Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อเศรษฐกิจ UK ป่วยหนัก จนอาจกลายเป็น “ผู้ป่วยแห่งยุโรป” อีกครั้ง?
2
ช่วงนี้คงเป็นช่วงที่หลายๆ ประเทศได้สัมผัสกับเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบหลายปี โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น
1.
เยอรมนี เงินเฟ้อ 7.6%
2.
อินเดีย เงินเฟ้อ 7.04%
3.
แคนาดา เงินเฟ้อ 7.7%
4.
กลุ่มยุโรป เงินเฟ้อ 8.6%
5.
สหรัฐฯ เงินเฟ้อ 8.6%
1
แต่อีกหนึ่งประเทศที่ดูเหมือนจะเผชิญกับเงินเฟ้อหนักกว่าประเทศอื่นๆ ก็คือ สหราชอาณาจักร ที่เผชิญกับเงินเฟ้อถึง 9.1% สูงที่สุดในรอบ 40 ปี และทางธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England) คาดว่าจะสูงเกินกว่า 11% ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังจะมาถึงนี้
2
เมื่อเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูง แน่นอนว่าผู้บริโภคชาวอังกฤษก็ต้องเผชิญกับภาวะข้าวยากหมากแพงจนทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดต่ำลง ส่งผลให้นักวิเคราะห์หลายคนก็ออกมาเตือนว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเค้าลางที่นำเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรไปสู่ภาวะถดถอย จนทำให้หลายคนนึกถึงภาพที่สหราชอาณาจักรเคยถูกเรียกว่าเป็น “ผู้ป่วยแห่งยุโรป” เมื่อครั้งช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 1970
3
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวอังกฤษตกต่ำยิ่งกว่าครั้งไหนๆ ในรอบกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
เหตุใดเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรถึงได้เผชิญกับเงินเฟ้อสูงกว่าที่อื่น และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจะป่วยหนักกว่าหลายๆ ประเทศ จนอาจจะหวนคืนกลับสู่การเป็นผู้ป่วยแห่งยุโรปอีกครั้ง
2
📌 อดีตผู้ป่วยแห่งยุโรป สู่ว่าที่ผู้ป่วยใหม่ในปัจจุบัน
ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 1970 การเติบโตทางเศรษฐกิขจองสหราชอาณาจักรค่อนข้างจะย่ำแย่มานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองแล้ว เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงมาก ประกอบกับค่าแรงที่แทบจะไม่ขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ ส่งผลให้แรงงานในอุตสาหกรรมเกิดการหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่
ฟังดูแล้วสถานการณ์ตอนนั้นก็ดูคลายกับในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ที่ประชาชนชาวอังกฤษต่างประสบกับปัญหาค่าครองชีพสูง รายได้ไม่ค่อยขยับขึ้นตาม จนเกิดการประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง
1
จากรายงานฉบับล่าสุดของ OECD ก็คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะถึงจุดสูงสุดอยู่ที่เหนือระดับ 10% ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและห่วงโซ่อุปทาน ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงเนื่องจากการที่สินค้าราคาสูงขึ้นไปกระทบกับรายได้ของครัวเรือน ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมที่น่าจะโตได้เพียง 3.6% เท่านั้น
📌 ทำไมเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรถึง “ป่วยหนัก” กว่าประเทศอื่น
2
แม้ว่าเกือบทุกประเทศจะเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 และสงครามรัสเซีย - ยูเครน เหมือนกับในหลายๆ ประเทศ แต่ขนาดของผลกระทบส่วนใหญ่นั้นจะตกหนักอยู่ที่กลุ่มประเทศยุโรป จึงทำให้ในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีอัตราเงินเฟ้อที่สูง และการเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง ซึ่งสหราชอาณาจักรเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
แต่เหตุที่ทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อในสหราชอาณาจักร อาจจะสูงกว่าประเทศอื่น และอยู่ยาวกว่าประเทศอื่น รวมถึงเศรษฐกิจก็อาจจะเติบโตได้ช้ากว่าประเทศอื่นอีกด้วย ก็เนื่องมาจาก
1
1) การใช้ระบบการกำหนดเพดานอัตราค่าบริการ (Price cap) ซึ่งจะกำหนดราคาไฟฟ้าและแก๊สสูงสุดที่สามารถคิดกับผู้บริโภคได้ต่อปี ไปช่วยกดราคาพลังงานให้ต่ำลงในช่วงก่อนหน้า แต่ในตอนนี้เพดานอัตราค่าบริการกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าน่าจะขึ้นไปถึงเกือบ 3,000 ปอนด์สเตอร์ลิงในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงพอดี ส่งผลให้เงินเฟ้อที่ถูกกดเอาไว้ในช่วงก่อนหน้า กลับดีดตัวขึ้นมาในภายหลัง
2
2) เงินปอนด์เตอร์ลิงอ่อนค่าอย่างหนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในรอบหลายปี ยิ่งเป็นแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อสำหรับราคานำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงาน
3) หลังมีมติโหวตออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) การค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรก็ดูไม่ค่อยจะสดใส เพราะทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ต่างต้องเผชิญกับอุปสรรคการค้ามากมายที่เพิ่มขึ้นมา และถึงแม้ว่าค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงจะอ่อนตัวลงอย่างมากนับตั้งแต่มีมติโหวต Brexit ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรสามารถแข่งขันได้ง่ายขึ้น แต่ก็แทบไม่พบว่าจะได้รับอานิสงค์จากความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นนี้
4) การลงทุนจากภาคเอกชนในสหราชอาณาจักร ลดต่ำลงนับตั้งแต่ปี 2016 ที่มีการโหวต Brexit ซึ่งเมื่อเทียบกับแนวโน้มการลงทุนช่วงก่อน Brexit แล้ว คาดว่าการลงทุนในปัจจุบันต่ำกว่าแนวโน้มในอดีตถึง 3.1 หมื่นล้านปอนด์สเตอร์ลิงเลยทีเดียว
1
5) ผลิตภาพของแรงงานที่ไม่ค่อยพัฒนาขึ้นมานักหลังวิกฤติการณ์การเงินในปี 2008 สิ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นตัวผลักดันให้เกิดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
เมื่อปัญหาเดิมยังไม่หมดไป และปัญหาใหม่ก็ยังตามมา จากหลายองค์ประกอบข้างต้นนี้ จึงทำให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก และป่วยนานกว่าประเทศอื่น ก็ต้องรอดูว่าทั้งธนาคารกลางอังกฤษ และรัฐบาลจะเอายาขนานไหนมาเข้าช่วยรักษาให้เศรษฐกิจแข็งแรงและหายป่วยได้โดยเร็ววัน เพราะยิ่งเศรษฐกิจป่วยหนักและป่วยนานเท่าไร คนที่ต้องล้มตายไปก่อนก็คือประชาชน
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.bbc.com/news/business-61997353
●
https://www.theguardian.com/business/2022/jul/02/is-it-back-to-1970s-for-uk-economy-investment-wages-unions
●
https://www.bbc.com/news/business-61997353
●
https://tradingeconomics.com/country-list/inflation-rate
●
https://www.economist.com/buttonwoods-notebook/2017/07/19/britain-back-to-being-the-sick-man-of-europe
●
UK to suffer high inflation longer than other nations, warns Bailey | Financial Times (
ft.com
)
●
https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/62d0ca31-en.pdf?expires=1656917997&id=id&accname=guest&checksum=CCD8E6FB3619FE06E1A23F616C112DA3
สหราชอาณาจักร
อังกฤษ
เศรษฐกิจโลก
24 บันทึก
39
3
43
24
39
3
43
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย