7 ก.ค. 2022 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อไทยแรงต่อเนื่อง 7.66%! บาทอ่อนยวบ รัฐเร่งแก้ปัญหาพลังงาน และ ปากท้องด่วน!!
1
วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องเงินเฟ้อของไทยที่เติบโต ค่อนข้างรุนแรงพุ่งถึง 7.66% ซึ่งแรงกว่าครั้งที่แล้ว โดยต้นตอของปัญหาก็มาจากเรื่องของพลังงาน เช่น ค่าน้ำมันแพงขึ้นกว่า 39 % ค่าไฟแพงขึ้นกว่า 45% ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าอาหาร ก็จะแพงเป็นเงาตามตัว เพราะว่าพลังงานเป็นต้นทุนของทุกสรรพสิ่ง
1
ทางด้านคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือ กกร ก็ออกมาบอกว่า ประเทศไทย ถูกหั่น GDP ให้ลดต่ำลงไปเหลือแค่ 2.7% จากตอนแรกที่ 3.5% ด้วยเหตุผลเรื่องของเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่กำลังจะขึ้นต่อจากนี้ แล้วก็เรื่องเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั่นเอง
ถ้าดูเรื่องของดอกเบี้ย ก็ต้องเข้าใจทางแบงค์ชาติ เพราะว่าค่าเงินบาทไทย อ่อนสุดในรอบหลายปีอยู่ที่ 35.69 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ พอค่าเงินบาทอ่อนแบบนี้ ทำให้นำเข้าสินค้ามาไทยราคาก็จะแพงขึ้น รวมถึงพลังงานหรือน้ำมันด้วย เงินเฟ้อก็จะทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนั้นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย
เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ อาจจะต้องแลกด้วยความเติบโตที่ต่ำของเศรษฐกิจ ทุกครั้งที่ขึ้นดอกเบี้ย จะมีคนตกงานเพิ่มมากขึ้น พอคนตกงานมากขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็จะถดถอยลงไป
ต่อไปมาดูทางภาครัฐ หรือทางคลังกันบ้างว่ามีนโยบายอะไรที่ช่วยเหลือประชาชนให้พ้นวิกฤตเงินเฟ้อบ้าง? อย่างแรก คือ ยังมีการตรึงอัตราดอกเบี้ยสำหรับธนาคารของภาครัฐ เช่น ออมสิน และ ธกส. เพื่อให้รายจ่ายของประชาชนยังคงต่ำอยู่นั่นเอง
สอง คือ การดูแลเรื่องพลังงาน ก็กำลังเตรียมหาเงินมาเติมกองทุนน้ำมัน ที่ขาดทุนเป็นหลักแสนล้าน แล้วก็กำลังพิจารณาเรื่องนโยบายการผ่อนปรนภาษีน้ำมัน โดยพยายามจะกดราคาดีเซลให้อยู่ที่ 35 บาทต่อลิตร
ซึ่งมีตัวเลขนึงที่น่าสนใจ คือตัวกองทุนอุดหนุนดีเซลลิตรละ 10 บาทเลย ดังนั้น ถ้ากองทุนไม่ได้ช่วยแล้ว ก็อาจจะเห็นดีเซลลิตรละ 45 บาท ก็เป็นไปได้
จากการตึงราคาน้ำมัน เพื่อจะกดให้เงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำลงแล้ว อีกฝั่งนึงก็คือ การช่วยเหลือเรื่องปากท้อง ก็ถือว่าเป็นปัญหาจริงๆ เพราะว่าราคาสินค้ามันแพงขึ้นมาก
แล้วก็มีการพูดถึง พรก ตัวนึง ก็คือ พรก กู้เงินที่มีมูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านๆ ซึ่ง 60-70% ก็เป็นการดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน และนอกเหนือจากนั้นก็เป็นเรื่องของสาธารณสุข แล้วก็เรื่องของการกระตุ้นการท่องเที่ยว
แต่ประเด็นหลัก ก็มีการอ้างถึง IMF และ ธนาคารโลกด้วย ว่ามีคำแนะนำ รัฐบาลจำเป็นต้องมีความช่วยเหลือประชาชน และไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้ต่อ GDP (อันนี้ควรตั้งข้อสงสัย ไม่แคร์จะดีจริงหรือไม่?)
และยกตัวอย่าง บางประเทศก็มีหนี้ต่อ GDP สูงกว่า 100% ไปแล้ว ก็ยังอยู่กันได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะจริงหรือไม่จริง ก็ลองพิจารณากันดูครับ พอได้ฟังก็ค่อนข้างเสียว เพราะว่าหนี้ต่อ GDP ของไทยขึ้นไปที่ 62% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่รู้ว่าจะมีพรก กู้เงิน อะไรออกมาต่อจากนี้หรือเปล่า? ก็ต้องติดตามดูกันต่อไปครับ
เพื่อนๆคิดเห็นอย่างไร ก็ comment มาพูดคุยกันได้นะครับ…
แอดปลา
โฆษณา