7 ก.ค. 2022 เวลา 09:45 • ธุรกิจ
ซีรีย์การเงิน - (น่าจะ) chapter สุดท้ายของการออมเงิน
คาดว่า chapter นี้จะเป็นบทสุดท้ายของการออม คาดว่านะครับ อาจจะมีแทรกบ้างในบทความอื่นพอเป็นขนุบกรุบกริบครับ เอาล่ะ มาจบกันเลย !
ขอขั้นรายการด้วยกองทุนอีกครั้ง เนื่องจากไป re-check แล้วพบว่า กฎมันเปลี่ยนอีกละครับ 5555 เอาสั้นๆ คือ มีกฎบางข้อเอื้อให้ทุกคนที่มีรายได้ซื้อง่ายขึ้น
แต่เงื่อนไขด้านเวลาจะนานขึ้น (รู้เลยนะเพราะอะไร 5555) 😳 และมีตัวใหม่งอกขึ้นมาคือ SSF ผมให้ราคาเหมือน LTF เลยครับ ทุกคนอย่าได้กังวลไป เพราะยังไง fundamental ไม่เปลี่ยน ที่ว่าซื้อเพื่อ "ลดภาษี" ครับ
ดังนั้นแค่คิดว่า จะถอนออกมาใช้สัก 10 ปี ข้างหน้า > SSF หรือถ้ากะจะถอนตอนเกษียณ > RMF ส่วนที่ว่าซื้อเท่าไหร่ยังไง ให้ทำตามเงื่อนไข แล้ว DCA ซื้อตามกำลังที่ไหว หรือที่อยากลดภาษีในแต่ละปีครับ
ดังนั้นจะแถมการคัดเลือกกองทุนให้นิดหน่อยนะครับ
เริ่มจากไปเช็ค rating แต่ละกองทุนที่ https://www.morningstarthailand.com/th/ ได้เลยครับ
เข้ามาแล้วก็คลิกที่ "กองทุน" แล้วไป filter ต่อในแต่ละหัวข้อ
เกณฑ์การเลือกก็ไม่มีอะไรมาก…..
ถ้าคุณต้องการกำไรแบบทบต้นทบดอกล่ะก็ ให้เลือก "นโยบายปันผล" เป็น "จ่าย" เพราะปันผลแต่ละปี เราจะได้ดอก แล้วเอาดอกไปฝากเพิ่มรวมเงินต้น
แต่สำหรับผม ผมคิดว่าเลือก "ไม่จ่ายดีกว่า" ใจเขาใจเรา กองทุนจะได้มีงบ มีแรงใจในการทำงานเพื่อให้ "มูลค่าต่อหน่วย" ของกองทุนสูงขึ้นเยอะๆ ดีกว่าครับ (เงินต้นเราน้อยด้วยแหละ 55555)
1. ผลตอบแทนระยะยาว 10 ปี มากกว่าหรือเท่ากับ 10%
2. ดูค่าธรรมเนียม ยิ่งน้อยยิ่งดี เผื่อช่วงตลาดขาลงจะได้ไม่เจ็บ
ดูตรง total expense ก็ได้ เน้นน้อยๆ ไว้ก่อน
ถ้าไม่ได้ซื้อ LTF, RMF เพื่อลดภาษีอย่าเผลอกดมาซื้อกองทุนระยะยาวนะครับ ระวังเจอเงื่อนไขระดับโลก อิ_อิ
หลังจากกรองเบื้องต้นก็ก็อบ "Fund Code" ไปเสิชหาข้อมูลต่อที่เว็บ https://www.wealthmagik.com/
เอาชื่อไปเสิช ซึ่งหลักๆ ที่ดูก็พวกผลกำไร/ขาดทุน, ประเภทของการลงทุน, ระดับความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุน หรือข้อมูลเชิงลึกที่เจาะไปอีกของกองทุนนั้นๆ ที่ท่านสนใจจะลงทุนด้วย
แต่ส่วนตัวให้ความสำคัญ mega trend ครับ
ซึ่งจะขอพูดถึงประกันก่อนนะครับ รู้สึกเหมือนแอบข้ามเบาๆ 55555
ประกัน
ตามชื่อเลยครับ ให้ฟีลแบบว่า ประกันว่าชีวิตคนด้านหลังเราจะไม่มีปัญหา ไม่ถึงขั้นสบาย แต่ไม่ลำบากกว่าเดิม เพราะจำนวนเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับตอนทำสัญญา
ก็มีหลายแบบไม่ว่าจะประกันเสียชีวิต หรืออุบัติเหตุ เยอะแยะครับ แต่ถ้าใครจะซื้อแล้วต้องอ่านเงื่อนไขดีๆ นะครับ เพราะว่าถ้าผิดสักข้อละก็อดได้เงิน
ส่วนวิธีเลือกผมมองว่าดูกระแสเงินสดเราดีกว่าครับ ว่าเหลือพอมาทำไหม ? แล้วชีวิตของเรานั้นเสี่ยงยังไงบ้าง ถ้าคน work from home ไม่ได้ไปไหน ทำอะไรเลย ร่างกายสุขภาพแข็งแรงดี อายุยังน้อย อาจจะยังไม่ต้องรีบก็ได้ครับ
ซึ่งการขายเป็นธุรกิจเงินต่อเงิน เขาได้เงินเราไปเพื่อไปจ่ายให้คนอื่นอีกที และส่วนหนึ่งก็นำไปลงทุนให้งอกเงยต่อ
ดังนั้นมีโอกาสที่เราจะไม่ได้เงินด้วยนะครับ เมื่อตาย หรืออุบัติเหตุ ถ้าบริษัทประกันไม่มีเงินจ่ายเรา (แต่คงยากมากๆ เงินหมุนน่าจะเยอะ 55)
ทำประกันมันมีอะไรบ้าง ?
