7 ก.ค. 2022 เวลา 07:04 • การศึกษา
ของทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวนะคะ
กัญชาประกอบด้วยสารอย่างต่ำ 60 ชนิด ส่วนสำคัญที่รู้จักกันดีก็คือ cannabinoids ซึ่งเป็น active component ของกัญชา ได้แก่ delta-9 tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดการเสพติด
ส่วนสารอีกประเภทหนึ่งคือ cannabidiol (CBD) นั้นไม่ทำให้เสพติด และมีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ปกป้องการเสื่อมของเซลล์ประสาท และต้านการชัก
การศึกษาในห้องปฏิบัติการและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพกับสัตว์ทดลองพบว่า THC และ CBD แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดของ THC และ CBD ในอัตราส่วน 1:1 ใช้รักษาอาการปวดของเส้นประสาท , ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง , ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ,รักษาอาการอาเจียน และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ในทางแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ก็มีกัญชาในตำรับยามาแต่โบราณ ซึ่งหลักๆนั้น ออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาท
การใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มีหลายรูปแบบ เช่น การสูบ การใช้สารสกัดกัญชาหยอดใต้ลิ้น การรักษาโรคทางผิวหนังก็ใช้การทา ในการรักษาริดสีดวงหรือมะเร็งปากมดลูกก็ใช้การเหน็บทางทวารหรือช่องคลอด
ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองการรักษาผู้ป่วยโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่พิสูจน์แล้วว่าอาการหรือโรคที่รักษาแล้วได้ผลดีคือ
1. อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด
2. ลมชักรักษายาก
3. อาการเกร็งจากปลอกหุ้มประสาทอักเสบ
4. ปวดระบบประสาท
ส่วนการรักษาที่น่าจะได้ประโยชน์ คือ
1. พาร์กินสัน
2.อัลไซเมอร์
3.ปลอกประสาทอักเสบ
4.โรควิตกกังวล
5. มะเร็งระยะสุดท้าย
6.โรคอื่น ๆ ระยะสุดท้าย
ส่วนการรักษาที่ต้องการการวิจัยเพิ่มคือ โรคมะเร็ง
Cr: internet
ดังนั้นการศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ แม้แต่การใช้ใบกัญชามาใส่ในอาหาร ก็อาจเกิดโทษได้ในกรณีที่แพ้ หรือใส่มากจนเกินความอร่อย อาจทำให้เกิดผื่นแพ้ คอแห้ง กระหายน้ำ กระสับกระส่ายหรือนอนไม่หลับ ได้เช่นกัน
อะไรที่มีคุณอนันต์ ก็สามารถเกิดโทษมหันต์ได้ ถ้าไม่รู้จักใช้ค่ะ
โฆษณา