให้สามารถปลูกพืชกัญชาซึ่งมีส่วนผสม ของ THC ต่ำกว่า 0.3% สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมได้ ทำให้เกษตรกรจำนวนมากเริ่มเพาะปลูกและดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับพืชกัญชากันเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามช่วงปี 2020 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ(FDA) ได้เริ่มใช้มาตรการควบคุมสินค้าที่มี CBD เป็นสวนผสมรวมถึงการบริโภค เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภค CBD มากเกินไป ในขณะที่การนำกัญชามาใช้ในการแพทย์ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะการ รักษาโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก (Epilepsy) และโรคลมชักที่ดื้อยา ส่วนการใช้เพื่อนันทนาการนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายในแต่ละรัฐว่าผิดกฎหมายหรือไม่
เมื่อปี 2016 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า จากผลการทดลองจำนวนมาก สามารถยอมรับได้ว่า CBD มีความปลอดภัยสูงต่อสุขภาพ ไม่มีผลต่อระบบประสาทหรือทำให้เกิดอาการ เคลิ้มจิต (High) ดังเช่น THC และไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อหรือการติดจากการเสพ สำหรับในยุโรปได้ยอมรับการ ใช้ CBD ในทางการแพทย์เมื่อปี 2019
ญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ปัจจุบันอนุญาตให้จำหน่ายสินค้ากัญชาที่ เป็น CBD และมีแนวโน้มว่าจะเป็นตลาดที่ยังคงขยายตัวต่อไป
กฎหมายควบคุมกัญชาในญี่ปุ่น
สำหรับในญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมาย Cannabis Control Act (大麻取締法) พืชกัญชา (Cannabis Sativa L.) และผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชาจัดเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ยกเว้น ให้เฉพาะส่วนของพืชกัญชาที่เป็นลำต้น (ก้าน) ซึ่งเจริญเต็มที่แล้ว เมล็ดกัญชา
รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อเยื่อของส่วนของพืชกัญชา ดังกล่าวเท่านั้น (แต่ไม่รวมยางไม้ หรือ resin) ที่มิได้ เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และ ยังห้ามมิให้ใช้กัญชาหรือสารสกัดกัญชาทั้งในการแพทย์และสันทนาการ และห้ามบุคคลทั่วไปปลูก มีครอบครอง รับมอบ มอบให้ ซื้อขาย หรือนำเข้าส่งออกพืชกัญชา ในขณะที่ไม่มีการห้าม การใช้เป็นการส่วนบุคคล (personal consumption) สำหรับสินค้ากัญชารวมถึงสินค้า CBD อนึ่ง สินค้าจากกัญชาที่มีส่วนผสมของ THC ไม่ว่าจะในสัดส่วนเท่าใดก็ตามยังเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าสินค้า CBD ใดเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายหรือไม่ โดยใช้วิธีการตรวจว่า CBD ได้มาจากส่วนใดของพืชกัญชานั้นในทางปฏิบัติเป็นการยากในการดำเนินการปกติจึงใช้วิธีการตรวจวัดระดับ THC เนื่องจากสารที่สกัดจากส่วนของพืชกัญชาที่อนุญาต คือ เมล็ดและลำต้น แทบจะไม่มีสาร THC อยู่เลย
มีรายงานว่าในช่วงปี 2020-2021 กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้ทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบของสินค้าในตลาดจำนวน 64 รายการซึ่งรวมทั้งสินค้า CBD พบว่า 15 รายการมีส่วนประกอบของ THC จึงได้ห้ามจำหน่ายและจับยึดสินค้า ซึ่งบางรายการแม้ว่าจะมี THC เพียงเล็กน้อย แต่ภายใต้กฎหมายญี่ปุ่น ปัจจุบันห้ามการจำหน่ายสินค้าที่มี THC ไม่ว่าจะในปริมาณเท่าใด
ซึ่งแตกต่างจากแนวปฎิบัติสำหรับสินค้าอื่นซึ่งใช้วิธีกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาต เช่น การกำหนดระดับแอลกอฮอล์ลหรือแคลอรี่ในเครื่องดื่ม อาทิ ภายใต้กฎหมาย