หลักๆ ที่ต้องมีคือ ผู้ทำประกัน (บริษัทประกัน), ผู้เอาประกัน (เราเอง), ผู้รับผลประโยชน์
คำศัพท์ทั่วไป
กรมธรรม์ = รายละเอียดสัญญา
ทุนประกัน = จำนวนเงินที่เราจะได้
เบี้ยประกัน = เงินที่เราต้องจ่าย โดยเลือกระยะเวลาได้ (ต่อปีถูกสุด)
ระยะเอาประกัน = ระยะเวลาที่คุ้มครอง
ระยะเวลาจ่ายเบี้ย = จำนวนปีที่ต้องจ่าย
ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ "ระยะเอาประกัน/ระยะเวลาจ่ายเบี้ย" เช่น 16/8 หมายความว่า คุ้มครอง 16 จ่าย 8 ปี หรือ 80/2 หมายความว่า คุ้มครองจนอายุ 80 จ่ายเบี้ย 20 ปี
แต่จริงๆ ดูในสัญญา หรือถามตัวแทนชัวร์กว่านะ…
จำไว้ขึ้นใจว่าการทำประกันไม่ใช่การลงทุน มันคือการประกันความเสี่ยง ว่าถ้าเราเกิดเหตุการณ์เลวร้าย เช่น ตาย, อุบัติเหตุ หรืออะไรทำนองนี้ ภาระจะไม่ตกไปหาลูกหลานครอบครัวเยอะครับ
แล้วมันมีอะไรบ้างน้ออออ
ผมหามาได้ประมาณนี้นะครับ ของจริงตอนนี้อาจจะมีเยอะกว่านี้ก็ได้ครับ เริ่มกันเลย !
ประกันสะสมทรัพย์
สำหรับตัวนี้ผมว่าเหมาะกับคนที่มีอายุนิดนึงละ แล้วอยากหาอะไรบังคับตัวเองเก็บเงิน แพ้เงินเฟ้อนิดหน่อยไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าวัยรุ่นอยู่ ผมมองว่าเอาเงินไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่า
ประกันคุ้มครองตลอดชีวิต
ตามข้างบน คือ ซื้อเพื่อไม่เป็นภาระของลูกหลานที่แท้ทรู 555555 แต่ตัวนี้ผมว่าตรงคอนเซปประกันที่สุดแล้วครับ
ประกันคุ้มครองชั่วคราว
ตัวนี้ดีครับ เหมาะกับคนที่วางแผนมาดี เพราะเบี้ยถูก ถ้าเกิดเงินเหลือเอาเงินไปลงทุนต่อเองได้ครับ แถมเหมาะกับคนที่คุ้มครองระยะเวลานึง แบบส่งลูกเรียนจบก็ไม่ห่วงแล้ว อะไรประมาณนั้นครับ
ประกันบำนาญ
ตามชื่อเลยครับ คล้ายๆ สะสมทรัพย์ แต่แพ้เงินเฟ้อยับๆ ไม่คุ้มสำหรับการลงทุนครับ แต่เหมาะเอามาลดหย่อนภาษีครับ
ประกันอุบัติเหตุ
ขึ้นอยู่กับชีวิตประจำวันครับ ว่าเราเสี่ยงอะไรไหม ถ้ามีความเสี่ยงก็ควรซื้อไว้ หรือซื้อเฉพาะ event ไปก็ได้ครับ เช่น เดินทางต่างจังหวัด เป็นต้น
ส่วนตัวเคยซื้อแบบประกันกระเป๋าหาย/ เสีย/ ตกเครื่อง อะไรพวกนี้เลยครับ ตอนไปต่างประเทศ
มีไว้ก็ไม่เสียหายครับผม
ประกัน Unit Link
"การลงทุนมีความเสี่ยง" คำนี้มาเลยครับ 55555 ต้องดูที่เป้าหมายของท่านครับ อย่างที่ข้างบนบอกว่าเงินในส่วนลงทุนไปลดหย่อนภาษีไม่ได้ (ไม่เหมือน RMF, LTF) ครับ
ซึ่งตัวท่านเองต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าซื้อประกันไปทำไม ส่วนตัวผมมองว่า "ลดความเสี่ยง" ครับ ของแถมคือลดหย่อนภาษีครับ
แถมส่วนสัญญาเพิ่มเติมนะครับ
ประกันที่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมไม่ได้
- ประกันคุ้มครองชั่วคราว
- ประกันบำนาญ
- ประกันอุบัติเหตุ
ประกันที่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้
- ประกันสะสมทรัพย์
- ประกันคุ้มครองตลอดชีวิต
- ประกัน Unit Link
ซึ่งสัญญาเพิ่มเติมมีประมาณนี้
- ยกเว้นเบี้ยกรณีทุพพลภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- ฆาตกรรม และจลาจล
- ประกันโรคร้ายแรง
- ประกันทุพพลภาพ
- คุ้มครองการชำระเบี้ย
- ประกันสุขภาพ
สัญญาเพิ่มเติมเหมือนของหวานครับ มีก็ดีไม่มีก็ได้ครับผม
บทความนี้แอบยาวนิดนึง เดียวขอยืดออกไปอีกนิดนะครับ ในส่วนการทำ excel มาช่วยในการวางแผนเรื่องเงินนะครับ สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อนน้า สวัสดีครับ
โฆษณา