6 ก.ค. 2022 เวลา 14:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น
ชาร์ลี มังเกอร์ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าเรารู้ว่าจะตายที่ไหน ก็อย่าไปที่นั่น” เหมือนรู้ว่าหุ้นตัวไหนมีโอกาสสร้างจุดจบในชีวิตการลงทุนของเรา ก็อย่าไปเลือกลงทุนในหุ้นตัวนั้น
พอดีผมได้อ่านบทความของนาย Brian Feroldi นักวิเคราะห์หุ้นชื่อดังจาก Motley Fool เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนที่ล้มเหลวของเขาทั้งหมด 8 ครั้ง ผมเลยอยากมาแชร์กันเพื่อเราจะได้ไม่เลือกลงทุนในหุ้นแบบนี้
1
1.การซื้อหุ้น IBM เขาซื้อหุ้นตัวนี้ในช่วงที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ได้ซื้อหุ้น IBM จำนวนมาก เขามีมุมมองบวกกับหุ้นตัวนี้และซื้อที่ราคา 200 เหรียญเพราะเขาคิดว่า 1)มันเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง 2) คุณปู่เองซื้อหุ้นตัวนี้เลยมันต้องดีแน่ๆ 3) หุ้นมีราคาถูก
แต่สุดท้ายแล้วราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน แถมยังราคาปรับลงเรื่อยๆ เขาขายหุ้นทิ้งไปขาดทุน แถมยังเจ็บหนักจากการที่ไป Leverage ด้วย
3
บทเรียนที่เขาได้รับคือนักลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงการ Leverage นอกจากนี้หุ้นราคาถูกแล้ว มันก็ยังจะถูกลงได้อีกถ้าบริษัทมีคูเมืองที่ไม่แข็งแกร่งเพียงพอ
2.การซื้อหุ้น 3D System ในช่วงต้นของปี 2010 หุ้นตัวนี้ร้อนแรงมากเนื่องจากบริษัทมีสินค้าที่เป็นผู้นำและเป็นเจ้าแรกที่ทำตลาดเครื่องพิมพ์แบบ 3D เขาเข้าไปซื้อมันตอนที่หุ้นขึ้นไปสูงมากจนฟองสบู่แตก
3
ธุรกิจเริ่มจะมีการชะลอตัวลงและหุ้นก็ได้ปรับตัวลงแล้วลงอีก เขาพบว่าข้อผิดพลาดคือการไม่เข้าใจในวัฎจักรของหุ้นตัวนี้ ตอนที่เทคโนโลยีจุดพุลขึ้นมา ใครๆต่างก็สนใจ ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งซึ่งธุรกิจไม่สามารถไปต่อหรือเติบโตลดลง ราคามันก็จะปรับตัวลดลงอย่างหนักสู่พื้นฐานที่แท้จริง
1
3.การซื้อหุ้น PRAA เป็นหุ้นตามเก็บหนี้โดยบริษัทซื้อหนี้ราคาถูกมาจากสถาบันการเงินและมาตามเก็บ คล้าย JMT ในไทย ก่อนที่เขาจะซื้อหุ้น เขาได้วิเคราะห์และชอบตัวนี้เพราะว่าผู้ก่อตั้งยังคงบริหารจัดการธุรกิจอยู่ บริษัทมีกำไรและมีการเติบโตที่สูง เขาคิดว่าการเติบโตนั้นจะอยู่อย่างยั่งยืน
3
แต่มันก็ไม่เป็นจริงอย่างที่เขาตั้งใจไว้บริษัทยังคงต้องพึ่งหนี้สินใหม่ๆที่บริษัทสามารถเข้าไปซื้อได้ในราคาถูกเพื่อทำกำไร ในช่วงที่ตลาดมีสภาพคล่องที่ตึงตัว หนี้สิ้นมีจำนวนลดลง ทำให้บริษัทเติบโตช้าลงและหุ้นก็ได้ลดลงอย่างหนัก
1
บทเรียนจากหุ้นตัวนี้คือเราต้องระมัดระวังบริษัทที่พึ่งพาปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ในตัวอย่างนี้คือการพึ่งพาหนี้จากสถาบันการเงิน ถ้าหนี้ลดลง บริษัทก็จะทำกำไรลดลงเช่นกัน
4.การซื้อหุ้น CorEnergy คือบริษัทที่ให้บริการการเงินในอุตสาหกรรมพลังงาน บริษัทจะซื้อสินทรัพย์จากบริษัทพลังงานเข้ามาแล้วปล่อยเช่ากลับไป เขามองว่ากำไรและปันผลของบริษัทนี้ค่อนข้างดี บริษัทไม่มีความเสี่ยงจากการดำเนินงาน จ่ายปันผลดี มีมูลค่าที่เหมาะสม เขามองยังไงก็ไม่มีโอกาสที่จะแพ้ได้!!!
แต่สุดท้ายแล้วเขาก็ขาดทุนอีกครั้งเมื่อราคาพลังงานลดลงอย่างหนักทำให้ลูกค้าที่เช่าสินทรัพย์จากบริษัทต้องปิดกิจการลงและไม่สามารถจ่ายหนี้ให้กับบริษัทได้ พอกำไรลดลงบริษัทก็ไม่สามารถแจกเงินปันผลได้ สุดท้ายหุ้นก็ปรับตัวลดลงอย่างหนัก
1
สิ่งที่เขาได้เรียนรู้คือสุขภาพทางด้านการเงินของบริษัทแปรผันตามกับสุขภาพการเงินของลูกค้าด้วยเช่นกัน
2
5.การซื้อหุ้น GrubHub เพราะเขาเชื่อว่าตลาดการส่งอาหารยังอยู่ในช่วงของตลาดกระทิงและบริษัทก็เป็นเจ้าแรกที่เข้ามาในตลาดและเป็นผู้นำในปัจจุบัน นอกจากนี้บริษัทยังมีผู้ก่อตั้งเป็นคนบริหารกิจการ มีกำไรที่ดีมีการเติบโตสูง และสุดท้ายที่สำคัญคือมี Network Effect ที่แข็งแกร่ง ยิ่งมีคนเข้ามาสั่งอาหารผ่านแอปมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งดึงร้านค้าให้มาอยู่ในแพลตฟอร์มมากขึ้น เขาถึงยอมจ่ายซื้อหุ้นตัวนี้มาด้วยราคาที่ค่อนข้างแพง
1
สุดท้ายปรากฏว่าบริษัทมีคูเมืองไม่แข็งแรงตามที่คาดหวังไว้เพราะคู่แข่งอย่าง UberEats และ DoorDash เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปจำนวนมาก จนทำให้บริษัทต้องทุ่มเงินทำการตลาดอย่างหนัก กำไรหดหายไป สุดท้ายราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงอย่างหนัก เขาขาดทุนหุ้นตัวนี้จำนวนมาก
1
บทเรียนที่เขาได้รับจากการซื้อหุ้นตัวนี้คือ Network Effect ถูกสร้างมาด้วยความแข็งแกร่งที่ไม่เท่ากันบางธุรกิจมีความแข็งแกร่งมากอย่าง Facebook แต่บางธุรกิจก็มีคูเมืองไม่แข็งแกร่งอย่างหุ้นตัวนี้
1
6.การซื้อหุ้น Under Armour ตอนแรกเขามองว่าหุ้นมีการเติบโตดี กำไรดี แบรนด์เยี่ยม ขนาดตลาดใหญ่และผู้ก่อตั้งยังคงขับเคลื่อนธุรกิจด้วยตัวเอง
พอลงทุนไปกลับไม่เป็นอย่างที่คิด ซีอีโอนาย Kevin Plank มีโปรเจ็คนอกบริษัทเข้ามารบกวนตลอด ไม่มีเวลาโฟกัสเต็มที่กับบริษัท ปัญหาในองค์กรเริ่มเกิดขึ้น มีการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ขายสินค้าที่เป็นแบรนด์ระดับสูง แต่กลับไปขายในร้านค้าที่ให้ส่วนลดเยอะๆ เลยทำให้ภาพพจน์ของแบรนด์เสียไป
ข้อคิดที่ได้จากการลงทุนในหุ้นตัวนี้คือถ้าคูเมืองของหุ้นคือแบรนด์ เราต้องระมัดระวังผู้บริหารว่าดำเนินธุรกิจอย่างไร ถ้าทำให้แบรนด์ด้อยค่าลง เราจะต้องรีบขายหุ้นทิ้งทันที
1
7.การซื้อหุ้น Gilead Sciences ตอนปี 2012 บริษัทได้ออกสินค้าใหม่ที่สามารถรักษาอาการไวรัสตับอักเสบได้ ในช่วงปีนั้นรายได้ กำไร กระโดดมาก พีอีแค่ 11 เท่า แต่แล้วหุ้นก็ปรับตัวลดลงตลอดเพราะสินค้านี้ไม่มีคูเมืองที่แข็งแกร่ง พอคู่แข่งทำตาม รายได้ก็ลดลงมาก
2
บทเรียนคือถ้ากำไรไม่ยั่งยืน ค่าพีอีต่ำๆก็ไม่ได้สะท้อนการลงทุนที่ดีในระยะยาวได้
1
8.การซื้อหุ้น RPX Corp บริษัททำธุรกิจด้วยการซื้อทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) แล้วนำมาขายบริการแบบเช่าใช้ ในช่วงนั้นเป็นโมเดลธุรกิจที่ยอดเยี่ยมมาก แต่พอเขาลงทุนหุ้นตอนไอพีโอไป หุ้นกลับปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
1
สาเหตุคือธุรกิจได้อิ่มตัวก่อนเข้าตลาดแล้ว พอเข้าตลาดมา รายได้ก็ไม่โต หุ้นเลยโดนขายทิ้ง ผมมองว่าเคสนี้คล้ายๆหุ้นร้านอาหารบ้านเรารายหนึ่ง
1
บทเรียนคือการลงทุนในหุ้นไอพีโอ ต้องอย่าคาดการณ์ว่าธุรกิจจะเติบโตดีเหมือนก่อนเข้าตลาด บางครั้งเจ้าของมองเห็นว่าธุรกิจอิ่มตัวแล้ว เลยขายเอาเงินออกมาเพื่อไปทำธุรกิจอื่น
2
นาย Brian ได้กล่าวปิดท้ายว่าเงินที่ขาดทุนจากหุ้นทั้งหมด 8 ตัว เขาได้คืนกลับมาหมดจากกำไรจากหุ้น Tesla เพียงตัวเดียว เขาเน้นว่าในการลงทุนเราต้องการหุ้นผู้ชนะ 10-100 เด้งเพียงไม่กี่ตัว แม้ว่าเราจะแพ้หลายตัว
1
โดยสรุปเป็นบทเรียนทั้ง 8 ข้อที่ดีมากๆ ช่วยให้เราไม่ตกหลุมพรางในตลาดหุ้นครับ
#ปัจจุบันการกระจายไปลงทุนต่างประเทศไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งแบบที่ลงทุนเทรดเองเหมือนเทรดหุ้นไทย เช่น บริการ Phillip Global Markets ของ บล.ฟิลลิป ค่าคอมฯ เริ่มต้นเพียง 0.2% (ตลาด U.S. และ H.K) พร้อมมีเจ้าหน้าที่คนไทย Support 24 ช.ม.
ติดต่อ Line: @phillipglobal หรือคลิก: https://lin.ee/q0bIxVg
หรือลงทุนหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุนรวมต่างๆ กับบริการ Phillip Fund SuperMart ที่มีให้เลือกมากกว่า 20 บลจ. พร้อมคำแนะนำลงทุนทันสถานการณ์ โดยทีมนักวิเคราะห์กองทุน โทร. 02-635-1718 (ตอนนี้เปิดบัญชีออนไลน์ได้แล้ว)
โฆษณา