สุราของญี่ปุ่นกำหนดให้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลต่ำกว่า 1% จัดเป็น Non-Alcohol หรือภายใต้กฎหมายส่งเสริมสุขภาพกำหนดให้สินค้าที่มีปริมาณแคลลอรี่ต่ำกว่า 5 กิโลแคลลอรี่/100 กรัม จัดเป็น Zero Calorie
ทั้งนี้ ประเทศอื่นๆส่วนใหญ่ที่เปิดเสรีสินค้ากัญชาใช้วิธีกำหนดปริมาณมาตรฐาน THC ที่อนุญาตในสินค้า CBD โดยมีปริมาณมาตรฐานที่แตกต่างกันไป แต่ล้วนแล้วไม่ใช่เป็น 0% กล่าวคือ มิใช่ปราศจาก THC โดยสิ้นเชิง
ในปี 2019 กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น (Ministry of Health, Labor & Welfare) ได้แสดงความเห็นว่าเภสัชภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคลมชักที่ยากต่อการรักษา หากกระทำภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด จากนั้นมาปรากฎว่ามีการนำเข้าสินค้า CBD กันอย่างคึกคัก และมีรายงานว่าภายในปลายปี 2022 นี้ กระทรวงสาธารณสุขอาจจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายควบคุมกัญชา เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมาย 7 ทำให้คาดว่าจะมีสินค้า อาทิ เวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง และอาหารที่ใช้ CBD เพิ่มมากขึ้นในตลาดญี่ปุ่น
1
การนาเข้าสินค้าCBD ไปยังญี่ปุ่น
ก่อนการนำเข้า ผู้นำเข้าอาจขอคำปรึกษาจากกระทรวงสาธารณสุขให้พิจารณา“เบื้องต้น”ว่าสินค้าที่จะนำเข้าอยู่ในข่ายสินค้าต้องห้ามหรือไม่ แต่เนื่องจากการพิจารณาของกระทรวงฯ เป็นการพิจารณาจากเอกสารและผลการพิจารณาดังกล่าวมิได้ถือเป็นการอนุญาตนำเข้า ทุกครั้งของการนำเข้า
ผู้นำเข้าจะต้องยื่นเอกสารต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประกอบด้วย เอกสารรับรองว่าเป็น CBD ที่สกัดจากส่วนใดของพืช เอกสารวิเคราะห์ส่วนประกอบ รูปถ่ายวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิต) เพื่อขอรับหนังสือรับรองว่าเป็นสินค้า CBD ตามกฎหมาย พร้อมกันนั้นจะต้องยื่นเอกสารเช่นเดียวกันต่อศุลกากรเพื่อขอรับการอนุญาตนำเข้า
ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าหลังจากตรวจสอบ ณ เวลานำเข้าแล้ว สินค้าอาจถูกห้ามนำเข้าแม้ว่าจะผ่านการพิจารณาเบื้องต้นดังกล่าวมาแล้วก็ตาม
1
อนึ่ง สำหรับกัญชง หรือ Hemp เนื่องจากโดยปกติ กัญชงมีปริมาณ THC ต่ำมากจนแทบจะไม่มีเลย ดังนั้น กัญชงที่ปลูกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมจึงได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมาย ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมากัญชงได้ถูกนำมาใช้ผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น สิ่งทอ เชือก ด้าย ของเซ่นไหว้ในศาสนาชินโต ฯลฯ
อย่างไรก็ตามการปลูกกัญชงในญี่ปุ่นยังเป็นระบบการขออนุญาตที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ยังไม่สามารถปลูกได้เป็นการทั่วไป จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ CBD ที่สกัดจากกัญชงยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าแทบทั้งหมด
ความเคลื่อนไหวเพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีกัญชาในญี่ปุ่น
ในภาครัฐ เมื่อมกราคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้มีการจัดตั้ง Working Group on Measures concerning Cannabis and others (大麻等の薬物対策のあり方検討会) เพื่อพิจารณาแนวทางการเตรียมการด้านกฎหมายสำหรับการเปิดเสรีกัญชา และมาตรการป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด
นอกจากนั้น เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 ในฝ่ายของรัฐสภา ได้จัดตั้ง The Federation of Parliament Members to Consider the Use of Cannabidiol มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและจัดเตรียมระบบกฎหมายในการควบคุมดูแลสินค้า CBD โดยได้มีการจัดประชุมรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
มีรายงานว่า ณ เดือนมิถุนายน 2021 คณะทำงานฯ ได้สรุปความเห็นว่า ควรดำเนินการใน 3 ทิศทาง คือ
การอนุญาตให้สินค้าจากการสกัดกัญชาใช้ในทางการแพทย์ได้
การเปลี่ยนจากอนุญาตบางส่วนของพืชกัญชาเป็นการกำหนดระดับมาตรฐาน THC แทน
รวมทั้งการกำหนด บทลงโทษต่อผู้เสพกัญชา
แม้ว่าหลายฝ่ายจะสนับสนุนแนวทางดังกล่าวที่จะนำไปสู่การเปิดเสรีกัญชามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อกังวลกันว่า หากมีการกำหนดให้สารสกัดจากกัญชาเป็นเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceuticals) อาจทำให้การใช้ CBD ในอาหารหรือสิ่งอื่นๆอาจมีข้อจำกัดหรือถูกห้าม จึงมีความต้องการให้จัด CBD เข้าในรายการสินค้าที่มิใช่เภสัชภัณฑ์ (Non-Pharmaceuticals) ดังเช่น คาเฟอีน DHA และ EPA10
ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในรายการ Non-Pharmaceuticals แต่ยังสามารถนำไปใช้ยาได้ ในด้านธุรกิจภาคเอกชนเองก็มีความเคลื่อนไหวในการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มต่างๆเพื่อสนับสนุนส่งเสริมสินค้า CBD เช่น
Japan Cannabidiol Association : JCA (http://www.j-cbd.org/index.html) (日本カンナビジオール協会 )
จัดตั้งเมื่อปี 2019 เพื่อให้การสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยทางคลินิก
(Fundamental and clinical research) สำหรับ CBD รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสาร Cannabinoids นอกจากนั้น สมาคมฯ ยังมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้า CBD และ ให้บริการตรวจสอบและให้เครื่องหมายรับรอง CBD JCA Certified
Japan Cannabidiol Federation : JCBF (https://jcbf.jp/) (カンナビノイド事業者有志の会 )
ก่อตั้งเมื่อปี 2021 โดยมีสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบการและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CBD กว่า 100 ราย
Japanese Organization for the Promotion of Cannabidiol : JOPC (https://jopc.or.jp/) (日本カンナビジオール普及機構)
จัดตั้งเมื่อกรกฎาคม 2021 มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางประสานกับหน่วยงานราชการในการร่วมส่งเสริมการพัฒนาและขยายตลาด CBD ที่สกัดได้จากลำต้นและเมล็ดของพืชกัญชงเพื่อใช้ในทางอุตสาหกรรมอย่างถูกกฎหมายและปลอดภัย โดยให้การสนับสนุนการวิจัยพัฒนา การรับรองสินค้าและบริการ และ กิจกรรมให้ความรู้ องค์กรดังกล่าวบริหารโดยกรรมการบริหารซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในภาควิชาการและบริษัทเอกชน
สมาคมเครื่องสำอางแห่งญี่ปุ่น (Japan Cosmetics Association: JCA) (https://japan-ca.jp/)
ก็ได้ตระหนักถึงกระแสความนิยมของการนำ CBD มาใช้ในสินค้าต่างๆรวมถึงเครื่องสำอาง จึงได้มีการจัดตั้ง The Reviewing Committee on Cannabinoid (カンナビノイド審査委員会) ในปี 2019 เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ วิเคราะห์การดำเนินการที่อาจผิดกฎหมายควบคุมยาเสพติด กฎหมายควบคุมกัญชา กฎหมายเภสัชภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ เช่น ตรวจสอบว่าเป็น CBD ที่สกัดจากส่วนของพืชกัญชาที่กฎหมายไม่อนุญาตหรือไม่ หรือ สินค้า CBD มีส่วนประกอบของ THC ซึ่งต้องห้ามหรือไม่ หรือการใช้ CBD ในอาหารมีการใช้ตัวทำละลายที่ต้องห้าม (TS1) หรือไม่
นอกจากนั้นตั้งแต่เมื่อมีนาคม 2022 ยังได้เริ่มให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสินค้า CBD ให้กับผู้นำเข้าและผู้ค้าซึ่งอาจซื้อหรือจำหน่ายสินค้า CBD ที่ผิดกฎหมาย โดยไม่ทราบสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบจะได้รับใบรับรองและเครื่องหมายรับรอง และมีระบบรับแจ้งกรณีที่มีผู้พบสินค้า CBD ที่สงสัยว่าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย
ส่วนในด้านผู้บริโภคญี่ปุ่น
ก็ได้รับอิทธิพลจากกระแส Green rush ก่อให้ความสนใจและความต้องการ
สินค้า CBD ซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ซึ่งเคยใช้ CBD มาแล้ว พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาว โดยร้อยละ 70 เป็นผู้ที่อยู่ในวัย 20-30 ปี สินค้าที่เคยใช้ ได้แก่ CBD Oil (ร้อยละ 43) ขนม เคี้ยวหนึบหรือกัมมี่(Gummies) (ร้อยละ 21) CBD Liquid และ CBD Wax (ร้อยละ 13)
ส่วนสาเหตุที่ใช้ คือ เพื่อให้หลับสบาย (ร้อยละ 40) ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย (ร้อยละ 33) และซื้อเพียงเพราะสนใจ (ร้อยละ 20) แบรนด์ที่ได้รับความนิยม 4 อันดับแรก คือ CannaTech (https://cannatech.co.jp/)
และ ENDOKA (https://endoca.co.jp/ )
มีการประมาณการว่า ตลาดสินค้า CBD ในญี่ปุ่นในปี 2019 มีมูลค่าประมาณ 6.5 พันล้านเยน (ประมาณ 1.9 พันล้านบาท) และคาดว่าจะขยายตัวกว่า 13 เท่าเป็น 8.8 หมื่นล้านเยน ในปี 202412 ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ช่วงตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา การให้ความสำคัญกับสุขภาพยิ่ง กลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่น และโดยที่ CBD มีผลช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความรู้สึกกดดัน ช่วยให้นอนหลับสบายจึงมี ผู้บริโภคที่เริ่มใช้ CBD กันมากขึ้น ปัจจุบันมีสินค้า CBD มากกว่า 180
แบรนด์ในตลาดญี่ปุ่นและมีจำหน่ายทั่วไปทั้งในร้านค้าปลีกและทางออนไลน์ตัวอย่างสินค้า CBD ในตลาดญี่ปุ่น
CBD Oil Natural แบรนด์ Greeus ของบริษัท DropStone Inc (https://greeus.jp/) มีส่วนผสมของ CBD และกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง หรือ MCT (Medium Chain Triglyceride) จากมะพร้าวที่ปลูกใน อินโดนีเซีย
CBD แคนดี้ “C-Rabbits” ของบริษัท BTech Inc. (https://btech.jp/) เป็นลูกอมที่มีส่วนผสมของน้ำมะนาวและสารสกัดธรรมชาติ (Herbal extract) โดยในลูกอม 1 เม็ดมี CBD 10 มิลลิกรัม (มก.)
การรับสาร CBD โดยการอมลูกอมเป็นวิธีที่ทำให้ร่างกายสามารถรับประโยชน์จาก CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเนื่องจากลูกอมจะค่อยๆละลายผ่านเยื่อบุช่องปากและใต้ลิ้นไปสู่เส้นเลือดซึ่งเป็นการดูดรับโดยตรง ดีกว่าการดื่มหรือรับประทานลงไปสู่ระบบย่อยอาหาร
CBD Gummies ของบริษัท Pharma Hemp (https://pharma-hemp.com/) โดยเป็นกัมมี่ (ขนมเคี้ยวหนึบเหมือนเยลลี่) ซึ่งมีส่วนผสมของ CBD ที่สกัดจากกัญชงออร์แกนิก ซึ่งบริษัทฯ ไปลงทุนปลูกในประเทศสโลวีเนีย โดยใน 1 เม็ดมี CBD 40 มก. และมีรสชาติต่างๆเช่น สับปะรด สตรอว์เบอร์รี่ เมลอน มะนาว
CBD Soft Capsule แบรนด์ Greeus ของบริษัท DropStone Inc. (https://greeus.jp/) เป็นแคปซูลที่ประกอบด้วยน้ำมันจากกัญชงออร์แกนิกและ CBD สำหรับรับประทานเพื่อช่วยปรับสมดุลให้ลำไส้และสร้างเสริมสุขภาพ
น้ำหอม BALANCE Botanical CBD Fragrance ของบริษัท elixinol (https://elixinol.co.jp/) เป็นบริษัทของสหรัฐฯที่เริ่มบุกตลาดญี่ปุ่นตั้งแต่เมื่อปี 2016 ผลิตและจำหน่ายสินค้า CBD ต่างๆ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ น้ำหอมนี้มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดโจโจบา (Jojoba oil) และ CBD โดยหลอดขนาด 8 มล. มี CBD 450 กรัม
CBD Calming Balm ของบริษัท CBDfx (https://cbdfx.com/) ของสหรัฐฯ ขนาดบรรจุ 15 มล. มีส่วนผสม CBD 250 มก. โดยสกัดจากกัญชงออร์แกนิกที่ปลูกในสหรัฐฯผสมกับน้ำมันที่สกัดจากพืชต่างๆ เช่น ลาเวนเดอร์ (Lavender) และคาโมมายล์ (Chamomiles) ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย พร้อมทั้งเชียบัตเตอร์ (Shea butter) ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นซึ่งช่วยทำให้ผิวนุ่มนวล
