7 ก.ค. 2022 เวลา 17:25 • การศึกษา
1) การเป็น “bilingual” หรือ “trilingual” ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีครับ เพราะทักษะภาษาต่างประเทศนั้นมันมีทั้ง “ฟัง, พูด, อ่าน, และ เขียน”
ผมเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า
“learn, unlearn, and relearn” เพราะการเรียนภาษานั้นมันเป็นเรื่อง “time and opportunity” ด้วย บางช่วงของชีวิตเราอาจจะมีสิ่งอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบที่สำคัญกว่าการเรียนภาษา แต่เมื่อจังหวะชีวิตให้โอกาสเรา เราก็สามารถกลับไปเรียนภาษาได้อีก
ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังเช่น “Youtube” ทำให้ผู้คนทั่วโลกมี “โอกาส” เข้าถึง “สื่อในการเรียนภาษาต่างประเทศ” ได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้ง “cost” , “time” , and “space” ที่เคยเป็น “ข้อจำกัด” ได้ถูกเทคโนโลยีนี้ทลายลง
เช่น เด็กๆยุคนี้สามารถดูการ์ตูนจากช่องต่างประเทศจากผู้ผลิตที่ใช้ภาษาแตกต่างกัน ถึงแม้พวกเขาจะไม่เข้าใจภาษาเหล่านั้นในรายละเอียด แต่นี่คือ “โอกาส” ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย! ในยุค “pre-Youtube”
2) ผมมองว่า “ภาษาอังกฤษ” คือ “บันได” ที่ใช้ไต่ปีนไปศึกษา “ภาษาอื่นๆ” ได้อย่างดี จากประสบการณ์ตรงที่ผมเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย
เก่งอังกฤษ = เรียนภาษาอื่นๆได้ทุกภาษา = ต่อได้ทุกยอด
เนื่องจาก “contents” ส่วนใหญ่บน Youtube ที่สอนภาษาต่างประเทศนั้น ยังคงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการสอน
และผมค้นพบ “แหล่งข้อมูล” ซึ่งก็คือ “channels” บน Youtube ที่ผมสามารถใช้เรียนภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมากมาย ทั้งจากผู้ผลิตเจ้าใหญ่ๆ เช่น NHK และ เจ้าอื่นๆที่ขอเพียงเราแบ่ง “เวลา” ให้ เราก็สามารถเรียนได้จากเจ้าของภาษาที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน
ดังนั้น หากเราต้องการที่จะเป็น “bilingual” หรือ “trilingual” สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ “ทุ่มเท” ทุกอย่างให้กับภาษาอังกฤษ และแบ่งเวลาไปศึกษาภาษาอื่นๆจากแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทยเท่าที่โอกาสจะอำนวย
3) โครงสร้างของระบบภาษที่แทบทุกภาษาจะเหมือนๆกัน คือ
4) เรียนคำศัพท์ตาม “วงการ”
ผมมองว่า น่าจะเริ่มจาก การศึกษาบทสนทนา หรือ dialogues ใน “วงการ” ที่คุณสนใจก่อนครับ
เช่น ถ้าคุณทำงานในกลุ่มธุรกิจ “อาหารและเครื่องดื่ม” คุณก็ ศึกษา เรื่อง “ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มในภัตตาคารและโรงแรม” จากหนังสือหรือบน Youtube ซึ่งมีสอนฟรีๆอยู่พอสมควรครับ
คุณจะได้เรียนรู้ “ศัพท์” ที่เกี่ยวข้องในวงการนั้นๆ เช่น ชื่อผักผลไม้และเนื้อสัตว์ต่างๆ, พวกชื่อไวน์และเครื่องดื่มที่ทั้งมีและไม่มีแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆเป็นต้น
คุณจะได้เรียนรู้ “คำถาม” และ “คำตอบ” ที่ “มักจะถูกใช้” ในวงการนั้นๆ
เช่น ถ้าลูกค้าในร้านอาหารถามคุณก่อนสั่งอาหารว่า
“Is it Gluten-free?”
คุณก็ควรรู้ว่า “Gluten-free” หมายถึงอะไร?
หรือถ้าคุณทำงานในร้านขายอุปกรณ์ IT แล้วลูกค้าถามคุณเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งว่า
“I am using Windows 7 on my laptop. Can I use this flash drive with it? Is it backward compatible?”
คุณก็ควรรู้ว่า “backward compatible” หมายถึงอะไร?
“ในแต่ละสายงาน มีคำศัพท์เฉพาะ เป็นของตัวเอง”
5) เทคนิคการเรียนภาษาของผม
6) ความสำคัญของ “ปริบท”(contexts) ในการเรียนภาษา
7) การเรียนภาษาของผมในยุค “pre-Youtube”
8) ทุกวันนี้ในยุค 5G
คุณคิดว่าอะไรจะเป็น “อุปสรรค” ในการเรียนภาษต่างประเทศอีกละครับ?
โฆษณา