ช็อกโกแลต คุกกี้ CBD ของบริษัท Naturecan
(https://www.naturecan.jp/) มีส่วนผสม CBD 25 มก. ใน 1 ชิ้น
เบียร์ Yellow Light ผลิตโดยบริษัท West Coast Brewing
(https://www.westcoastbrewing.jp/beer/yellow-light/) กระป๋อง ขนาด 500 มล. มีส่วนผสม CBD 50 มล. ให้สัมผัสรสของผลไม้เมลอน และเกรปฟรุ๊ต และความสดชื่นของมะนาว
เบียร์ ataracia เป็นเบียร์ที่พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทYokohama Beer (http://www.yokohamabeer.com/) ผู้ผลิตคร๊าฟเบียร์เก่าแก่ กับ Kitchido (https://en.kitchodo.com/) ผู้ผลิตสินค้า CBD ที่ก่อตั้งมากว่า 99 ปี ซึ่งได้พัฒนาผง CBD ที่ละลายน้ำได้ง่าย ใส่ลงในเบียร์ Weizen ที่มีกลิ่นหอมของกล้วยและแอปเปิ้ลซึ่งช่วยลดความขมของ CBD ลงทำให้เป็นเบียร์ที่ มีรสชาติกลมกล่อม
CBD Coffee ของบริษัท Kotonohana (https://cbdays.jp/) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชา ในเกียวโต กาแฟภายใต้แบรนด์ Swissfarmer CBDays Japan เป็นกาแฟปราศจากคาเฟอีน และมีส่วนผสมของ CBD โดยเป็นกาแฟแบบดริป
ทั้งนี้ สำหรับสินค้า CBD อื่นๆ สามารถดูเป็นข้อมูลประกอบได้ในเว็บไซต์ของบริษัท STOKE ในส่วนของ Review of CBD Products (https://stoke-llc.co.jp/category/cbd/review/) (เป็นภาษาญี่ปุ่น)
กระแส Green rush ได้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นทำให้สินค้า CBD กลายเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจและเกิดเป็นความต้องการใหม่ของผู้บริโภคส่วนหนึ่ง โดยคาดว่าความต้องการจะยังคงขยายตัวมากยิ่งขึ้นต่อไป อีกทั้งมีความหลากหลายของสินค้าไม่ว่าจะเป็นสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง ของใช้ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงของใช้สำหรับสัตว์ เลี้ยง โดยส่วนใหญ่นักประชาสัมพันธ์คุณประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นจุดขายสำคัญ
อย่างไรก็ตาม จะต้องทำความเข้าใจว่า “การเปิดเสรี”กัญชาในญี่ปุ่นปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่แตกต่างจากไทย แม้ว่าสินค้า CBD สามารถวางจำหน่ายได้ทั่วไป แต่กัญชายังคงเป็นพืชเสพติดและผิดกฎหมายในญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน (มิถุนายน 2022) สินค้าที่มีส่วนประกอบของพืชกัญชาจะต้องมาจากส่วนที่เป็นลำต้นที่เจริญเต็มที่และเมล็ดเท่านั้น และจะต้องไม่มีสาร THC อยู่เลยไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้อยเพียงใด
ดังนั้น สินค้าที่สามารถผลิตและจำหน่าย ได้ในไทยบางประเภท อาจไม่สามารถนำเข้าไปยังตลาดญี่ปุ่นได้ในขณะนี้ ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยที่ประสงค์จะเข้าสู่ตลาด สินค้า CBD ในญี่ปุ่น จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวการเปิดเสรีกัญชาในญี่ปุ่น และศึกษากฎระเบียบที่คาดว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง
รวมทั้งรวบรวมข้อมูลรายละเอียดของสินค้าที่ผลิต เช่น ส่วนประกอบ ผลวิเคราะห์ของส่วนประกอบ ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นอย่างครบถ้วน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและการขออนุญาตนนำเข้าไปยังญี่ปุ่น
ทั้งนี้ หากเป็นสินค้าประเภทอาหาร เครื่องสำอาง หรือยา ซึ่งมีส่วนประกอบของ CBD ก็ยังต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของสินค้านั้นๆด้วย รวมทั้งการระบุสรรพคุณบนฉลากจะต้องศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โฆษณา